กิเลสวรรค คือ หมวดกิเลส

๖๓. สงฺกปฺปราโค  ปุริสสฺส  กาโม.
  ความกำหนัดเพราะดำริ  เป็นกามของคน.
  สํ. ส. ๑๕/๓๒.  อง. ฉกฺก. ๒๒/๔๖๐.
   
๖๔. น  สนฺติ  กามา  มนุเชสุ  นิจฺจา.
  กามทั้งหลายที่เที่ยง  ไม่มีในมนุษย์.
  สํ. ส. ๑๕/๓๑.
   
๖๕. กาเมหิ  โลกมฺหิ  น  อตฺถิ  ติตฺติ.
  ความอิ่มด้วยกามทั้งหลาย  ไม่มีในโลก.
  ม. ม. ๑๓/๔๑๒.  ขุ. เถร. ๒๖/๓๗๗.
   
๖๖. น  กหาปณวสฺเสน  ติตฺติ  กาเมสุ  วิชฺชติ.
  ความอิ่มในกามทั้งหลาย ย่อมไม่มีเพราะฝนคือกหาปณะ.
  ขุ. ธ. ๒๕/๔๐.  ขุ. ชา. ติก. ๒๗/๑๐๒.
   
๖๗. นตฺถิ  กามา  ปรํ  ทุกฺขํ.
  ทุกข์ (อื่น) ยิ่งกว่ากาม ย่อมไม่มี.
  ขุ. ชา. เอกาทสก. ๒๗/๓๑๕.
   
๖๘. นตฺถิ  ตณฺหาสมา  นที.
  แม่น้ำเสมอด้วยตัณหา  ไม่มี.
  ขุ. ธ. ๒๕/๔๘.
   
๖๙. อิจฺฉา  โลกสฺมิ  ทุชฺชหา.
  ความอยากละได้ยากในโลก.
  สํ. ส. ๑๕/๖๑.
   
๗๐. อิจฺฉา  หิ  อนนฺตโคจรา.
  ความอยากมีอารมณ์หาที่สุดมิได้เลย.
  ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๙๔.
   
๗๑. อิจฺฉา  นรํ  ปริกสฺสติ.
  ความอยากย่อมเสือกไสซึ่งนรชน.
  สํ. ส. ๑๕/๖๑.
   
๗๒. นตฺถิ  ราคสโม  อคฺคิ.
  ไฟเสมอด้วยราคะ  ไม่มี.
  ขุ. ธ. ๒๕-๔๒,๔๘.
   
๗๓. โลโภ  ธมฺมานํ  ปริปนฺโถ.
  ความโลภเป็นอันตรายแห่งธรรมทั้งหลาย.
  สํ. ส. ๑๕/๕๙.
   
๗๔. อติโลโภ  หิ  ปาปโก.
  ความละโมบเป็นบาปแท้.
  วิ. ภิ. ๓/๙๖.  ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๔๔.
   
๗๕. นตฺถิ  โมหสมํ  ชาลํ.
  ข่ายเสมอด้วยโมหะ  ไม่มี.
  ขุ. ธ. ๒๕/๔๘.
   
๗๖. ภิยฺโย  จ  กาเม  อภิปตฺถยนฺติ.
  ผู้บริโภคกาม  ย่อมปรารถนากามยิ่งขึ้นไป.
  ม. ม. ๑๓/๔๑๑.  ขุ. เถร. ๒๖/๓๗๗.
   
๗๗. อูนา  ว  หุตฺวาน  ชหนฺติ  เทหํ.
  ผู้บริโภคกามเป็นผู้พร่อง  ละร่างกายไป.
  ม. ม. ๑๓/๔๑๒.  ขุ. เถร. ๒๖/๓๗๗.
   
๗๘. โภคตณฺหาย  ทุมฺเมโธ    หนฺติ  อญฺเว  อตฺตนํ.
  ผู้มีปัญญาทราม  ย่อมฆ่าตนเองเหมือนฆ่าผู้อื่น เพราะอยากได้โภคทรัพย์.
  ขุ. ธ. ๒๕/๖๓.
   
๗๙. อวิชฺชานิวุตา  โปสา.
  คนทั้งหลายอันอวิชชาหุ้มห่อไว้.
  วิ. จุล. ๗/๔๐๐.  องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๙๓.

 

พุทธศาสนสุภาษิต