ปัญหาและเฉลย
วิชาอุโบสถศีล (วินัย) ธรรมศึกษาชั้นโท
สอบในสนามหลวง
วันศุกร์ ที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
เวลา ๑๕.๐๐ - ๑๕.๕๐ น.
คำสั่ง :
จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว แล้วฝนลงในช่องของข้อ
ที่ต้องการในกระดาษคำตอบ ให้เวลา ๕๐ นาที (๑๐๐ คะแนน)
๑.
คุณธรรมใด เป็นพื้นฐานรองรับกุศลธรรมชั้นสูง ?
ก.
ทาน
ข.
ศีล
ค.
สมาธิ
ง.
ปัญญา
๒.
ข้อใด เป็นเป้าหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา ?
ก.
ฌาน
ข.
มรรค
ค.
ผล
ง.
นิพพาน
๓.
การรักษาศีลเพื่อเป้าหมายสูงสุดทางพระพุทธศาสนา ตรงกับ
ข้อใด ?
ก.
โสดาปัตติผล
ข.
สกทาคามิผล
ค.
อนาคามิผล
ง.
อรหัตตผล
๔.
ข้อใด เป็นการรักษาศีลให้เกิดความเรียบร้อยทางกาย ?
ก.
คิดดี
ข.
พูดดี
ค.
ทำดี
ง.
ใจดี
๕.
ข้อใด เป็นสรณะสูงสุดของพุทธบริษัท ?
ก.
สิ่งศักดิ์สิทธิ์
ข.
พระพรหม
ค.
พระภูมิเจ้าที่
ง.
พระรัตนตรัย
๖.
ผู้รักษาอุโบสถศีล เป็นเหตุให้เกิดความบริสุทธิ์ทางใด ?
ก.
กาย วาจา
ข.
กาย ใจ
ค.
วาจา ใจ
ง.
กาย วาจา ใจ
๗.
คำว่า
พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ
พระพุทธเจ้าตรัสเน้นเรื่องใด ?
ก.
การบรรพชาอุปสมบท
ข.
แสดงตนเป็นพุทธมามกะ
ค.
การรักษาอุโบสถศีล
ง.
การถึงสรณคมน์
๘.
คำว่า
พุทธะ
แปลว่า ผู้รู้ ได้แก่รู้อะไร ?
ก.
อริยสัจ
ข.
อริยศีล
ค.
อริยทรัพย์
ง.
อริยอุโบสถ
๙.
พระธรรม ย่อมรักษาผู้ปฏิบัติไม่ให้ตกไปในที่เช่นใด ?
ก.
อบาย
ข.
มนุษยโลก
ค.
เทวโลก
ง.
พรหมโลก
๑๐.
คุณธรรมใด ทำให้พระสงฆ์มีความเสมอภาคกัน ?
ก.
ทิฏฐิ ศีล
ข.
เมตตา กรุณา
ค.
สติ สัมปชัญญะ
ง.
หิริ โอตตัปปะ
๑๑.
ผู้เข้าถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ ต้องปฏิบัติตามข้อใด ?
ก.
คำสอน
ข.
ความเชื่อ
ค.
ค่านิยม
ง.
ความพึงพอใจ
๑๒.
ข้อใด กล่าวถึงพระรัตนตรัยได้ถูกต้อง ?
ก.
เป็นที่พึ่งอันสูงสุด
ข.
เป็นที่บันดาลทุกสิ่ง
ค.
เป็นที่ชำระบาป
ง.
เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์
๑๓.
วิธีใด เป็นการเข้าถึงพระรัตนตรัยอย่างมั่นคงที่สุด ?
ก.
สมาทานตนเป็นสาวก
ข.
มอบตนเป็นสาวก
ค.
ทุ่มเทความเลื่อมใส
ง.
ทำหน้าที่ชาวพุทธ
๑๔.
คำว่า นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส กล่าว
นอบน้อมใคร ?
ก.
พระรัตนตรัย
ข.
พระพุทธเจ้า
ค.
พระธรรม
ง.
พระสงฆ์
๑๕.
พระสงฆ์ ได้ชื่อว่าเป็นสรณะ เพราะเหตุใด ?
ก.
กำจัดภัย
ข.
ไม่ให้ตกไปในอบาย
ค.
เป็นนาบุญของโลก
ง.
กำจัดกิเลส
๑๖.
ข้อใด เป็นเหตุให้สรณคมน์เศร้าหมอง ?
ก.
ทำร้ายพระศาสดา
ข.
นับถือศาสดาอื่น
ค.
ตาย
ง.
ทำลายพระเจดีย์
๑๗.
ข้อใด เป็นเหตุให้สรณคมน์ขาด ?
ก.
นับถือศาสดาอื่น
ข.
ขโมยพระพุทธรูป
ค.
ทำลายคัมภีร์พระธรรม
ง.
ให้ร้ายพระรัตนตรัย
๑๘.
ข้อใด ไม่ใช่สาเหตุทำให้สรณคมน์เศร้าหมอง ?
ก.
สงสัยในพระพุทธเจ้า
ข.
สงสัยในการทำดีได้ดี
ค.
สงสัยในพระสงฆ์
ง.
สงสัยในพญานาค
๑๙.
ไม่เรียนพระธรรมแต่นำไปสอนอย่างผิด ๆ เป็นความเศร้าหมอง
ของสรณคมน์ เรื่องใด ?
ก.
ความไม่รู้
ข.
ความรู้ผิด
ค.
ความสงสัย
ง.
ความไม่เอื้อเฟื้อ
๒๐.
การเข้าถึงสรณคมน์ของบุคคลใด มีความมั่นคงน้อยที่สุด ?
ก.
ปุถุชน
ข.
พระโสดาบัน
ค.
พระสกทาคามี
ง.
พระอรหันต์
๒๑.
พระสงฆ์ในข้อใด เปรียบเหมือนคนเดินทางถึงที่หมายแล้ว ?
ก.
สมมติสงฆ์
ข.
สาวกสงฆ์
ค.
อริยสงฆ์
ง.
ภิกษุสงฆ์
๒๒.
ศีลขั้นสูงสำหรับคฤหัสถ์ เรียกว่าอะไร ?
ก.
นิจศีล
ข.
อุโบสถศีล
ค.
จุลศีล
ง.
ปาติโมกขสังวรศีล
๒๓.
อุโบสถ แปลว่าอะไร ?
ก.
การเข้าจำ
ข.
การอดอาหาร
ค.
การปฏิบัติธรรม
ง.
การจำพรรษา
๒๔.
อุโบสถศีล มีทั้งหมดกี่สิกขาบท ?
ก.
๕ สิกขาบท
ข.
๘ สิกขาบท
ค.
๑๐ สิกขาบท
ง.
๒๒๗ สิกขาบท
๒๕.
ข้อใด เกี่ยวข้องกับอุโบสถนอกพระพุทธศาสนา ?
ก.
การอดอาหาร
ข.
การถึงสรณคมน์
ค.
การรักษาศีล
ง.
การสมาทานองค์อุโบสถ
๒๖.
ข้อใด เป็นวันรักษาปกติอุโบสถ ?
ก.
แรม ๑ ค่ำ
ข.
แรม ๗ ค่ำ
ค.
แรม ๑๕ ค่ำ
ง.
แรม ๙ ค่ำ
๒๗.
ปฏิชาครอุโบสถ กำหนดให้สมาทานรักษานานเท่าไร ?
ก.
คราวละ ๑ วัน
ข.
คราวละ ๓ วัน
ค.
คราวละ ๓ เดือน
ง.
คราวละ ๔ เดือน
๒๘.
ปกติอุโบสถกับปฏิชาครอุโบสถ มีความต่างกันในเรื่องใด ?
ก.
วันเวลาที่รักษา
ข.
วิธีรักษา
ค.
คำประกาศ
ง.
คำอาราธนา
๒๙.
ในปัญจอุโบสถชาดก ฤาษีรักษาอุโบสถเพื่อข่มอะไร ?
ก.
ตัณหา
ข.
มานะ
ค.
ทิฏฐิ
ง.
อิสสา
๓๐.
ในปัญจอุโบสถชาดกกล่าวว่า ทุกข์ภัยอันตรายที่เกิดแก่มนุษย์
เพราะขาดอะไร ?
ก.
ศีลธรรม
ข.
ครุธรรม
ค.
วุฑฒิธรรม
ง.
โลกธรรม
๓๑.
องค์แห่งอุโบสถศีลข้อที่ ๑ ขาด เพราะความพยายามใด ?
ก.
พยายามฆ่า
ข.
พยายามลัก
ค.
พยายามเสพ
ง.
พยายามดื่ม
๓๒.
อุโบสถศีลข้อใด ขาดเพราะมีเจตนาล่วงละเมิดด้วยตนเองและ
ใช้ผู้อื่น ?
ก.
อทินนาทาน
ข.
อพรหมจรรย์
ค.
มุสาวาท
ง.
สุราเมรัย
๓๓.
อุโบสถศีลข้อที่ ๓ บัญญัติขึ้นเพื่อระงับกิเลสใด ?
ก.
โลภะ
ข.
โทสะ
ค.
โมหะ
ง.
ราคะ
๓๔.
อุโบสถศีลข้อที่ ๓ เป็นข้อห้ามเกี่ยวข้องกับทวารใด ?
ก.
กายทวาร
ข.
วจีทวาร
ค.
มโนทวาร
ง.
ไตรทวาร
๓๕.
สร้างเรื่องให้คนอื่นเข้าใจผิด ชื่อว่าล่วงละเมิดอุโบสถศีลข้อใด ?
ก.
ปาณาติบาต
ข.
อพรหมจรรย์
ค.
มุสาวาท
ง.
วิกาลโภชนา
๓๖.
องค์แห่งมุสาวาทข้อใด เป็นเหตุให้อุโบสถศีลขาด ?
ก.
เรื่องไม่จริง
ข.
จิตคิดจะพูดให้ผิด
ค.
พยายามพูด
ง.
คนอื่นเข้าใจเนื้อความนั้น
๓๗.
ข้อใด เป็นองค์แห่งอุโบสถศีลข้อที่ ๕ ?
ก.
จิตคิดจะฆ่า
ข.
จิตคิดจะลัก
ค.
จิตคิดจะพูดให้ผิด
ง.
จิตคิดจะดื่ม
๓๘.
ผู้สมาทานรักษาอุโบสถศีลข้อที่ ๕ ต้องเว้นเครื่องดื่มชนิดใด ?
ก.
เบียร์
ข.
น้ำอัดลม
ค.
น้ำชา
ง.
กาแฟ
๓๙.
สิกขาบทที่ ๖ แห่งอุโบสถศีล มีคำกล่าวอย่างไร ?
ก.
ปาณาติปาตา เวรมณี
ข.
อพฺรหฺมจริยา เวรมณี
ค.
มุสาวาทา เวรมณี
ง.
วิกาลโภชนา เวรมณี
๔๐.
อุโบสถศีลข้อที่ ๗ กำหนดให้ผู้สมาทานรักษา ต้องเว้นเรื่องใด ?
ก.
ฆ่าสัตว์
ข.
ลักทรัพย์
ค.
แต่งตัว
ง.
ดื่มสุรา
๔๑.
อุโบสถศีลข้อที่ ๘ มีความเกี่ยวข้องกับอิริยาบถใด ?
ก.
ยืน เดิน
ข.
เดิน นั่ง
ค.
นั่ง นอน
ง.
นอน ยืน
๔๒.
ผู้รักษาอุโบสถศีลข้อที่ ๘ ไม่ควรทำกิริยาใด ?
ก.
ยืนบนที่นอนใหญ่
ข.
เดินบนตั่งมีเท้าสูง
ค.
นั่งบนผ้าขาว
ง.
นอนบนเครื่องลาดอันวิจิตร
๔๓.
พิธีรักษาอุโบสถศีล ผู้สมาทานควรทำสิ่งใดก่อน ?
ก.
กล่าวคำบูชาพระรัตนตรัย
ข.
ประกาศอุโบสถ
ค.
กล่าวคำอาราธนาศีล
ง.
รับไตรสรณคมน์
๔๔.
ผู้รักษาอุโบสถศีล ควรระลึกถึงสิ่งใด ?
ก.
พระรัตนตรัย
ข.
ลูกหลาน
ค.
หน้าที่การงาน
ง.
ทรัพย์สมบัติ
๔๕.
การรักษาอุโบสถศีลจะมีอานิสงส์มาก เพราะอาศัยคุณธรรมใด ?
ก.
อิทธิบาท ๔
ข.
ฆราวาสธรรม ๔
ค.
อริยสัจ ๔
ง.
จักร ๔
๔๖.
คำสรุปศีลที่ว่า สีเลน นิพฺพุตึ ยนฺติ แสดงถึงอานิสงส์ที่ให้
สมบัติใด ?
ก.
มนุษย์สมบัติ
ข.
สวรรค์สมบัติ
ค.
นิพพานสมบัติ
ง.
ทรัพย์สมบัติ
๔๗.
การรักษาศีลเป็นเหตุให้ถึงพร้อมด้วยโภคสมบัติ ตรงกับข้อใด ?
ก.
สีเลน สุคตึ ยนฺติ
ข.
สีเลน โภคสมฺปทา
ค.
สีเลน นิพฺพุตึ ยนฺติ
ง.
ตสฺมา สีลํ วิโสธเย
๔๘.
เหตุใด ผู้รักษาอุโบสถศีลจึงปรารถนานิพพานสมบัติ ?
ก.
เป็นเป้าหมายสูงสุดใน
พระพุทธศาสนา
ข.
เป็นสมบัติที่ทุกคนอยากเห็น
ค.
เป็นอานิสงส์ของอุโบสถศีล
ง.
เป็นความนิยมของชาวพุทธ
๔๙.
เมื่อสิ้นสุดการรักษาอุโบสถศีลแล้ว ควรปฏิบัติตนอย่างไร ?
ก.
สมาทานรักษาศีล ๕
ข.
พักผ่อนตามอัธยาศัย
ค.
จัดแจงการงานให้ดี
ง.
ดำเนินชีวิตตามปกติ
๕๐.
ผู้รักษาอุโบสถศีล ย่อมได้รับอานิสงส์อย่างไร ?
ก.
บังเกิดในสวรรค์
ข.
มีความสุข
ค.
ปลอดภัยในชีวิต
ง.
ถูกทุกข้อ
เอกสารอ้างอิง
เรื่องสอบธรรม ของสนามหลวงแผนกธรรม พ.ศ.๒๕๕๔. หน้า ๒๖๗-๒๗๗.
ข้อสอบสนามหลวง
พ.ศ. ๒๕๔๖
พ.ศ. ๒๕๔๗
พ.ศ. ๒๕๔๘
พ.ศ. ๒๕๔๙
พ.ศ. ๒๕๕๐
พ.ศ. ๒๕๕๑
พ.ศ. ๒๕๕๒
พ.ศ. ๒๕๕๓
พ.ศ. ๒๕๕๔
พ.ศ. ๒๕๕๕
พ.ศ. ๒๕๕๖
พ.ศ. ๒๕๕๗
พ.ศ. ๒๕๕๘
พ.ศ. ๒๕๕๙
พ.ศ. ๒๕๖๐
พ.ศ. ๒๕๖๑
พ.ศ. ๒๕๖๒
พ.ศ. ๒๕๖๓
พ.ศ. ๒๕๖๔
พ.ศ. ๒๕๖๕
พ.ศ. ๒๕๖๖
พ.ศ. ๒๕๖๗
พ.ศ. ๒๕๖๘
พ.ศ. ๒๕๖๙
พ.ศ. ๒๕๗๐
พ.ศ. ๒๕๗๑
พ.ศ. ๒๕๗๒
พ.ศ. ๒๕๗๓
พ.ศ. ๒๕๗๔
พ.ศ. ๒๕๗๕
พ.ศ. ๒๕๗๖
พ.ศ. ๒๕๗๗
พ.ศ. ๒๕๗๘
พ.ศ. ๒๕๗๙
พ.ศ. ๒๕๘๐
พ.ศ. ๒๕๘๑
พ.ศ. ๒๕๘๒
พ.ศ. ๒๕๘๓
พ.ศ. ๒๕๘๔
พ.ศ. ๒๕๘๕
พ.ศ. ๒๕๘๖
พ.ศ. ๒๕๘๗
พ.ศ. ๒๕๘๘
พ.ศ. ๒๕๘๙
พ.ศ. ๒๕๙๐
พ.ศ. ๒๕๙๑
พ.ศ. ๒๕๙๒
พ.ศ. ๒๕๙๓
พ.ศ. ๒๕๙๔
พ.ศ. ๒๕๙๕
พ.ศ. ๒๕๙๖
พ.ศ. ๒๕๙๗
พ.ศ. ๒๕๙๘
พ.ศ. ๒๕๙๙
พ.ศ. ๒๖๐๐