ปัญหาและเฉลย
วิชาอุโบสถศีล (วินัย) ธรรมศึกษาชั้นโท
สอบในสนามหลวง
วันจันทร์ ที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
เวลา ๑๕.๐๐ - ๑๕.๕๐ น.
คำสั่ง :
จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว แล้วฝนลงในช่องของข้อ
ที่ต้องการในกระดาษคำตอบ ให้เวลา ๕๐ นาที (๑๐๐ คะแนน)
๑.
มนุษย์อยู่สงบสุขไม่เบียดเบียนกันทางกายวาจา เพราะมีข้อใด ?
ก.
ทาน
ข.
ศีล
ค.
สมาธิ
ง.
ปัญญา
๒.
ก่อนสมาทานศีล พึงเปล่งวาจาถึงสิ่งใดว่าเป็นสรณะ ?
ก.
พระรัตนตรัย
ข.
สิ่งศักดิ์สิทธิ์
ค.
พระพรหม
ง.
พระภูมิเจ้าที่
๓.
พระรัตนตรัยมีความสำคัญต่อชาวพุทธ เพราะเหตุใด ?
ก.
เป็นที่อ้อนวอน
ข.
เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์
ค.
เป็นที่พึ่งที่ระลึกทางใจ
ง.
เป็นที่พึ่งทางกาย
๔.
คำว่า พุทธะ มีความหมายตรงกับข้อใด ?
ก.
ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
ข.
ผู้เสด็จไปดีแล้ว
ค.
ผู้รู้แจ้งโลก
ง.
ผู้จำแนกธรรม
๕.
พระพุทธเจ้าทรงปลุกมนุษย์ให้ตื่นจากอะไร ?
ก.
กิเลส
ข.
กรรม
ค.
วิบาก
ง.
เวร
๖.
คำว่า สุคโต หมายถึงคุณของใคร ?
ก.
พระพุทธเจ้า
ข.
พระธรรม
ค.
พระสงฆ์
ง.
พระอรหันต์
๗.
คุณของพระสงฆ์ ตรงกับข้อใด ?
ก.
เป็นผู้จำแนกธรรม
ข.
เป็นผู้รู้แจ้งโลก
ค.
เป็นผู้ตื่น
ง.
เป็นผู้ปฏิบัติชอบ
๘.
สรณะ มีความหมายว่ากำจัดสิ่งใด ?
ก.
กำจัดภัย
ข.
กำจัดโรค
ค.
กำจัดศัตรู
ง.
กำจัดคู่แข่ง
๙.
ผู้ปฏิบัติตามพระธรรมย่อมได้รับผลเช่นใด ?
ก.
ไม่ตกอบาย
ข.
ไม่ตามคนชั่ว
ค.
ไม่ชดใช้กรรม
ง.
ไม่กลัวบาป
๑๐.
ในอุโบสถศีล สรณะ หมายถึงอะไร ?
ก.
พระรัตนตรัย
ข.
พระพุทธรูป
ค.
พระเจดีย์
ง.
พระคัมภีร์
๑๑.
พรหมายุพราหมณ์ ถึงพระรัตนตรัยว่าเป็นสรณะ ด้วยวิธีใด ?
ก.
สมาทาน
ข.
มอบตนเป็นสาวก
ค.
ทุ่มเทความเลื่อมใส
ง.
ปฏิบัติหน้าที่พุทธบริษัท
๑๒.
วิธีถึงสรณคมน์ที่มั่นคงที่สุด ตรงกับข้อใด ?
ก.
สมาทาน
ข.
มอบตนเป็นสาวก
ค.
ทุ่มเทความเลื่อมใส
ง.
ปฏิบัติหน้าที่พุทธบริษัท
๑๓.
การขาดสรณคมน์ในข้อใด ไม่มีโทษ ?
ก.
ตาย
ข.
ทำร้ายพระศาสดา
ค.
ไปนับถือศาสดาอื่น
ง.
ไม่มีข้อถูก
๑๔.
เพราะเหตุใด การขโมยพระพุทธรูป จึงทำให้สรณคมน์เศร้าหมอง ?
ก.
เพราะความไม่รู้
ข.
เพราะเข้าใจผิด
ค.
เพราะสงสัย
ง.
เพราะไม่เอื้อเฟื้อ
๑๕.
สรณคมน์เศร้าหมอง เพราะไม่เอื้อเฟื้อพระสงฆ์ ตรงกับข้อใด ?
ก.
ทำลายพระเจดีย์
ข.
ไม่สนใจฟังธรรม
ค.
ยุยงให้แตกแยก
ง.
ทำลายหนังสือธรรมะ
๑๖.
ผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ ย่อมไม่ไปเกิดในที่ใด ?
ก.
พรหม
ข.
สวรรค์
ค.
มนุษย์
ง.
อบายภูมิ
๑๗.
อุโบสถ แปลว่าอะไร ?
ก.
การเข้าจำ
ข.
การหยุดงาน
ค.
การเข้าวัด
ง.
การฟังธรรม
๑๘.
ข้อใด เป็นจุดมุ่งหมายของการรักษาอุโบสถศีล ?
ก.
เพื่อหยุดทำการงาน
ข.
เพื่อหาโอกาสพักผ่อน
ค.
เพื่อขัดเกลากิเลส
ง.
เพื่อหาโอกาสฟังธรรม
๑๙.
การรักษาอุโบสถ มีมาตั้งแต่เมื่อใด ?
ก.
ก่อนพุทธกาล
ข.
ต้นพุทธกาล
ค.
ระหว่างพุทธกาล
ง.
หลังพุทธกาล
๒๐.
การรักษาอุโบสถประเภทใด ใช้เวลานานที่สุด ?
ก.
ปกติอุโบสถ
ข.
ปฏิชาครอุโบสถ
ค.
ปาฏิหาริยอุโบสถ
ง.
อริยอุโบสถ
๒๑.
ในปัญจอุโปสถชาดก งูสมาทานอุโบสถเพื่อข่มกิเลสใด ?
ก.
ความรัก
ข.
ความโลภ
ค.
ความโกรธ
ง.
ความหลง
๒๒.
การรักษาอุโบสถศีลประเภทใด ถือเวลาเป็นเกณฑ์ ?
ก.
ปกติอุโบสถ
ข.
โคปาลกอุโบสถ
ค.
นิคคัณฐอุโบสถ
ง.
อริยอุโบสถ
๒๓.
ผู้รักษาอุโบสถศีล พึงปฏิบัติตนอย่างไร ?
ก.
นั่งสมาธิ
ข.
ฟังเทศน์
ค.
สวดมนต์
ง.
ถูกทุกข้อ
๒๔.
การล่วงอุโบสถศีล เกิดขึ้นได้ทางทวารใด ?
ก.
กาย
ข.
วาจา
ค.
กายกับวาจา
ง.
กายกับใจ
๒๕.
อุโบสถศีล มีกี่สิกขาบท ?
ก.
๕ สิกขาบท
ข.
๘ สิกขาบท
ค.
๑๐ สิกขาบท
ง.
๓๑๑ สิกขาบท
๒๖.
อุโบสถประเภทใด รักษาเฉพาะวันหนึ่งคืนหนึ่ง ?
ก.
ปาฏิหาริยอุโบสถ
ข.
ปฏิชาครอุโบสถ
ค.
ปกติอุโบสถ
ง.
สามัคคีอุโบสถ
๒๗.
อุโบสถกึ่งหนึ่ง หมายถึงอะไร ?
ก.
รักษาศีลครึ่งวัน
ข.
รักษาศีลวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง
ค.
รักษาศีลวันรับและวันส่ง
ง.
รักษาศีลครบ ๓ วัน
๒๘.
อุโบสถชนิดใด มีอานิสงส์สูงสุด ?
ก.
นิคคัณฐอุโบสถ
ข.
โคปาลกอุโบสถ
ค.
อริยอุโบสถ
ง.
สามัคคีอุโบสถ
๒๙.
โบราณกบัณฑิตรักษาอุโบสถ เพื่อจุดประสงค์ใด ?
ก.
ปลีกวิเวก
ข.
ข่มกิเลส
ค.
ทรมานกาย
ง.
หนีความวุ่นวาย
๓๐.
มานะนี้ของเรา เมื่อเจริญขึ้นมีแต่จะนำไปสู่นรก เป็นความคิดของใคร
ในปัญจอุโบสถชาดก ?
ก.
งู
ข.
สุนัขจิ้งจอก
ค.
หมี
ง.
ฤาษี
๓๑.
คำว่า ปาณะ ในปาณาติบาตนั้น ตรงกับข้อใด ?
ก.
สัตว์
ข.
เทวดา
ค.
เปรต
ง.
อสูรกาย
๓๒.
อุโบสถศีลข้อที่ ๑ ขาดลง เพราะองค์แห่งศีลข้อใด ?
ก.
สัตว์มีชีวิต
ข.
จิตคิดจะฆ่า
ค.
มีความพยายาม
ง.
สัตว์ตายด้วยพยายาม
๓๓.
อุโบสถประเภทใด นิยมรักษากันมากที่สุด ?
ก.
ปกติอุโบสถ
ข.
ปฏิชาครอุโบสถ
ค.
ปาฏิหาริยอุโบสถ
ง.
นิคคัณฐอุโบสถ
๓๔.
โทษของการล่วงละเมิดศีลข้อที่ 1 ตรงกับข้อใด ?
ก.
เสียสติ
ข.
อายุสั้น
ค.
ยากจน
ง.
คนนินทา
๓๕.
เจตนาล่วงละเมิดอุโบสถศีลข้อที่ ๒ ตรงกับข้อใด ?
ก.
ทำสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป
ข.
ถือเอาทรัพย์ที่เขาไม่ได้ให้
ค.
ละเมิดคู่ครองคนอื่น
ง.
พูดให้ผู้อื่นเสียประโยชน์
๓๖.
สิกขาบทที่ ๒ แห่งอุโบสถศีล มีคำกล่าวอย่างไร ?
ก.
ปาณาติปาตา เวรมณี
ข.
อทินนาทานา เวรมณี
ค.
อพฺรหฺมจริยา เวรมณี
ง.
มุสาวาทา เวรมณี
๓๗.
การล่วงละเมิดอุโบสถศีลข้อที่ ๒ มีโทษอย่างไร ?
ก.
เสียสติ
ข.
อายุสั้น
ค.
ยากจน
ง.
คนนินทา
๓๘.
อุโบสถศีลข้อที่ ๓ มุ่งให้คนละกิเลสข้อใด ?
ก.
มานะ
ข.
ราคะ
ค.
โทสะ
ง.
ทิฏฐิ
๓๙.
การล่วงละเมิดอุโบสถศีลข้อที่ ๔ เกิดขึ้นได้ทางใด ?
ก.
กายกับวาจา
ข.
กายกับใจ
ค.
วาจากับใจ
ง.
กายวาจาและใจ
๔๐.
การล่วงละเมิดอุโบสถศีลข้อที่ ๔ มีโทษอย่างไร ?
ก.
เสียสติ
ข.
ขาดคนเชื่อถือ
ค.
ถูกทำร้าย
ง.
คนคิดปองร้าย
๔๑.
เครื่องดื่มต้องห้ามในอุโบสถศีลข้อที่ ๕ ตรงกับข้อใด ?
ก.
กาแฟ
ข.
เมรัย
ค.
น้ำชา
ง.
น้ำอัดลม
๔๒.
การรักษาอุโบสถศีลข้อที่ ๕ มุ่งถึงประโยชน์เรื่องใด ?
ก.
ความสามัคคี
ข.
ความสัตย์
ค.
ความไม่ประมาท
ง.
ความมีน้ำใจ
๔๓.
อุโบสถศีลข้อที่ ๖ ไม่ให้ทำเรื่องใดในเวลาวิกาล ?
ก.
ประพฤติผิดพรหมจรรย์
ข.
กินของขบเคี้ยว
ค.
ประดับตกแต่งกาย
ง.
นอนที่นอนสูงใหญ่
๔๔.
การรักษาอุโบสถศีลข้อที่ ๖ เพื่อบรรเทากิเลสข้อใด ?
ก.
วิจิกิจฉา
ข.
กามราคะ
ค.
พยาบาท
ง.
มานะ ทิฏฐิ
๔๕.
ผู้รักษาอุโบสถศีล ต้องเว้นการดูการละเล่น เพราะเหตุใด ?
ก.
เป็นข้าศึกแก่ฌาน
ข.
เป็นข้าศึกแก่สมาบัติ
ค.
เป็นข้าศึกแก่กุศล
ง.
เป็นข้าศึกแก่อกุศล
๔๖.
การไล้ทาของหอมเพื่อจุดมุ่งหมายใด ได้ชื่อว่าไม่ล่วงละเมิดอุโบสถ
ข้อที่ ๗ ?
ก.
เพื่อรักษาโรค
ข.
เพื่อให้มีกลิ่นหอม
ค.
เพื่อให้สวยงาม
ง.
เพื่อให้สบายตัว
๔๗.
การงดเว้นการนอนบทที่นอนสูงใหญ่ มุ่งบรรเทากิเลสใด ?
ก.
ความเห็นแก่ตัว
ข.
ความอาฆาตพยาบาท
ค.
ความลุ่มหลงงมงาย
ง.
ความกำหนัดยินดี
๔๘.
ข้อว่า ศีลสามารถสร้างสวรรค์แก่มนุษย์ได้ ในวิสาขาสูตร
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสแก่ใคร ?
ก.
นางสุชาดา
ข.
นางสามาวดี
ค.
นางวิสาขา
ง.
นางสุธัมมา
๔๙.
เรื่องภายนอกที่ไม่ควรนำมาพูดในขณะถืออุโบสถศีล คืออะไร ?
ก.
อนุปุพพีกถา
ข.
ติรัจฉานกถา
ค.
สัมโมทนียกถา
ง.
อริยวงศ์กถา
๕๐.
อุโบสถศีลที่รักษาดีแล้ว ย่อมให้อานิสงส์แก่มนุษย์อย่างไร ?
ก.
ให้บังเกิดในสวรรค์
ข.
ให้มีความเสมอภาคกัน
ค.
ให้มีความปลอดภัย
ง.
ถูกทุกข้อ
เอกสารอ้างอิง
เรื่องสอบธรรม ของสนามหลวงแผนกธรรม พ.ศ.๒๕๕๕. หน้า ๒๖๐-๒๗๐.
ข้อสอบสนามหลวง
พ.ศ. ๒๕๔๖
พ.ศ. ๒๕๔๗
พ.ศ. ๒๕๔๘
พ.ศ. ๒๕๔๙
พ.ศ. ๒๕๕๐
พ.ศ. ๒๕๕๑
พ.ศ. ๒๕๕๒
พ.ศ. ๒๕๕๓
พ.ศ. ๒๕๕๔
พ.ศ. ๒๕๕๕
พ.ศ. ๒๕๕๖
พ.ศ. ๒๕๕๗
พ.ศ. ๒๕๕๘
พ.ศ. ๒๕๕๙
พ.ศ. ๒๕๖๐
พ.ศ. ๒๕๖๑
พ.ศ. ๒๕๖๒
พ.ศ. ๒๕๖๓
พ.ศ. ๒๕๖๔
พ.ศ. ๒๕๖๕
พ.ศ. ๒๕๖๖
พ.ศ. ๒๕๖๗
พ.ศ. ๒๕๖๘
พ.ศ. ๒๕๖๙
พ.ศ. ๒๕๗๐
พ.ศ. ๒๕๗๑
พ.ศ. ๒๕๗๒
พ.ศ. ๒๕๗๓
พ.ศ. ๒๕๗๔
พ.ศ. ๒๕๗๕
พ.ศ. ๒๕๗๖
พ.ศ. ๒๕๗๗
พ.ศ. ๒๕๗๘
พ.ศ. ๒๕๗๙
พ.ศ. ๒๕๘๐
พ.ศ. ๒๕๘๑
พ.ศ. ๒๕๘๒
พ.ศ. ๒๕๘๓
พ.ศ. ๒๕๘๔
พ.ศ. ๒๕๘๕
พ.ศ. ๒๕๘๖
พ.ศ. ๒๕๘๗
พ.ศ. ๒๕๘๘
พ.ศ. ๒๕๘๙
พ.ศ. ๒๕๙๐
พ.ศ. ๒๕๙๑
พ.ศ. ๒๕๙๒
พ.ศ. ๒๕๙๓
พ.ศ. ๒๕๙๔
พ.ศ. ๒๕๙๕
พ.ศ. ๒๕๙๖
พ.ศ. ๒๕๙๗
พ.ศ. ๒๕๙๘
พ.ศ. ๒๕๙๙
พ.ศ. ๒๖๐๐