ปัญหาและเฉลย
วิชาอุโบสถศีล (วินัย) ธรรมศึกษาชั้นโท
สอบในสนามหลวง
วันอังคาร ที่ ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑
เวลา ๑๕.๐๐ - ๑๕.๕๐ น.
คำสั่ง :
จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว แล้วกากบาทลงในช่องของข้อ
ที่ต้องการในกระดาษคำตอบ ให้เวลา ๕๐ นาที (๑๐๐ คะแนน)
๑.
กุศลส่วนพิเศษที่คฤหัสถ์ควรบำเพ็ญให้ยิ่งกว่าศีล ๕ คืออะไร ?
ก.
ถวายสังฆทาน
ข.
ฟังเทศน์
ค.
ถืออุโบสถ
ง.
นั่งสมาธิ
๒.
การรักษาศีล จัดเข้าในศาสนพิธีประเภทใด ?
ก.
ทานพิธี
ข.
บุญพิธี
ค.
กุศลพิธี
ง.
ปกิณกะ
๓.
ข้อใดเป็นความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับการักษาศีล ?
ก.
ได้พักการงาน
ข.
ได้ทำบุญกุศล
ค.
ได้ชำระจิตใจ
ง.
ได้ชำระบาป
๔.
เข้าบ้านต้องผ่านประตู แรกเข้าสู่พระพุทธศาสนาต้องเข้าถึง
อะไร ?
ก.
พิธีกรรม
ข.
พระรัตนตรัย
ค.
ประเพณี
ง.
การอุปสมบท
๕.
เพราะเหตุใด พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ จึงได้ชื่อว่าสรณะ?
ก.
เป็นที่พึ่งแก่ผู้นับถือ
ข.
ถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์
ค.
เป็นที่บวงสรวงบูชา
ง.
เป็นที่บนบานขอพร
๖.
โลกไม่มีพระอาทิตย์ก็มืดมน คนไม่มีพระรัตนตรัยจะเป็นอย่างไร ?
ก.
ขาดที่พึ่งทางกาย
ข.
ขาดที่พึ่งทางใจ
ค.
ขาดหลักบริหาร
ง.
ขาดบริวารดูแล
๗.
พระธรรม ย่อมรักษาผู้ปฏิบัติอย่างไร ?
ก.
ให้มีชื่อเสียง
ข.
ให้คนยกย่อง
ค.
ให้คนนับถือ
ง.
ไม่ให้ตกที่ชั่ว
๘.
ใครประกาศคำสอนของพระพุทธเจ้า ให้คนรู้จักบาปบุญคุณ
โทษ ?
ก.
พระสงฆ์
ข.
อาชีวก
ค.
ปริพาชก
ง.
นิครนถ์
๙.
สรณคมน์ มีความหมายตรงกับข้อใด ?
ก.
การไหว้พระสวดมนต์
ทุกวัน
ข.
การถึงพระรัตนตรัยเป็น
ที่พึ่ง
ค.
การถวายข้าวพระเป็น
ประจำ
ง.
การบูชาด้วยดอกไม้
ธูปเทียน
๑๐.
อะไรเป็นสาเหตุแห่งการขาดสรณคมน์ ?
ก.
เกิด
ข.
แก่
ค.
เจ็บ
ง.
ตาย
๑๑.
ข้อใด เป็นความเศร้าหมองแห่งสรณคมน์ เพราะความไม่เอื้อ
เฟื้อ ?
ก.
ทำร้ายพระศาสดา
ข.
ห้ามไหว้พระพุทธรูป
ค.
นับถือศาสดาอื่น
ง.
ความตายมาปรากฏ
๑๒.
ข้อใด เป็นความเศร้าหมองแห่งสรณคมน์ เพราะความสงสัย ?
ก.
สวรรค์มีจริงหรือ
ข.
น้ำท่วมโลกจริงหรือ
ค.
โลกร้อนจริงหรือ
ง.
มีคลื่นยักษ์จริงหรือ
๑๓.
ความมีศรัทธามั่งคงในพระรัตนตรัย ควรถือใครเป็นแบบอย่าง ?
ก.
พระเทวทัต
ข.
พระวักกลิ
ค.
สุปปพุทธกุฏฐิ
ง.
ท้าวสักกะ
๑๔.
การถืออุโบสถนอกพุทธกาล เน้นวิธีรักษาในเรื่องใด ?
ก.
อดอาหาร
ข.
ถือสรณคมน์
ค.
ถือศีล ๘
ง.
รักษาตามกาล
๑๕.
ข้อใด ไม่มีความเกี่ยวข้องกับอุโบสถนอกพุทธกาล ?
ก.
อดอาหาร
ข.
บำเพ็ญตบะ
ค.
สรณคมน์
ง.
ถือตามกาล
๑๖.
ข้อใด ไม่ใช่อุโบสถที่จัดตามวันรักษา ?
ก.
ปกติอุโบสถ
ข.
ปฏิชาครอุโบสถ
ค.
อริยอุโบสถ
ง.
ปาฏิหาริยอุโบสถ
๑๗.
อุโบสถที่ผู้สมาทานตั้งใจรักษา โดยไม่เห็นแก่นอนมากนัก
ตรงกับอุโบสถประเภทใด ?
ก.
โคปาลกอุโบสถ
ข.
ปฏิชาครอุโบสถ
ค.
นัคคัณฐอุโบสถ
ง.
ปาฏิหาริยอุโบสถ
๑๘.
การถืออุโบสถอย่างวิธีของพวกนิครนถ์ ตรงกับข้อใด ?
ก.
ปกติอุโบสถ
ข.
โคปาลกอุโบสถ
ค.
อริยอุโบสถ
ง.
นิคคัณฐอุโบสถ
๑๙.
การถืออุโบสถ ให้เวลาล่วงไปด้วยเรื่องบุญกุศลเท่านั้น
มีอานิสงส์มากกว่าอุโบสถประเภทอื่น ตรงกับข้อใด ?
ก.
โคปาลกอุโบสถ
ข.
อริยอุโบสถ
ค.
นิคคัณฐอุโบสถ
ง.
ปกติอุโบสถ
๒๐.
คนรับจ้างเลี้ยงโค เป็นคำเปรียบเทียบอุโบสถประเภทใด ?
ก.
นิคคัณฐอุโบสถ
ข.
ปกติอุโบสถ
ค.
โคปาลกอุโบสถ
ง.
อริยอุโบสถ
๒๑.
ปกติอุโบสถ กำหนดให้รักษาเดือนหนึ่งกี่วัน ?
ก.
๑ วัน
ข.
๓ วัน
ค.
๔ วัน
ง.
๓๐ วัน
๒๒.
หากรักษาปฏิชาครอุโบสถในวัน ๘ ค่ำ วันรับวันส่งจะเป็นกี่ค่ำ ?
ก.
๖ ค่ำ ๗ ค่ำ
ข.
๗ ค่ำ ๘ ค่ำ
ค.
๘ ค่ำ ๙ ค่ำ
ง.
๗ ค่ำ ๙ ค่ำ
๒๓.
ปาฏิหาริยอุโบสถ กำหนดให้รักษาต่อเนื่องกันไปนานเท่าไร ?
ก.
๑ วัน
ข.
๓ วัน
ค.
๓ เดือน
ง.
๔ เดือน
๒๔.
การถือศีลด้วยวิธีใด เรียกว่ารักษาอุโบสถ ?
ก.
กินอาหารมังสวิรัติ
ข.
งดอาหารเวลาวิกาล
ค.
ไม่กินเนื้อสัตว์ใหญ่
ง.
ไถ่ชีวิตโคทุกวันพระ
๒๕.
การถือศีลในวันใด ไม่เรียกว่ารักษาอุโบสถ ?
ก.
วันธรรมดา
ข.
วัน ๘ ค่ำ
ค.
วัน ๑๔ ค่ำ
ง.
วัน ๑๕ ค่ำ
๒๖.
บุญกุศลที่ได้จากการถืออุโบสถนั้น เกิดขึ้นด้วยสาเหตุใด ?
ก.
สมาทานศีล
ข.
ตั้งใจสวดมนต์
ค.
งดเว้นข้อห้าม
ง.
ถือจนครบเวลา
๒๗.
วิธีสมาทานอุโบสถทุกวันนี้ นิยมสมาทานด้วยวิธีใด ?
ก.
เปล่งวาจา
ข.
ถือเพศ
ค.
อธิษฐาน
ง.
ถือสัตย์
๒๘.
อุโบสถที่สมาทานแล้ว ได้ชื่อว่ามีศีลบริบูรณ์ เพราะสาเหตุใด ?
ก.
ไม่ละเว้น
ข.
ไม่ละเมิด
ค.
ไม่ครบองค์
ง.
ไม่ครบวัน
๒๙.
พระสงฆ์ให้ศีล ๘ แต่รับเพียง ๕ ข้อ เรียกว่าอุโบสถอะไร ?
ก.
ปกติอุโบสถ
ข.
โคปาลกอุโบสถ
ค.
อริยอุโบสถ
ง.
ไม่เรียกว่าอุโบสถ
๓๐.
การถืออุโบสถศีลในสถานที่ไม่มีพระสงฆ์ จะสมาทานที่ไหน ?
ก.
บ้าน
ข.
โรงเรียน
ค.
ป่าช้า
ง.
ได้ทุกที่
๓๑.
อุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ จัดเป็นบัญญัติประเภทใด ?
ก.
พุทธบัญญัติ
ข.
ธาตุบัญญัติ
ค.
สาวกบัญญัติ
ง.
วินัยบัญญัติ
๓๒.
วันปัณณรสี ในคำประกาศอุโบสถ หมายถึงวันกี่ค่ำ ?
ก.
วัน ๗ ค่ำ
ข.
วัน ๘ ค่ำ
ค.
วัน ๑๘ ค่ำ
ง.
วัน ๑๕ ค่ำ
๓๓.
คำว่า มยํ ภนฺเต ติสรเณน สห อฏฺงฺคสมนฺนาคตํ อุโบสถํ ยาจาม
เป็นคำกล่าวอะไร ?
ก.
อาราธนาศีล
ข.
อาราธนาธรรม
ค.
บูชาข้าวพระ
ง.
ถวายสังฆทาน
๓๔.
ข้อใด ไม่เกี่ยวข้องกับระเบียบพิธีถืออุโบสถ ?
ก.
ประกาศองค์อุโบสถ
ข.
อาราธนาศีล
ค.
อาราธนาพระปริตร
ง.
สมาทานศีล
๓๕.
อุโบสถของพวกนิครนถ์นักบวชนอกศาสนา มีข้อห้ามอย่างไร ?
ก.
ห้ามทุกเรื่อง
ข.
ห้ามบางเรื่อง
ค.
ห้ามอดข้าว
ง.
ไม่มีข้อห้าม
๓๖.
คำว่า
อพรหมจรรย์
ในอุโบสถศีลข้อที่ ๓ หมายถึงอะไร ?
ก.
การล่วงประเวณี
ข.
การร้องเพลง
ค.
การดื่มสุราเมรัย
ง.
การอดอาหาร
๓๗.
ข้าพเจ้าสมาทานสิกขาบทคือเว้นจากล่อลวงผู้อื่น คือศีลข้อใด ?
ก.
ข้อ ๑
ข.
ข้อ ๓
ค.
ข้อ ๔
ง.
ข้อ ๕
๓๘.
งดบริโภคอาหารในเวลาวิกาล คือศีลข้อใด ?
ก.
ข้อ ๒
ข.
ข้อ ๓
ค.
ข้อ ๓
ง.
ข้อ ๖
๓๙.
ประโยชน์การสมาทานอุโบสถศีล ข้อ ๗ เพื่อตัดความกังวลใด ?
ก.
การกินอาหาร
ข.
การแต่งตัว
ค.
การนอนมาก
ง.
การเมาสุรา
๔๐.
ข้อใด ไม่นับเข้าในข้อห้ามของอุโบสถศีลข้อที่ ๗ ?
ก.
ฟ้อนรำ
ข.
ขับร้อง
ค.
จับเงิน
ง.
แต่งตัว
๔๑.
การถืออุโบสถศีลข้อ ๘ บัญญัติไว้เพื่อจุดประสงค์ใด ?
ก.
ไม่เห็นแก่กิน
ข.
ไม่เห็นแก่นอน
ค.
ไม่เห็นแก่ตัว
ง.
ไม่เห็นแก่เล่น
๔๒.
พระพุทธเจ้า ทรงอนุญาตให้ผู้ถืออุโบสถศีลนั่งนอนในที่เช่นไร ?
ก.
สูงใหญ่
ข.
พอเหมาะ
ค.
หลากสี
ง.
ประหลาด
๔๓.
เรื่องภายนอกที่นำมาพูดในขณะถืออุโบสถศีล เรียกว่าอะไร ?
ก.
อนุปุพพีกถา
ข.
อริยมรรคกถา
ค.
ติรัจฉานกถา
ง.
อนุโมทนากถา
๔๔.
ในขณะถืออุโบสถศีล ผู้สมาทานควรปฏิบัติตนอย่างไร ?
ก.
นึกถึงองค์แห่งศีล
ข.
ทรมานตนให้ลำบาก
ค.
คลุกคลีอยู่ในกาม
ง.
พูดเรื่องทำมาหากิน
๔๕.
ข้อใด ไม่ใช่จุดประสงค์ของการถือศีลอุโบสถ ?
ก.
เพื่อผลประโยชน์
ข.
เพื่อสั่งสมบุญ
ค.
เพื่อฝึกในตัวเอง
ง.
เพื่อสงบจิตใจ
๔๖.
ความตั้งใจในการถืออุโบสถศีล มีอะไรเป็นเครื่องพิจารณา ?
ก.
ตั้งใจมาแต่บ้าน
ข.
ตั้งใจมาทำบุญ
ค.
ตั้งใจงดเว้นโทษ
ง.
ตั้งใจสวดมนต์
๔๗.
การรักษาอุโบสถศีลเช่นไร ชื่อว่ารักษาครบตามกาลที่กำหนด ?
ก.
เมื่อหิวข้าว
ข.
เมื่อเป็นไข้
ค.
เมื่อตายลง
ง.
เมื่อพ้นเวลา
๔๘.
การถืออุโบสถศีลด้วยจิตผ่องใส หากตายในขณะนั้นจะมีคติ
เช่นไร ?
ก.
เกิดในทุคติภูมิ
ข.
เกิดในสุคติภูมิ
ค.
เกิดในนรกภูมิ
ง.
เกิดในอบายภูมิ
๔๙.
การถืออุโบสถศีลจะได้รับผลมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับอะไร ?
ก.
การกระทำ
ข.
บุญบารมี
ค.
โชควาสนา
ง.
ชะตากรรม
๕๐.
อุโบสถศีลที่บุคคลรักษาดีแล้ว ย่อมได้รับผลสูงสุดคืออะไร ?
ก.
ทรัพยสมบัติ
ข.
มนุษยสมบัติ
ค.
สวรรคสมบัติ
ง.
นิพพานสมบัติ
เอกสารอ้างอิง
เรื่องสอบธรรม ของสนามหลวงแผนกธรรม พ.ศ.๒๕๕๑. หน้า ๒๐๐-๒๐๙.
ข้อสอบสนามหลวง
พ.ศ. ๒๕๔๖
พ.ศ. ๒๕๔๗
พ.ศ. ๒๕๔๘
พ.ศ. ๒๕๔๙
พ.ศ. ๒๕๕๐
พ.ศ. ๒๕๕๑
พ.ศ. ๒๕๕๒
พ.ศ. ๒๕๕๓
พ.ศ. ๒๕๕๔
พ.ศ. ๒๕๕๕
พ.ศ. ๒๕๕๖
พ.ศ. ๒๕๕๗
พ.ศ. ๒๕๕๘
พ.ศ. ๒๕๕๙
พ.ศ. ๒๕๖๐
พ.ศ. ๒๕๖๑
พ.ศ. ๒๕๖๒
พ.ศ. ๒๕๖๓
พ.ศ. ๒๕๖๔
พ.ศ. ๒๕๖๕
พ.ศ. ๒๕๖๖
พ.ศ. ๒๕๖๗
พ.ศ. ๒๕๖๘
พ.ศ. ๒๕๖๙
พ.ศ. ๒๕๗๐
พ.ศ. ๒๕๗๑
พ.ศ. ๒๕๗๒
พ.ศ. ๒๕๗๓
พ.ศ. ๒๕๗๔
พ.ศ. ๒๕๗๕
พ.ศ. ๒๕๗๖
พ.ศ. ๒๕๗๗
พ.ศ. ๒๕๗๘
พ.ศ. ๒๕๗๙
พ.ศ. ๒๕๘๐
พ.ศ. ๒๕๘๑
พ.ศ. ๒๕๘๒
พ.ศ. ๒๕๘๓
พ.ศ. ๒๕๘๔
พ.ศ. ๒๕๘๕
พ.ศ. ๒๕๘๖
พ.ศ. ๒๕๘๗
พ.ศ. ๒๕๘๘
พ.ศ. ๒๕๘๙
พ.ศ. ๒๕๙๐
พ.ศ. ๒๕๙๑
พ.ศ. ๒๕๙๒
พ.ศ. ๒๕๙๓
พ.ศ. ๒๕๙๔
พ.ศ. ๒๕๙๕
พ.ศ. ๒๕๙๖
พ.ศ. ๒๕๙๗
พ.ศ. ๒๕๙๘
พ.ศ. ๒๕๙๙
พ.ศ. ๒๖๐๐