ปัญหาและเฉลย
วิชาอนุพุทธประวัติ ธรรมศึกษาชั้นโท
สอบในสนามหลวง
วันอังคาร ที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
เวลา ๑๔.๐๐ - ๑๔.๕๐ น.
คำสั่ง :
จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว แล้วฝนลงในช่องของข้อ
ที่ต้องการในกระดาษคำตอบ ให้เวลา ๕๐ นาที (๑๐๐ คะแนน)
๑.
การศึกษาปฏิปทาจริยวัตรของพระอนุพุทธะ มีประโยชน์อย่างไร ?
ก.
ได้รู้ประวัติ
ข.
ได้แบบอย่าง
ค.
ได้ปฏิบัติตาม
ง.
ถูกทุกข้อ
๒.
ข้อใด ไม่ใช่เหตุผลในการตั้งพระสาวกให้ดำรงตำแหน่งเอตทัคคะ ?
ก.
เคยปรารถนา
ข.
ชำนาญด้านนั้น
ค.
มีความใกล้ชิด
ง.
มีคุณเหนือผู้อื่น
๓.
เมื่อพระมหาบุรุษประสูติได้ ๕ วัน พราหมณ์ใด ได้เข้าร่วมพิธีขนานพระนาม ?
ก.
โกณฑัญญะ
ข.
วัปปะ
ค.
มหานามะ
ง.
อัสสชิ
๔.
ใครเห็นว่า ลัทธิบูชาไฟของตนไม่มีแก่นสาร จึงขอบวชในพระพุทธศาสนา ?
ก.
อุรุเวลกัสสปะ
ข.
ปิปผลิมาณพ
ค.
อุปติสสมาณพ
ง.
โกลิตมาณพ
๕.
พระองค์ทรงเห็นใครเป็นกำลังในการช่วยประกาศพระศาสนาในแคว้นมคธ ?
ก.
ชฎิลพี่น้อง
ข.
กาฬุทายีอำมาตย์
ค.
ฉันนะอำมาตย์
ง.
ราธพราหมณ์
๖.
อุปติสสมาณพและโกลิตมาณพดูมหรสพแล้วเกิดความรู้สึกอย่างไร ?
ก.
ความเชื่อ
ข.
ความเลื่อมใส
ค.
ความยินดี
ง.
ความเบื่อหน่าย
๗.
คำว่า ในโลกนี้คนโง่มากหรือคนฉลาดมาก สัญชัยปริพาชกถามใคร ?
ก.
นันทมาณพ
ข.
ปิปผลิมาณพ
ค.
อุปติสสมาณพ
ง.
อชิตมาณพ
๘.
พระสาวกรูปใด ได้บรรลุพระอรหัต เพราะฟังธรรมที่ทรงแสดงแก่คนอื่น ?
ก.
พระสารีบุตร
ข.
พระโมคคัลลานะ
ค.
พระอุบาลี
ง.
พระอานนท์
๙.
พระมหากัสสปะอุปสมบทแล้วกี่วัน จึงสำเร็จเป็นพระอรหันต์ ?
ก.
๕ วัน
ข.
๗ วัน
ค.
๘ วัน
ง.
๑๕ วัน
๑๐.
พระสาวกรูปใด เป็นประธานทำสังคายนาเพื่อรักษาพระศาสนาให้มั่นคงถาวร ?
ก.
พระมหากัสสปะ
ข.
พระอนุรุทธะ
ค.
พระอานนท์
ง.
พระอุบาลี
๑๑.
พระมหากัจจายนะ ตามประวัติปรากฏว่าเป็นชาวเมืองอะไร ?
ก.
กบิลพัสดุ์
ข.
เทวทหะ
ค.
ราชคฤห์
ง.
อุชเชนี
๑๒.
ลูกเศรษฐีเมืองโสเรยยะ คิดอยากได้ภรรยามีรูปงามเหมือนพระสาวกรูปใด ?
ก.
พระมหากัสสปะ
ข.
พระโมฆราช
ค.
พระมหากัจจายนะ
ง.
พระราธะ
๑๓.
พระสาวกรูปใด ขอผ่อนปรนให้อุปสมบทในปัจจันตชนบทด้วยสงฆ์ ๕ รูป ?
ก.
พระโมฆราช
ข.
พระมหากัจจายนะ
ค.
พระอานนท์
ง.
พระเรวตะ
๑๔.
พระโมฆราชชาวแคว้นโกศล เกิดในวรรณะใด ?
ก.
กษัตริย์
ข.
พราหมณ์
ค.
เเพศย์
ง.
ศูทร
๑๕.
พระสาวกรูปใด ทรงจีวรเศร้าหมองชักนำให้คนศรัทธาในพระพุทธศาสนา ?
ก.
พระมหากัจจายนะ
ข.
พระราธะ
ค.
พระโมฆราช
ง.
พระราหุล
๑๖.
พระสาวกรูปใด เป็นแบบอย่างในการว่าง่ายสอนง่าย ไม่ถือทิฎฐิมานะ ?
ก.
พระสารีบุตร
ข.
พระราธะ
ค.
พระมหาปันถก
ง.
พระจูฬปันถก
๑๗.
พระพุทธเจ้าให้ถือใครเป็นแบบอย่างว่า เมื่อถูกชี้โทษสั่งสอน ก็อย่าถือโกรธ ?
ก.
พระราธะ
ข.
โสณกุฏิกัณณะ
ค.
พระสาคตะ
ง.
พระเรวตะ
๑๘.
พระปุณณมันตานีบุตร ชาวนครกบิลพัสดุ์เป็นหลานของพระสาวกรูปใด ?
ก.
พระอัญญาโกณฑัญญะ
ข.
พระมหานามะ
ค.
พระภัททิยะ
ง.
พระอัสสชิ
๑๙.
พระสาวกรูปใด แสดงวิสุทธิ ๗ เปรียบเหมือนรถ ๗ ผลัด แก่พระสารีบุตร ?
ก.
พระพากุละ
ข.
ปุณณมันตานีบุตร
ค.
พระสุภูติ
ง.
พระวังคีสะ
๒๐.
พระสาวกรูปใด เป็นสหชาติ คือเกิดวันเดียวกับพระพุทธเจ้า ?
ก.
พระภัททิยะ
ข.
พระนันทะ
ค.
พระราหุล
ง.
พระกาฬุทายี
๒๑.
พระสาวกรูปใด เป็นพระอนุชาต่างพระมารดากับพระพุทธเจ้า ?
ก.
พระอานนท์
ข.
พระกิมพิละ
ค.
พระอนุรุทธะ
ง.
พระนันทะ
๒๒.
พระสาวกรูปใด ได้รับเอตทัคคะว่า เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้สำรวมอินทรีย์ ?
ก.
พระมหากัสสปะ
ข.
พระอัสสชิ
ค.
พระนันทะ
ง.
พระอุบาลี
๒๓.
พระมารดาของพระราหุล ตามประวัติมีพระนามว่าอะไร ?
ก.
พระนางมายา
ข.
พระนางปชาบดี
ค.
พระนางพิมพา
ง.
พระนางปมิตา
๒๔.
พระสาวกรูปใด อธิษฐานใหไ้ด้รับความรู้ทุกวันเท่ากับเม็ดทรายในกำมือ ?
ก.
พระราหุล
ข.
พระอนุรุทธะ
ค.
พระอานนท์
ง.
พระนันทะ
๒๕.
พระสาวกรูปใด มีความชำนาญรอบรู้ในพระวินัยปิฎก ?
ก.
พระกุมารกัสสปะ
ข.
พระอนุรุทธะ
ค.
พระอานนท์
ง.
พระอุบาลี
๒๖.
พระอุบาลี ออกบวชพร้อมกับพระสาวกรูปใด ?
ก.
พระกุมารกัสสปะ
ข.
พระวังคีสะ
ค.
พระเรวตะ
ง.
พระอานนท์
๒๗.
พระภัททิยะ ก่อนออกบวชเป็นกษัตริย์เชื้อสายพระราชวงศ์ใด ?
ก.
ศากยะ
ข.
โกลิยะ
ค.
มัลละ
ง.
ลิจฉวี
๒๘.
เจ้าอนุรุทธะทูลขออุปสมบทกับพระพุทธเจ้า ณ สถานที่ใด ?
ก.
เวฬุวัน
ข.
เชตวัน
ค.
นิโครธาราม
ง.
อนุปิยอัมพวัน
๒๙.
พระอนุรุทธะได้รับเอตทัคคะจากพระพุทธเจ้าด้านใด ?
ก.
ตาทิพย์
ข.
หูทิพย์
ค.
มีฤทธ์ิมาก
ง.
มีปัญญามาก
๓๐.
พระอานนท์ทูลขอพรว่า อย่าทรงพาไปในที่นิมนต์ เพราะเหตุใด ?
ก.
ถือธุดงค์
ข.
ไม่เห็นแก่ลาภ
ค.
เบื่อหน่าย
ง.
ทุพพลภาพ
๓๑.
ก่อนพระพุทธเจ้าปรินิพพาน พระอานนท์สำเร็จเป็นพระอริยบุคคลชั้นใด ?
ก.
พระโสดาบัน
ข.
พระสกทาคามี
ค.
พระอนาคามี
ง.
พระอรหันต์
๓๒.
พระเจ้าโกรัพยะได้ฟังธรรมุทเทศ ๔ จากพระสาวกรูปใด ?
ก.
พระราธะ
ข.
พระอานนท์
ค.
พระโสณโกฬิวิสะ
ง.
พระรัฐบาล
๓๓.
พระสาวกรูปใดเหาะไปเอาบาตรไม้จันทร์ เพื่อให้รู้ว่าพระอรหันต์มีในโลก ?
ก.
พระโมคคัลลานะ
ข.
พระอุบาลี
ค.
พระปิณโฑลภารทวาช
ง.
พระภคุ
๓๔.
คำบริกรรมผ้าขาวว่า รโชหรณํ พระพุทธเจ้าทรงประทานแก่พระสาวกรูปใด ?
ก.
พระมหาปันถก
ข.
พระจูฬปันถก
ค.
พระมหาโกฎฐิตะ
ง.
พระวังคีสะ
๓๕.
มารดาของพระโสณกุฏิกัณณะ เป็นอุปัฏฐากของพระสาวกรูปใด ?
ก.
พระสารีบุตร
ข.
พระอานนท์
ค.
พระมหากัจจายนะ
ง.
พระสีวลี
๓๖.
พูดสิ่งที่ตนทำได้ไม่พูดสิ่งที่ตนทำไม่ได้เป็นธรรมวาทะของพระสาวกรูปใด ?
ก.
พระสุภูติ
ข.
พระจุนทะ
ค.
พระเรวตะ
ง.
พระอุปเสนะ
๓๗.
พระสาวกรูปใดมีภาพลวงตาเป็นสตรีติดตามเพราะผลกรรมในชาติก่อน ?
ก.
พระภัททิยะ
ข.
พระภคุ
ค.
พระโกณฑธาน
ง.
พระวังคีสะ
๓๘.
พระสาวกรูปใด ก่อนบวชมีมนต์เคาะกะโหลกศีรษะคนตายรู้ว่าเกิดที่ไหน ?
ก.
พระวักกลิ
ข.
พระวังคีสะ
ค.
พระจูฬปันถก
ง.
พระพากุละ
๓๙.
พระพุทธเจ้าให้พระสาวกรูปใดตามเสด็จเพื่อภิกษุจะไม่ลำบากในทางกันดาร ?
ก.
พระสาคตะ
ข.
พระอนุรุทธะ
ค.
พระเรวตะ
ง.
พระสีวลี
๔๐.
พระสาวกรูปใด ก่อนบวชนุ่งผ้าเปลือกไม้สำคัญผิดว่าตนเป็นพระอรหันต์ ?
ก.
พระวักกลิ
ข.
พระพาหิยะ
ค.
พระพากุละ
ง.
พระเรวตะ
ศาสนพิธี
๔๑.
พิธีกรรมที่พึงปฏิบัติตามแบบแผนทางพระพุทธศาสนา เรียกว่าอะไร ?
ก.
ศาสนพิธี
ข.
พิธีบวงสรวง
ค.
พิธีบูชายัญ
ง.
พลีกรรม
๔๒.
ผ้าที่พุทธศาสนิกชนนิยมถวายเนื่องในกาลเข้าพรรษา ตรงกับข้อใด ?
ก.
ผ้าบังสุกุล
ข.
ผ้าอาบน้ำฝน
ค.
ผ้าจำนำพรรษา
ง.
ผ้ากฐิน
๔๓.
วันธรรมสวนะ คือ วันฟังธรรม ในเดือนหนึ่ง ๆ กำหนดไว้กี่วัน ?
ก.
๒ วัน
ข.
๓ วัน
ค.
๔ วัน
ง.
๕ วัน
๔๔.
ในวันธรรมสวนะ พุทธศาสนิกชนควรปฏิบัติตนอย่างไร ?
ก.
ทำบุญ
ข.
ตักบาตร
ค.
ฟังเทศน์
ง.
ถูกทุกข้อ
๔๕.
ข้อใด ไม่ใช่พิธีกรรมในวันธรรมสวนะ ?
ก.
รักษาศีล
ข.
สวดมนต์
ค.
สวดพระอภิธรรม
ง.
เจริญภาวนา
๔๖.
วันสิ้นสุดการอยู่จำพรรษาของพระภิกษุตามพระวินัยเรียกว่าวันอะไร ?
ก.
วันเข้าพรรษา
ข.
วันออกพรรษา
ค.
วันตักบาตรเทโว
ง.
วันลอยกระทง
๔๗.
คำว่า สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ เป็นบทสวดสรรเสริญคุณของใคร ?
ก.
พระพุทธเจ้า
ข.
พระธรรม
ค.
พระสงฆ์
ง.
พระรัตนตรัย
๔๘.
ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร นิยมสวดในโอกาสใด ?
ก.
ทำบุญอายุ
ข.
ทำบุญอัฐิ
ค.
ทำบุญต่อนาม
ง.
ทำบุญสตมวาร
๔๙.
ข้อใด ไม่ใช่องค์ประกอบของงานมงคลสมรส ?
ก.
สินสอด
ข.
ขันหมาก
ค.
ด้ายมงคล
ง.
ไม้มงคล
๕๐.
เทศน์มหาชาติมีทั้งหมดกี่กัณฑ์ ?
ก.
๑๐ กัณฑ์
ข.
๑๓ กัณฑ์
ค.
๑๕ กัณฑ์
ง.
๒๓ กัณฑ์
เอกสารอ้างอิง
เรื่องสอบธรรม ของสนามหลวงแผนกธรรม พ.ศ.๒๕๕๘. หน้า ๑๗๘-๑๘๗.
ข้อสอบสนามหลวง
พ.ศ. ๒๕๔๖
พ.ศ. ๒๕๔๗
พ.ศ. ๒๕๔๘
พ.ศ. ๒๕๔๙
พ.ศ. ๒๕๕๐
พ.ศ. ๒๕๕๑
พ.ศ. ๒๕๕๒
พ.ศ. ๒๕๕๓
พ.ศ. ๒๕๕๔
พ.ศ. ๒๕๕๕
พ.ศ. ๒๕๕๖
พ.ศ. ๒๕๕๗
พ.ศ. ๒๕๕๘
พ.ศ. ๒๕๕๙
พ.ศ. ๒๕๖๐
พ.ศ. ๒๕๖๑
พ.ศ. ๒๕๖๒
พ.ศ. ๒๕๖๓
พ.ศ. ๒๕๖๔
พ.ศ. ๒๕๖๕
พ.ศ. ๒๕๖๖
พ.ศ. ๒๕๖๗
พ.ศ. ๒๕๖๘
พ.ศ. ๒๕๖๙
พ.ศ. ๒๕๗๐
พ.ศ. ๒๕๗๑
พ.ศ. ๒๕๗๒
พ.ศ. ๒๕๗๓
พ.ศ. ๒๕๗๔
พ.ศ. ๒๕๗๕
พ.ศ. ๒๕๗๖
พ.ศ. ๒๕๗๗
พ.ศ. ๒๕๗๘
พ.ศ. ๒๕๗๙
พ.ศ. ๒๕๘๐
พ.ศ. ๒๕๘๑
พ.ศ. ๒๕๘๒
พ.ศ. ๒๕๘๓
พ.ศ. ๒๕๘๔
พ.ศ. ๒๕๘๕
พ.ศ. ๒๕๘๖
พ.ศ. ๒๕๘๗
พ.ศ. ๒๕๘๘
พ.ศ. ๒๕๘๙
พ.ศ. ๒๕๙๐
พ.ศ. ๒๕๙๑
พ.ศ. ๒๕๙๒
พ.ศ. ๒๕๙๓
พ.ศ. ๒๕๙๔
พ.ศ. ๒๕๙๕
พ.ศ. ๒๕๙๖
พ.ศ. ๒๕๙๗
พ.ศ. ๒๕๙๘
พ.ศ. ๒๕๙๙
พ.ศ. ๒๖๐๐