ปัญหาและเฉลย
วิชาอนุพุทธประวัติ ธรรมศึกษาชั้นโท
สอบในสนามหลวง
วันพุธ ที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๗
เวลา ๑๔.๐๐ - ๑๔.๕๐ น.
คำสั่ง :
จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว แล้วฝนลงในช่องของข้อ
ที่ต้องการในกระดาษคำตอบ ให้เวลา ๕๐ นาที (๑๐๐ คะแนน)
๑.
บุคคลผู้บรรลุธรรมตามพระพุทธเจ้าตรงกับข้อใด ?
ก.
พุทธะ
ข.
อนุพุทธะ
ค.
ปัจเจกพุทธะ
ง.
พุทธานุพุทธะ
๒.
ผู้ได้รับยกย่องว่าเลิศในทางนั้นๆ เรียกว่าอะไร ?
ก.
อริยบุคคล
ข.
สาวก
ค.
เอตทัคคะ
ง.
พหูสูตร
๓.
พระเถระรูปใด บวชด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทาเป็นรูปแรก ?
ก.
พระโกณฑัญญะ
ข.
พระวัปปะ
ค.
พระอัสสชิ
ง.
พระยสะ
๔.
ข้อใด ไม่เกี่ยวข้องกับชฎิล ๓ พี่น้อง ?
ก.
มีชีวิตคู่
ข.
เป็นนักบวช
ค.
จบไตรเพท
ง.
มีบริวารมาก
๕.
พระอุรุเวลกัสสปะบรรลุธรรม ณ สถานที่ใด ?
ก.
ราชคฤห์
ข.
อุรุเวลาเสนานิคม
ค.
นาลันทา
ง.
คยาสีสะ
๖.
สหายของอุปติสสมาณพ คือใคร ?
ก.
ตปุสสะ
ข.
ภัลลิกะ
ค.
โกลิตะ
ง.
อชิตะ
๗.
อุปติสสมาณพเลื่อมใสในพระอัสสชิ เพราะเหตุใด ?
ก.
รูปร่างดี
ข.
วจีไพเราะ
ค.
สำรวมดี
ง.
เทศน์ไพเราะ
๘.
พระสาวกรูปใด เป็นพระอุปัชฌาย์ให้การบรรพชาสามเณรเป็นครั้งแรก ?
ก.
พระโมคคัลลานะ
ข.
พระสารีบุตร
ค.
พระอุบาลี
ง.
พระมหากัสสปะ
๙.
พระสาวกรูปใด ได้รับการยกย่องว่าเป็นพระธรรมเสนาบดี ?
ก.
พระสีวลี
ข.
พระอานนท์
ค.
พระสารีบุตร
ง.
พระมหากัสสปะ
๑๐.
พระโมคคัลลานะบรรลุธรรมหลังจากอุปสมบทแล้วกี่วัน ?
ก.
๕ วัน
ข.
๗ วัน
ค.
๑๐ วัน
ง.
๑๕ วัน
๑๑.
นวกัมมาธิฏฐายีเป็นคุณสมบัติของพระเถระรูปใด ?
ก.
พระอานนท์
ข.
พระราธะ
ค.
พระโมคคัลลานะ
ง.
พระสารีบุตร
๑๒.
พระสาวกรูปใดถือธุดงค์ ๓ ข้อเป็นวัตร ?
ก.
พระอานนท์
ข.
พระราธะ
ค.
พระมหากัสสปะ
ง.
พระสารีบุตร
๑๓.
พระสาวกรูปใด ถวายผ้าสังฆาฏิของตนให้พระพุทธเจ้าทรงใช้สอย ?
ก.
พระมหากัสสปะ
ข.
พระสารีบุตร
ค.
พระอานนท์
ง.
พระเรวตะ
๑๔.
พระมหากัจจายนะ ก่อนอุปสมบท มีตำแหน่งอะไร ?
ก.
ปุโรหิต
ข.
ทหารเอก
ค.
เจ้าลัทธิ
ง.
เศรษฐี
๑๕.
พระสาวกรูปใดกล่าวว่า วรรณะ ๔ เสมอกันด้วยการกระทำ ?
ก.
พระสารีบุตร
ข.
พระมหากัจจายนะ
ค.
พระอานนท์
ง.
พระมหากัปปินะ
๑๖.
คำภาวนาว่า รโชหรณํ พระพุทธเจ้าทรงประทานแก่พระสาวกรูปใด ?
ก.
พระมหาปันถก
ข.
พระจูฬปันถก
ค.
พระราธะ
ง.
พระราหุล
๑๗.
สามเณรรูปใด ได้รับการบรรพชาจากพระมหากัจจายนะ ?
ก.
โสณกุฏิกัณณะ
ข.
บัณฑิต
ค.
สังกิจจะ
ง.
เรวตะ
๑๘.
พระลกุณฏกภัททิยะ ได้รับเอตทัคคะด้านใด ?
ก.
รัตตัญญู
ข.
แสดงธรรมได้วิจิตร
ค.
แสดงธรรมไพเราะ
ง.
มีเสียงไพเราะ
๑๙.
พระสาวกรูปใด เป็นหลานของอนาถปิณฑิกเศรษฐี ?
ก.
พระสาคตะ
ข.
พระโกณฑธาน
ค.
พระสุภูติ
ง.
พระวังคีสะ
๒๐.
พระสาวกรูปใดชำนาญมนต์เคาะกะโหลกมนุษย์แล้วรู้ว่าไปเกิดที่ไหน ?
ก.
พระพากุละ
ข.
พระสุภูติ
ค.
พระสาคตะ
ง.
พระวังคีสะ
๒๑.
พระสาวกรูปใด เคยถวายข้าวทัพพีหนึ่งแก่พระสารีบุตร ?
ก.
พระราธะ
ข.
พระสุภูติ
ค.
พระรัฐบาล
ง.
พระสีวลี
๒๒.
พระสาวกรูปใด ได้การยกย่องว่า เป็นผู้ว่าง่ายสอนง่าย ?
ก.
พระราหุล
ข.
พระโสภิตะ
ค.
พระราธะ
ง.
พระอุบาลี
๒๓.
พระสาวกรูปใดไม่ได้ออกบวชพร้อมกับพระอานนท์ ?
ก.
พระอนุรุทธะ
ข.
พระภัททิยะ
ค.
พระอุบาลี
ง.
พระกาฬุทายี
๒๔.
พระสาวกรูปใดได้รับยกย่องว่าทำตระกูลให้เลื่อมใส ?
ก.
พระโมคคัลลานะ
ข.
พระสารีบุตร
ค.
พระกาฬุทายี
ง.
พระอุบาลี
๒๕.
พระสาวกรูปใด พระพุทธเจ้าทรงพาไปดูนางอัปสรบนสวรรค์ ?
ก.
พระภัททิยะ
ข.
พระนันทะ
ค.
พระอานนท์
ง.
พระเทวทัตต์
๒๖.
พระสาวกรูปใด เป็นแบบอย่างของผู้ใคร่ต่อการศึกษา ?
ก.
พระราหุล
ข.
พระราธะ
ค.
พระเรวตะ
ง.
พระสารีบุตร
๒๗.
พระสาวกรูปใด เป็นมูลเหตุให้ต้องขออนุญาตบิดามารดาก่อนบวช ?
ก.
พระนันทะ
ข.
พระราหุล
ค.
พระภัททิยะ
ง.
พระกิมพิละ
๒๘.
พระอุบาลีเถระ เกิดในตระกูลใด ?
ก.
ช่างจัดสวน
ข.
ช่างก่อสร้าง
ค.
ช่างตัดผม
ง.
ช่างจัดดอกไม้
๒๙.
พระสาวกรูปใดก่อนบวชไม่เคยได้ยินคำว่าไม่มี ?
ก.
พระภัททิยะ
ข.
พระมหานามะ
ค.
พระอนุรุทธะ
ง.
พระกิมพิละ
๓๐.
พระพุทธเจ้า ทรงเปรียบการบำเพ็ญเพียรของพระโสณโกฬิวิสะด้วยอะไร ?
ก.
บุคคล ๔ เหล่า
ข.
บัว ๓ เหล่า
ค.
พิณ ๓ สาย
ง.
ธุดงค์ ๓
๓๑.
พระสาวกรูปใดอดอาหารจนมารดาบิดายอมจาใจให้บวช ?
ก.
พระราธะ
ข.
พระอนุรุทธะ
ค.
พระรัฐบาล
ง.
พระสุภูติ
๓๒.
ใครถามพระปิณโฑลภารทวาชะว่า พระภิกษุหนุ่มบวชอยู่ได้อย่างไร ?
ก.
พระเจ้าอุเทน
ข.
พระเจ้าพิมพิสาร
ค.
พระเจ้ามธุรราช
ง.
พระเจ้าโกรัพยะ
๓๓.
พระสาวกรูปใดตอนเป็นเด็กถูกล้อเลียนว่าเป็นลูกไม่มีพ่อแม่ ?
ก.
พระรัฐบาล
ข.
พระราธะ
ค.
พระกุมารกัสสปะ
ง.
พระสาคตะ
๓๔.
พระสาวกรูปใด ตอบคำถามของพระเจ้าปายาสิผู้ไม่เชื่อว่าโลกอื่นมีจริง ?
ก.
พระโสภิตะ
ข.
พระกุมารกัสสปะ
ค.
พระมหาโกฎฐิตะ
ง.
พระราธะ
๓๕.
พระมหากัปปินะ เกิดในวรรณะใด ?
ก.
กษัตริย์
ข.
พราหมณ์
ค.
แพศย์
ง.
ศูทร
๓๖.
พระสาวกรูปใด ได้รับยกย่องว่า ผู้นำมาซึ่งความเลื่อมใสโดยรอบด้าน ?
ก.
พระสุภูติ
ข.
พระจุนทะ
ค.
พระเรวตะ
ง.
พระอุปเสนะ
๓๗.
พระสาวกรูปใดบรรลุพระอรหัตผลขณะปลงผมเสร็จ ?
ก.
พระสีวลี
ข.
พระเรวตะ
ค.
พระสุภูติ
ง.
พระวังคีสะ
๓๘.
เธอจะเฝ้าดูกายที่เปื่อยเน่านี้ไปทำไม พระพุทธเจ้าตรัสแก่พระสาวกรูปใด ?
ก.
พระพากุละ
ข.
พระวักกลิ
ค.
พระจูฬปันถก
ง.
พระสุภูติ
๓๙.
พระสาวกรูปใด ถูกปลากลืนกินในสมัยเป็นทารกแล้วไม่ตาย ?
ก.
พระสาคตะ
ข.
พระอนุรุทธะ
ค.
พระพากุละ
ง.
พระอุปเสนะ
๔๐.
พระพากุละไม่มีโรคภัยเบียดเบียนเพราะอานิสงส์ในการสร้างอะไร ?
ก.
พระเจดีย์
ข.
ห้องสุขา
ค.
พระวิหาร
ง.
พระอุโบสถ
ศาสนพิธี
๔๑.
ระเบียบแบบแผนที่ผู้นับถือศาสนาพึงปฏิบัติเรียกว่าอะไร ?
ก.
ศาสนพิธี
ข.
บุญพิธี
ค.
ทานพิธี
ง.
กุศลพิธี
๔๒.
สามีจิกรรม หมายถึงพิธีเช่นไร ?
ก.
แสดงมุทิตาจิต
ข.
ทำวัตรสวดมนต์
ค.
ขอขมาโทษต่อกัน
ง.
อธิษฐานจิต
๔๓.
วันพระเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าวันอะไร ?
ก.
วันอุโบสถ
ข.
วันวัสสูปนายิกา
ค.
วันธรรมสวนะ
ง.
วันปาฏิบท
๔๔.
ผ้าที่โยงจากศพเพื่อทำพิธีทอดผ้าบังสุกุลเรียกว่าอะไร ?
ก.
ผ้าภูษามาลา
ข.
ผ้าภูษาโยง
ค.
ผ้ามาลาโยง
ง.
สายสิญจน์
๔๕.
วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ ตรงกับวันอะไร ?
ก.
วันมาฆบูชา
ข.
วันวิสาขบูชา
ค.
วันอัฏฐมีบูชา
ง.
วันอาสาฬหบูชา
๔๖.
วันมหาปวารณาคือวันอะไร ?
ก.
วันเข้าพรรษา
ข.
วันออกพรรษา
ค.
วันตักบาตรเทโว
ง.
วันลอยกระทง
๔๗.
คำว่า ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ เป็นบทสรรเสริญอะไร ?
ก.
พระพุทธเจ้า
ข.
พระธรรม
ค.
พระสงฆ์
ง.
ถูกทุกข้อ
๔๘.
การถวายผ้าวัสสิกสาฎกนิยมถวายในโอกาสใด ?
ก.
วันขึ้นปีใหม่
ข.
วันเถลิงศก
ค.
วันสงกรานต์
ง.
วันเข้าพรรษา
๔๙.
การสวดพระอภิธรรม จัดเข้าในศาสนพิธีใด ?
ก.
กุศลพิธี
ข.
บุญพิธี
ค.
ทานพิธี
ง.
ปกิณณกะ
๕๐.
ผ้าป่า เรียกว่าอีกอย่างหนึ่งว่าอะไร ?
ก.
ผ้าบังสุกุล
ข.
ผ้าภูษาโยง
ค.
ผ้ามาลาโยง
ง.
ผ้ากฐิน
เอกสารอ้างอิง
เรื่องสอบธรรม ของสนามหลวงแผนกธรรม พ.ศ.๒๕๕๗. หน้า
ข้อสอบจริง สอบวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ เวลา ๑๔.๐๐ - ๑๔.๕๐ น.
ข้อสอบสนามหลวง
พ.ศ. ๒๕๔๖
พ.ศ. ๒๕๔๗
พ.ศ. ๒๕๔๘
พ.ศ. ๒๕๔๙
พ.ศ. ๒๕๕๐
พ.ศ. ๒๕๕๑
พ.ศ. ๒๕๕๒
พ.ศ. ๒๕๕๓
พ.ศ. ๒๕๕๔
พ.ศ. ๒๕๕๕
พ.ศ. ๒๕๕๖
พ.ศ. ๒๕๕๗
พ.ศ. ๒๕๕๘
พ.ศ. ๒๕๕๙
พ.ศ. ๒๕๖๐
พ.ศ. ๒๕๖๑
พ.ศ. ๒๕๖๒
พ.ศ. ๒๕๖๓
พ.ศ. ๒๕๖๔
พ.ศ. ๒๕๖๕
พ.ศ. ๒๕๖๖
พ.ศ. ๒๕๖๗
พ.ศ. ๒๕๖๘
พ.ศ. ๒๕๖๙
พ.ศ. ๒๕๗๐
พ.ศ. ๒๕๗๑
พ.ศ. ๒๕๗๒
พ.ศ. ๒๕๗๓
พ.ศ. ๒๕๗๔
พ.ศ. ๒๕๗๕
พ.ศ. ๒๕๗๖
พ.ศ. ๒๕๗๗
พ.ศ. ๒๕๗๘
พ.ศ. ๒๕๗๙
พ.ศ. ๒๕๘๐
พ.ศ. ๒๕๘๑
พ.ศ. ๒๕๘๒
พ.ศ. ๒๕๘๓
พ.ศ. ๒๕๘๔
พ.ศ. ๒๕๘๕
พ.ศ. ๒๕๘๖
พ.ศ. ๒๕๘๗
พ.ศ. ๒๕๘๘
พ.ศ. ๒๕๘๙
พ.ศ. ๒๕๙๐
พ.ศ. ๒๕๙๑
พ.ศ. ๒๕๙๒
พ.ศ. ๒๕๙๓
พ.ศ. ๒๕๙๔
พ.ศ. ๒๕๙๕
พ.ศ. ๒๕๙๖
พ.ศ. ๒๕๙๗
พ.ศ. ๒๕๙๘
พ.ศ. ๒๕๙๙
พ.ศ. ๒๖๐๐