ปัญหาและเฉลย
วิชาอนุพุทธประวัติ ธรรมศึกษาชั้นโท
สอบในสนามหลวง
วันพุธ ที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๗
เวลา ๑๔.๐๐ - ๑๔.๕๐ น.
คำสั่ง :
จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว แล้วกากบาทลงในช่องของข้อ
ที่ต้องการในกระดาษคำตอบ ให้เวลา ๕๐ นาที (๑๐๐ คะแนน)
๑.
นับตั้งแต่พระพุทธเจ้าประสูติ จนถึงพ.ศ. ๒๕๔๗ เป็นเวลากี่ปี ?
ก.
๒๕๐๐
ข.
๒๕๔๗
ค.
๒๖๒๗
ง.
๒๖๔๔
๒.
คำว่า “
อนุพุทธะ
” มีความหมายตามข้อใด ?
ก.
ผู้ปฏิบัติตามพุทธธรรม
ข.
ผู้ปฏิบัติตามธรรมวินัย
ค.
ผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้า
ง.
ผู้บวชตามพระพุทธเจ้า
๓.
อนุพุทธประวัติ กล่าวถึงประวัติของใคร ?
ก.
พระโสดาบัน
ข.
พระสกทาคามี
ค.
พระอนาคามี
ง.
พระอรหันต์
๔.
ใครอาราธนาพระพุทธเจ้าให้แสดงธรรมโปรดเวไนยสัตว์ ?
ก.
ท้าวพกาพรหม
ข.
ท้าวสหัมบดีพรหม
ค.
ท้าวมหาพรหม
ง.
ท้าวฆฏิการพรหม
๕.
ในการตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคเจ้า มีใครเป็นพยาน ?
ก.
พระยามาร
ข.
ปัญจวัคคีย์
ค.
พระแม่ธรณี
ง.
สักกเทวราช
๖.
ข้อใด ไม่ได้เกิดขึ้นที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ?
ก.
ปฐมสาวก
ข.
ปฐมเทศนา
ค.
ปฐมสาวิกา
ง.
ปฐมพรรษา
๗.
พระอัญญาโกณฑัญญะ ผู้ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์รูปแรก
เป็นชาวเมืองไหน ?
ก.
กรุงกบิลพัสดุ์
ข.
กรุงราชคฤห์
ค.
กรุงเทวทหะ
ง.
กรุงพาราณสี
๘.
“
เบญจขันธ์ เป็นอนัตตา
” เป็นใจความของพระสูตรใด ?
ก.
ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
ข.
อนัตตลักขณสูตร
ค.
อาทิตตปริยายสูตร
ง.
เวทนาปริคคหสูตร
๙.
ปัญจวัคคีย์ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ เพราะฟังธรรมอะไร ?
ก.
ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
ข.
อาทิตตปริยายสูตร
ค.
อนัตตลักขณสูตร
ง.
ธัมมนิยามสูตร
๑๐.
คำว่า “
ที่นี่ไม่วุ่นวาย ที่นี่ไม่ขัดข้อง
” พระพุทธเจ้าตรัสที่ไหน ?
ก.
ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
ข.
ลุมพินีวัน
ค.
เวฬุวัน
ง.
เชตวัน
๑๑.
ข้อใด ไม่ใช่ไฟกิเลส ?
ก.
ความกำหนัด
ข.
ความหิวกระหาย
ค.
ความหลง
ง.
ความโกรธ
๑๒.
“
สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน เพราะไฟคือราคะ โทสะ โมหะ
”
เป็นใจความของพระสูตรใด ?
ก.
อนุปุพพีกถา
ข.
อาทิตตปริยายสูตร
ค.
อนัตตลักขณสูตร
ง.
มหาปรินิพพานสูตร
๑๓.
สวนตาลหนุ่ม มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอะไร ?
ก.
เชตวัน
ข.
เวฬุวัน
ค.
ลัฏฐิวัน
ง.
อัมพวัน
๑๔.
ใครเป็นเพื่อนของอุปติสสะ ลูกชายนางสารีพราหมณี ?
ก.
ตปุสสพราหมณ์
ข.
วังคันตพราหมณ์
ค.
พระอัสสชิเถระ
ง.
โกลิตมาณพ
๑๕.
เหตุใด พระอุรุเวลกัสสปะจึงขอบวชในพระพุทธศาสนา ?
ก.
เพราะเห็นอภินิหารของ
พระพุทธเจ้า
ข.
เพราะถูกพระพุทธเจ้า
ทรมานด้วยฤทธิ์
ค.
เพราะเห็นว่าลัทธิของตน
ไม่มีแก่นสาร
ง.
เพราะพระพุทธเจ้าทรง
เชื้อเชิญให้บวช
๑๖.
“
ผู้มีอายุ อินทรีย์ของท่านหมดจดผ่องใส ท่านบวชจำเพาะ
ใคร
” เป็นคำพูดของใคร ?
ก.
อุปติสสะ
ข.
โกลิตะ
ค.
ทีฆนขะ
ง.
ปุณณกะ
๑๗.
ใครเป็นพระอุปัชฌาย์รูปแรก ในการบวชสามเณร ?
ก.
พระมหาโมคคัลลานะ
ข.
พระอุบาลี
ค.
พระสารีบุตร
ง.
พระมหากัสสปะ
๑๘.
พระธรรมเสนาบดี หมายถึงใคร ?
ก.
พระพุทธเจ้า
ข.
พระสารีบุตร
ค.
พระภัททิยะ
ง.
พระอนุรุทธะ
๑๙.
พระสาวกรูปใด นำอัฐิของพระสารีบุตรกลับมาถวายพระศาสดา ?
ก.
พระมหาโมคคัลลานะ
ข.
พระราหุล
ค.
พระเรวตะ
ง.
พระจุนทะ
๒๐.
บ้านกัลลวาลมุตตคาม เกี่ยวข้องกับพระอรหันต์รูปใด ?
ก.
พระสารีบุตร
ข.
พระมหากัสสปะ
ค.
พระมหาโมคคัลลานะ
ง.
พระปุณณมันตานีบุตร
๒๑.
ใครบวชเป็นพระภิกษุด้วยวิธีรับโอวาท ๓ ข้อ ?
ก.
พระมหากัจจายนะ
ข.
พระมหากัสสปะ
ค.
ทีฆนขปริพาชก
ง.
พระกุมารกัสสปะ
๒๒.
ข้อใด ที่พระมหากัสสปะไม่ถือปฏิบัติเป็นวัตร ?
ก.
อยู่ในป่า
ข.
เที่ยวบิณฑบาต
ค.
ครองผ้าบังสุกุล
ง.
รับกิจนิมนต์
๒๓.
พระมหากัจจายนะ ก่อนอุปสมบทท่านมีตำแหน่งอะไร ?
ก.
ปุโรหิต
ข.
ทหารเอก
ค.
อำมาตย์
ง.
เจ้าลัทธิ
๒๔.
พระสาวกรูปใด สามารถยังสกุลที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใสได้ ?
ก.
พระอุบาลี
ข.
พระกาฬุทายี
ค.
พระกิมพิละ
ง.
พระอัสสชิ
๒๕.
พระบรมศาสดา ทรงเป็นผู้ประกันเพื่อได้นางอัปสรแก่ใคร ?
ก.
พระนันทะ
ข.
พระภัททิยะ
ค.
พระอานันทะ
ง.
พระเทวทัต
๒๖.
พระอานนทเถระได้ทูลขอพรจากพระศาสดากี่ประการ ?
ก.
๕ ประการ
ข.
๖ ประการ
ค.
๗ ประการ
ง.
๘ ประการ
๒๗.
พระพุทธองค์ทรงดำริจะประทานอะไรแก่พระราหุลกุมาร ?
ก.
ราชสมบัติ
ข.
โภคทรัพย์
ค.
ขุมทรัพย์
ง.
อริยทรัพย์
๒๘.
พระสาวกรูปใด ได้รับยกย่องว่ามีลาภสักการะมาก ?
ก.
พระภคุเถระ
ข.
พระกิมพิลเถระ
ค.
พระสีวลีเถระ
ง.
พระนาลกเถระ
๒๙.
คำว่า “
รโชหรณํ
” เป็นคำบริกรรมของพระอรหันต์รูปใด ?
ก.
พระมหาปันถกเถระ
ข.
พระโกณฑธานเถระ
ค.
พระวังคีสเถระ
ง.
พระจูฬปันถกเถระ
๓๐.
พระสาวกรูปใด บวชเป็นสามเณรถึง ๓ ปี จึงได้รับอุปสมบท ?
ก.
พระโสณโกฬิวิสะ
ข.
พระรัฐบาล
ค.
พระโสณกุฏิกัณณะ
ง.
พระมหากัปปินะ
๓๑.
พระสาวกรูปใดแสดงธรรมถวายพระบรมศาสดาแล้ว ครั้นต่อมา
ได้แสดงธรรมนั้นให้มารดาฟังอีก ?
ก.
พระมหากัจจายนะ
ข.
พระโสณกุฏิกัณณะ
ค.
พระโสณโกฬิวิสะ
ง.
พระลกุณฏกภัททิยะ
๓๒.
พระพุทธเจ้าทรงเปรียบพิณ ๓ สายกับการปรารภความเพียร
แก่พระสาวกรูปใด ?
ก.
พระโสณกุฏิกัณณะ
ข.
พระรัฐบาล
ค.
พระโสณโกฬิวิสะ
ง.
พระจักขุบาล
๓๓.
“
โลกคือหมู่สัตว์พร่องอยู่เป็นนิตย์ ไม่รู้จักอิ่ม
” ใครกล่าว ?
ก.
พระจักขุบาล
ข.
พระรัฐบาล
ค.
พระยามิลินท์
ง.
พระเจ้าโกรัพยะ
๓๔.
ในมาณพ ๑๖ คน ใครได้รับเอตทัคคะว่า ทรงจีวรเศร้าหมอง ?
ก.
พระโมฆราช
ข.
พระเมตตคู
ค.
พระปุณณกะ
ง.
พระปิงคิยะ
๓๕.
พระสาวกรูปใด ไม่มีโอกาสครองผ้ากาสาวพัสตร์ก่อนนิพพาน ?
ก.
พระปิลินทวัจฉะ
ข.
พระมหากัปปินะ
ค.
พระพาหิยทารุจีริยะ
ง.
พระอานนท์
๓๖.
การอุปสมบทด้วยวิธีญัตติจตุตถกรรมวาจา พระสารีบุตรเถระ
บวชให้แก่ใครเป็นรูปแรก ?
ก.
พระราหุล
ข.
พระสีวลี
ค.
พระจูฬปันถก
ง.
พระราธะ
๓๗.
พระศาสดาทรงยกย่องพระสาวกรูปใดว่า ยอดพระธรรมกถึก ?
ก.
พระมหากัปปินะ
ข.
พระปุณณมันตานีบุตร
ค.
พระมหากัจจายนะ
ง.
พระอัญญาโกณฑัญญะ
๓๘.
พระอานนท์ได้บรรลุโสดาปัตติผล เพราะฟังโอวาทจากใคร ?
ก.
พระพุทธเจ้า
ข.
พระสารีบุตร
ค.
พระปุณณมันตานีบุตร
ง.
พระภัททิยะ
๓๙.
ใครเป็นคนชวนพระภัททิยกุมารออกบวช ?
ก.
พระอุบาลี
ข.
พระอนุรุทธะ
ค.
พระอานนท์
ง.
พระภคุ
๔๐.
พระลกุณฏกภัททิยะได้สำเร็จพระอรหัต เพราะสนทนาธรรม
กับพระสาวกรูปใด ?
ก.
พระสารีบุตร
ข.
พระอนุรุทธะ
ค.
พระอานนท์
ง.
พระมหากัสสปะ
ศาสนพิธี
๔๑.
คำว่า “
วัสสูปนายิกา
” เกี่ยวข้องกับวันอะไร ?
ก.
วันเข้าพรรษา
ข.
วันออกพรรษา
ค.
วันมหาปวารณา
ง.
วันเข้าเขตกฐินกาล
๔๒.
“
ภิกษุจะอยู่กับที่ ไม่ออกไปค้างแรมที่อื่น
” ตรงกับข้อใด ?
ก.
การทำสามีจิกรรม
ข.
การอยู่จำพรรษา
ค.
การถือศีลอุโบสถ
ง.
การทำสังฆอุโบสถ
๔๓.
การทำสามีจิกรรม มีความหมายว่าอย่างไร ?
ก.
การขอขมาโทษต่อกัน
ข.
การว่ากล่าวตักเตือนกัน
ค.
การถือนิสัยกับอาจารย์
ง.
การแสดงความบริสุทธิ์
๔๔.
การขอให้พระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่งเป็นผู้ให้ศีล เรียกว่าอะไร ?
ก.
การขอบวช
ข.
การอาราธนาศีล
ค.
การรักษาศีล
ง.
การสมาทานศีล
๔๕.
ระยะเวลาทอดกฐิน กำหนดไว้อย่างไร ?
ก.
ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑
ถึงแรม ๘ ค่ำ เดือน ๑๒
ข.
ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๑๑
ถึงแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒
ค.
แรม ๘ ค่ำ เดือน ๑๑
ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒
ง.
แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑
ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒
๔๖.
ข้อใด เป็นอานุภาพของพระปริตร ?
ก.
ให้ร่ำรวยเงินทอง
ข.
ให้มีอายุยืนหมื่นปี
ค.
ขจัดทุกข์ ภัย โรค
ง.
เจริญด้วยยศศักดิ์
๔๗.
สายสิญจน์ สำหรับใช้ในงานอะไร ?
ก.
งานทำบุญอายุ
ข.
งานทำบุญ ๗ วัน
ค.
งานทำบุญอัฐิ
ง.
งานทำบุญสามหาบ
๔๘.
การเทศน์แจง นิยมให้มีในงานบุญพิธีอะไร ?
ก.
งานทอดผ้าป่า
ข.
งานทอดกฐิน
ค.
งานทำบุญอายุ
ง.
งานฌาปนกิจศพ
๔๙.
การเจริญพระพุทธมนต์ในงานมงคล นิยมใช้พระสงฆ์กี่รูป ?
ก.
๔ รูป
ข.
๙ รูป
ค.
๑๐ รูป
ง.
๒๐ รูป
๕๐.
ในการถวายสังฆทาน ข้อใดกล่าวถูกต้องที่สุด ?
ก.
ถวายแก่ภิกษุผู้มีพรรษามาก
ข.
ถวายแก่ภิกษุสามเณรที่รู้จัก
ค.
ถวายแก่เจ้าอาวาสในวัดนั้น
ง.
ถวายแก่สงฆ์โดยไม่เจาะจง
เอกสารอ้างอิง
เรื่องสอบธรรม ของสนามหลวงแผนกธรรม พ.ศ.๒๕๔๗. หน้า ๑๒๕-๑๓๓.
ข้อสอบสนามหลวง
พ.ศ. ๒๕๔๖
พ.ศ. ๒๕๔๗
พ.ศ. ๒๕๔๘
พ.ศ. ๒๕๔๙
พ.ศ. ๒๕๕๐
พ.ศ. ๒๕๕๑
พ.ศ. ๒๕๕๒
พ.ศ. ๒๕๕๓
พ.ศ. ๒๕๕๔
พ.ศ. ๒๕๕๕
พ.ศ. ๒๕๕๖
พ.ศ. ๒๕๕๗
พ.ศ. ๒๕๕๘
พ.ศ. ๒๕๕๙
พ.ศ. ๒๕๖๐
พ.ศ. ๒๕๖๑
พ.ศ. ๒๕๖๒
พ.ศ. ๒๕๖๓
พ.ศ. ๒๕๖๔
พ.ศ. ๒๕๖๕
พ.ศ. ๒๕๖๖
พ.ศ. ๒๕๖๗
พ.ศ. ๒๕๖๘
พ.ศ. ๒๕๖๙
พ.ศ. ๒๕๗๐
พ.ศ. ๒๕๗๑
พ.ศ. ๒๕๗๒
พ.ศ. ๒๕๗๓
พ.ศ. ๒๕๗๔
พ.ศ. ๒๕๗๕
พ.ศ. ๒๕๗๖
พ.ศ. ๒๕๗๗
พ.ศ. ๒๕๗๘
พ.ศ. ๒๕๗๙
พ.ศ. ๒๕๘๐
พ.ศ. ๒๕๘๑
พ.ศ. ๒๕๘๒
พ.ศ. ๒๕๘๓
พ.ศ. ๒๕๘๔
พ.ศ. ๒๕๘๕
พ.ศ. ๒๕๘๖
พ.ศ. ๒๕๘๗
พ.ศ. ๒๕๘๘
พ.ศ. ๒๕๘๙
พ.ศ. ๒๕๙๐
พ.ศ. ๒๕๙๑
พ.ศ. ๒๕๙๒
พ.ศ. ๒๕๙๓
พ.ศ. ๒๕๙๔
พ.ศ. ๒๕๙๕
พ.ศ. ๒๕๙๖
พ.ศ. ๒๕๙๗
พ.ศ. ๒๕๙๘
พ.ศ. ๒๕๙๙
พ.ศ. ๒๖๐๐