๑๓.
อตฺตโนปิ ปเรสญฺจ
อตฺถาวโห ว ขนฺติโก
สคฺคโมกฺขคมํ มคฺคํ
อารุฬฺโห โหติ ขนฺติโก
.
ผู้มีขันติ ชื่อว่านำประโยชน์มาให้ทั้งแก่ตนทั้งแก่ผู้อื่น, ผู้มีขันติ
ชื่อว่าเป็นผู้ขึ้นสู่ทางไปสวรรค์และนิพพาน.
ส. ม. ๒๒๒.
๑๔.
เกวลานํปิ ปาปานํ
ขนฺติ มูลํ นิกนฺตติ
ครหกลหาทีนํ
มูลํ ขนติ ขนฺติโก
.
ขันติ ย่อมตัดรากแห่งบาปทั้งสิ้น, ผู้มีขันติชื่อว่าย่อมขุดราก
แห่งความติเตียนและการละเล่ากันเป็นต้นได้.
ส. ม. ๒๒๒.
๑๕.
ขนฺติโก เมตฺตวา ลาภี
ยสสฺสี สุขสีลวา
ปิโย เทวมนุสฺสานํ
มนาโป โหติ ขนฺติโก
.
ผู้มีขันตินับว่ามีเมตตา มีลาภ มียศ และมีสุขเสมอ, ผู้มีขันติ
เป็นที่รักที่ชอบใจของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.
[ออกสอบ ๒๕๕๓]
ส. ม. ๒๒๒.
๑๖.
สตฺถุโน วจโนวาทํ
กโรติเยว ขนฺติโก
ปรมาย จ ปูชาย
ชินํ ปูเชติ ขนฺติโก
.
ผู้มีขันติ ชื่อว่าทำตามคำสอนของพระศาสดา, และผู้มีขันติ
ชื่อว่าบูชาพระชินเจ้าด้วยบูชาอันยิ่ง.
ส. ม. ๒๒๒
๑๗.
สีลสมาธิคุณานํ
ขนฺติ ปธานการณํ
สพฺเพปิ กุสสา ธมฺมา
ขนฺตฺยาเยว วฑฺฒนฺติ เต
.
ขันติเป็นประธาน เป็นเหตุ แห่งคุณคือศีลและสมาธิ,
กุศลธรรมทั้งปวงย่อมเจริญ เพราะขันติเท่านั้น.
ส. ม. ๒๒๒.
ขันติวรรค คือ หมวดอดทน
พุทธศาสนสุภาษิต
๑. หมวดตน
๒. หมวดกรรม
๓. หมวดอดทน
๔. หมวดปัญญา
๕. หมวดคบหา
อักษรย่อนามคัมภีร์