ปัญหาและเฉลย
วิชาธรรม ธรรมศึกษาชั้นเอก
สอบในสนามหลวง
วันศุกร์ ที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๓.๕๐ น.
คำสั่ง :
จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว แล้วฝนลง ● ในช่อง
ของข้อที่ต้องการในกระดาษคำตอบ ให้เวลา ๕๐ นาที (๑๐๐ คะแนน)
๑.
คำว่า สูทั้งหลาย หมายถึงใคร ?
ก.
พุทธบริษัท
ข.
สัตว์โลก
ค.
คฤหัสถ์
ง.
ภิกษุสงฆ์
๒.
คำว่า คนเขลา หมายถึงใคร ?
ก.
คนไร้การศึกษา
ข.
คนไร้จรรยา
ค.
คนไร้มารยาท
ง.
คนไร้พิจารณ์
๓.
คำว่า หมกอยู่ หมายถึงอาการเช่นใด ?
ก.
ติดในสิ่งล่อใจ
ข.
เพลิดเพลินในสิ่งอันให้โทษ
ค.
หลงในสิ่งอันอาจให้โทษ
ง.
ถูกทุกข้อ
๔.
คำว่า หาข้องอยู่ไม่ มีความหมายตรงกับอะไร ?
ก.
ไม่พัวพันในสิ่งล่อใจ
ข.
ไม่ปรารถนาเกิดในโลก
ค.
ไม่สนใจโลก
ง.
ไม่เกี่ยวข้องกับใคร
๕.
พระพุทธเจ้า ทรงชักชวนให้พุทธบริษัทดูโลกอย่างไร ?
ก.
ดูให้เห็นคุณและโทษ
ข.
ดูให้เพลิดเพลิน
ค.
ดูให้สวยงาม
ง.
ดูให้ตระการตา
๖.
อาการสำรวมจิตตามหลักนิพพิทา คือข้อใด ?
ก.
สำรวมอินทรีย์
ข.
ปิดใจไม่รับอารมณ์
ค.
ปิดตาหูไม่ดูไม่ฟัง
ง.
ทำใจมิให้หลงใหล
๗.
กิเลสกามได้ชื่อว่ามาร เพราะเหตุใด ?
ก.
ทำให้เศร้าหมอง
ข.
ทำให้หลงระเริง
ค.
เป็นเครื่องจูงใจ
ง.
ล้างผลาญคุณความดี
๘.
วัตถุกามจัดเป็นบ่วงแห่งมาร เพราะเหตุใด ?
ก.
เพราะทำจิตให้เศร้าหมอง
ข.
เพราะทำจิตให้เข้มแข็ง
ค.
เพราะทำจิตให้อ่อนแอ
ง.
เพราะทำจิตให้ลุ่มหลง
๙.
เห็นสังขารว่าไม่เที่ยงแล้วเกิดความเบื่อหน่าย จัดเป็นอะไร ?
ก.
ทิฏฐิวิปัลลาส
ข.
สมถกัมมัฏฐาน
ค.
นิพพิทา
ง.
วิราคะ
๑๐.
สังขารทั้งปวงล้วนตกอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ใด ?
ก.
ไตรลักษณ์
ข.
ไตรสิกขา
ค.
ไตรทวาร
ง.
ไตรรัตน์
๑๑.
อนิจจลักษณะกำหนดรู้ได้อย่างไร ?
ก.
ตั้งอยู่ได้นาน
ข.
ตั้งอยู่ได้ชั่วขณะ
ค.
ตั้งอยู่ในสภาพเดิม
ง.
ตั้งอยู่ในอำนาจ
๑๒.
คนมองไม่เห็นอนิจจลักษณะของสังขาร เพราะอะไรปิดบังไว้ ?
ก.
ความสุข
ข.
ความทุกข์
ค.
ความสืบต่อ
ง.
โลกธรรม
๑๓.
ทุกขตา หมายถึงอะไร ?
ก.
ความหน่ายในสังขาร
ข.
ความทนได้ยาก
ค.
ความทนอยู่ไม่ได้
ง.
ความไม่อยู่ในอำนาจ
๑๔.
พยาธิทุกข์ คือข้อใด ?
ก.
ความเจ็บไข้
ข.
ความเศร้าโศก
ค.
ความคับแค้นใจ
ง.
ความหิวกระหาย
๑๕.
ทุกข์เพราะผลกรรม จัดเป็นทุกข์ประเภทใด ?
ก.
สภาวทุกข์
ข.
ปกิณณกทุกข์
ค.
สันตาปทุกข์
ง.
วิปากทุกข์
๑๖.
อาหารปริเยฏฐิทุกข์ คือข้อใด ?
ก.
ทุกข์เพราะเจ็บไข้
ข.
ทุกข์เพราะหิวกระหาย
ค.
ทุกข์เพราะหาเลี้ยงชีวิต
ง.
ทุกข์เพราะทะเลาะวิวาท
๑๗.
ถูกปลดจากตำแหน่ง จัดเป็นทุกข์ประเภทใด ?
ก.
สันตาปทุกข์
ข.
วิปากทุกข์
ค.
สหคตทุกข์
ง.
วิวาทมูลกทุกข์
๑๘.
ความเป็นอนัตตาแห่งสังขาร พึงกำหนดรู้ด้วยอาการอย่างไร ?
ก.
เป็นสภาพว่างเปล่า
ข.
เป็นของๆ เรา
ค.
เป็นตัวของเรา
ง.
เป็นกลุ่มก้อน
๑๙.
เพราะอะไรปิดบังไว้ จึงไม่เห็นสังขารเป็นอนัตตา ?
ก.
สันตติ
ข.
อิริยาบถ
ค.
ฆนสัญญา
ง.
อนิจจสัญญา
๒๐.
ความเห็นสังขารเป็นอนัตตา มีประโยชน์อย่างไร ?
ก.
ละความเห็นแก่ตัว
ข.
ละความทุกข์
ค.
ละความกำหนัด
ง.
ละความถือมั่น
๒๑.
การเห็นอนัตตาต้องมีอะไรกำกับ จึงจะไม่เป็นมิจฉาทิฏฐิ ?
ก.
สติ สัมปชัญญะ
ข.
อนิจจสัญญา
ค.
โยนิโสมนสิการ
ง.
นิพพิทาญาณ
๒๒.
เมื่อเกิดความหน่ายในสังขาร มีผลอย่างไร ?
ก.
ทำให้สงบ
ข.
ทำให้หลุดพ้น
ค.
ทำให้ท้อแท้
ง.
ทำให้สิ้นกำหนัด
๒๓.
ความติดพันห่วงใยในอารมณ์อันเป็นที่รัก เรียกว่าอะไร ?
ก.
ความอาลัย
ข.
ความอยาก
ค.
ความเมา
ง.
ความระหาย
๒๔.
ข้อว่า ธรรมยังความเมาให้สร่าง นั้น ได้แก่เมาอะไร ?
ก.
เมาอายุ วัย ยศ
ข.
เมากิเลส ตัณหา ราคะ
ค.
เมาสุราเมรัย
ง.
เมาสิ่งเสพติดให้โทษ
๒๕.
ข้อว่า นำเสียซึ่งความระหาย หมายความว่าอย่างไร ?
ก.
กำจัดความหิวได้
ข.
กำจัดตัณหาเสียได้
ค.
กำจัดความยากจนได้
ง.
กำจัดความทุกข์ร้อนได้
๒๖.
เพราะสิ้นกำหนัดแล้ว จิตย่อมหลุดพ้นจากอะไร ?
ก.
ราคะ
ข.
ตัณหา
ค.
อาสวะ
ง.
อุปาทาน
๒๗.
อวิชชาสวะ ได้แก่ข้อใด ?
ก.
ราคะ
ข.
โทสะ
ค.
โมหะ
ง.
โลภะ
๒๘.
ถือความศักดิ์สิทธิ์ไหว้จิ้งจกสามหาง สงเคราะห์เข้าในอาสวะใด ?
ก.
กามาสวะ
ข.
ภวาสวะ
ค.
อวิชชาสวะ
ง.
ผลาสวะ
๒๙.
จิตหลุดพ้นจากกามตัณหา ชื่อว่าหลุดพ้นจากอาสวะใด ?
ก.
กามาสวะ
ข.
ภวาสวะ
ค.
อวิชชาสวะ
ง.
ผลาสวะ
๓๐.
วิสุทธิคือความหมดจด ใครบันดาลให้ได้ ?
ก.
พระเจ้า
ข.
เทพเจ้า
ค.
ตนเอง
ง.
โหราจารย์
๓๑.
เล็งเห็นสังขารว่าเป็นทุกข์ จัดเป็นญาณอะไร ?
ก.
อุทยัพพยญาณ
ข.
ภังคญาณ
ค.
อาทีนวญาณ
ง.
นิพพิทาญาณ
๓๒.
ข้อใด จัดเข้าในจิตตวิสุทธิ ?
ก.
เจรจาชอบ
ข.
พยายามชอบ
ค.
การงานชอบ
ง.
เลี้ยงชีวิตชอบ
๓๓.
ข้อใด จัดเป็นสีลวิสุทธิ ?
ก.
ดำริชอบ
ข.
พยายามชอบ
ค.
การงานชอบ
ง.
ระลึกชอบ
๓๔.
ข้อใด จัดเป็นสัมมากัมมันตะ ?
ก.
ค้ามนุษย์
ข.
ค้าประเวณี
ค.
ขายประกัน
ง.
ขายของมึนเมา
๓๕.
ข้อใด จัดเป็นสันติภายใน ?
ก.
สงบกาย
ข.
สงบวาจา
ค.
สงบใจ
ง.
สงบสุข
๓๖.
อะไรจัดเป็นโลกามิส ในเรื่องสันติ ?
ก.
ขันธ์ ๕
ข.
กามคุณ ๕
ค.
กิเลสกาม
ง.
กามฉันทะ
๓๗.
เมื่อหน่ายสังขาร ย่อมเกิดอะไรขึ้น ?
ก.
ไม่หลง
ข.
สิ้นกำหนัด
ค.
ไม่ฟุ้งซ่าน
ง.
สิ้นกิเลส
๓๘.
นิพพาน แปลว่าอะไร ?
ก.
ดับ
ข.
ปฏิสนธิ
ค.
จุติ
ง.
อันตรธาน
๓๙.
คำว่า มีลูกศรอันถอนแล้ว เป็นคุณบทของใคร ?
ก.
พระโสดาบัน
ข.
พระสกทาคามี
ค.
พระอนาคามี
ง.
พระอรหันต์
๔๐.
คำว่า ดุจไฟสิ้นเชื่อแล้วย่อมดับไปเอง กล่าวถึงเรื่องใด ?
ก.
ฌาน
ข.
สมาบัติ
ค.
อภิญญา
ง.
นิพพาน
๔๑.
ผู้เห็นภัยในความประมาท ชื่อว่าปฏิบัติใกล้ต่ออะไร ?
ก.
สวรรค์
ข.
พรหมโลก
ค.
นิพพาน
ง.
เทวโลก
๔๒.
การบรรลุนิพพาน มีผลอย่างไร ?
ก.
เป็นสุขอย่างยิ่ง
ข.
รื่นรมย์อย่างยิ่ง
ค.
เพลิดเพลินอย่างยิ่ง
ง.
ยินดีอย่างยิ่ง
๔๓.
ข้อใด เป็นความหมายของสมถกัมมัฏฐาน ?
ก.
วิธีทำให้รู้แจ้ง
ข.
วิธีตัดกิเลส
ค.
วิธีทำใจให้สงบ
ง.
วิธีกำจัดความมืด
๔๔.
จิตที่เป็นสมาธิ มีลักษณะอย่างไร ?
ก.
มีอารมณ์เดียว
ข.
ปราศจากความรู้สึก
ค.
ปราศจากกิเลส
ง.
มีความเห็นแจ้ง
๔๕.
ผู้เจริญกายคตาสติกัมมัฏฐาน ควรกำหนดอะไรเป็นอารมณ์ ?
ก.
ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง
ข.
รูป เวทนา สัญญา สังขาร
ค.
กาย เวทนา จิต ธรรม
ง.
ดิน น้ำ ลม ไฟ
๔๖.
เมตตากัมมัฏฐานเหมาะแก่ใคร ?
ก.
คนมักโกรธ
ข.
คนรักสวยรักงาม
ค.
คนมักสงสัย
ง.
คนมักง่วงนอน
๔๗.
การเจริญอสุภกัมมัฏฐาน เพื่อประโยชน์อย่างไร ?
ก.
ไม่หลงติด
ข.
ไม่มีเวรภัย
ค.
ไม่ทุจริต
ง.
มีความอดทน
๔๘.
ปัญญาที่เห็นแจ้งชัดในอารมณ์ เรียกว่าอะไร ?
ก.
สมถะ
ข.
วิปัสสนูปกิเลส
ค.
วิปัสสนา
ง.
วิปัลลาส
๔๙.
อะไรเป็นผลของการปฏิบัติวิปัสสนา ?
ก.
ความบริสุทธิ์แห่งจิต
ข.
ความบริสุทธิ์ของความเห็น
ค.
ความบริสุทธิ์ของปัญญา
ง.
ถูกทุกข้อ
๕๐.
ประโยชน์สูงสุดของการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน คืออะไร ?
ก.
พ้นจากสังสารทุกข์
ข.
กำจัดพยาบาท
ค.
กำจัดความสงสัย
ง.
กำจัดกามฉันทะ
เอกสารอ้างอิง
เรื่องสอบธรรม ของสนามหลวงแผนกธรรม พ.ศ.๒๕๕๔. หน้า ๒๘๐-๒๙๐.
ข้อสอบสนามหลวง
พ.ศ. ๒๕๔๖
พ.ศ. ๒๕๔๗
พ.ศ. ๒๕๔๘
พ.ศ. ๒๕๔๙
พ.ศ. ๒๕๕๐
พ.ศ. ๒๕๕๑
พ.ศ. ๒๕๕๒
พ.ศ. ๒๕๕๓
พ.ศ. ๒๕๕๔
พ.ศ. ๒๕๕๕
พ.ศ. ๒๕๕๖
พ.ศ. ๒๕๕๗
พ.ศ. ๒๕๕๘
พ.ศ. ๒๕๕๙
พ.ศ. ๒๕๖๐
พ.ศ. ๒๕๖๑
พ.ศ. ๒๕๖๒
พ.ศ. ๒๕๖๓
พ.ศ. ๒๕๖๔
พ.ศ. ๒๕๖๕
พ.ศ. ๒๕๖๖
พ.ศ. ๒๕๖๗
พ.ศ. ๒๕๖๘
พ.ศ. ๒๕๖๙
พ.ศ. ๒๕๗๐
พ.ศ. ๒๕๗๑
พ.ศ. ๒๕๗๒
พ.ศ. ๒๕๗๓
พ.ศ. ๒๕๗๔
พ.ศ. ๒๕๗๕
พ.ศ. ๒๕๗๖
พ.ศ. ๒๕๗๗
พ.ศ. ๒๕๗๘
พ.ศ. ๒๕๗๙
พ.ศ. ๒๕๘๐
พ.ศ. ๒๕๘๑
พ.ศ. ๒๕๘๒
พ.ศ. ๒๕๘๓
พ.ศ. ๒๕๘๔
พ.ศ. ๒๕๘๕
พ.ศ. ๒๕๘๖
พ.ศ. ๒๕๘๗
พ.ศ. ๒๕๘๘
พ.ศ. ๒๕๘๙
พ.ศ. ๒๕๙๐
พ.ศ. ๒๕๙๑
พ.ศ. ๒๕๙๒
พ.ศ. ๒๕๙๓
พ.ศ. ๒๕๙๔
พ.ศ. ๒๕๙๕
พ.ศ. ๒๕๙๖
พ.ศ. ๒๕๙๗
พ.ศ. ๒๕๙๘
พ.ศ. ๒๕๙๙
พ.ศ. ๒๖๐๐