ปัญหาและเฉลย
วิชาธรรม ธรรมศึกษาชั้นโท
สอบในสนามหลวง
วันจันทร์ ที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘
เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๓.๕๐ น.
คำสั่ง :
จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว แล้วกากบาทลงในช่องของข้อ
ที่ต้องการในกระดาษคำตอบ ให้เวลา ๕๐ นาที (๑๐๐ คะแนน)
๑.
ผู้หมั่นเจริญกัมมัฏฐาน ย่อมได้รับประโยชน์อย่างไร ?
ก.
มีสุขภาพดี
ข.
ทำงานอย่างมีสติ
ค.
นอนหลับง่าย
ง.
ผิวพรรณผ่องใส
๒.
ผู้เริ่มเจริญกัมมัฏฐาน ควรเลือกสถานที่เช่นไร ?
ก.
ในอุโบสถ
ข.
ป่าช้า
ค.
ที่สงบเงียบ
ง.
ที่ใดก็ได้
๓.
ข้อใดเป็นอาการเบื้องต้นในการเจริญอานาปานสติ ?
ก.
นั่งกายตรงกำหนดลม
ข.
นั่งกายตรงภาวนา “พุทโธ”
ค.
นั่งกายตรงพิจารณาลม
ง.
นั่งกายตรงดำรงสติมั่น
๔.
ผลของการเจริญวิปัสสนาเบื้องต้นคืออะไร ?
ก.
จิตผ่องใส
ข.
ความจำดี
ค.
มีเหตุผล
ง.
รู้อดีตอนาคต
๕.
การเจริญวิปัสสนา เป็นเหตุให้รู้แจ้งอะไร ?
ก.
สภาวธรรม
ข.
คำสั่งสอน
ค.
อภิญญา
ง.
ไตรเพท
๖.
ผลสูงสุดแห่งการเจริญวิปัสสนา คือข้อใด ?
ก.
ละนิวรณ์ได้
ข.
ละกามคุณได้
ค.
ละความยึดมั่นได้
ง.
สำเร็จเป็นพระโสดาบัน
๗.
สิ่งที่ทำให้สัตว์ต้องข้องอยู่ในโลก เรียกว่าอะไร ?
ก.
กาม
ข.
กิเลส
ค.
ภพ
ง.
ชาติ
๘.
ข้อใด ไม่ใช่กิเลสกาม ?
ก.
ราคะ
ข.
โทสะ
ค.
อิจฉา
ง.
อิสสา
๙.
ข้อใด เป็นปฏิบัติบูชาแท้จริง ?
ก.
ตักบาตรทุกเช้า
ข.
ถวายสังฆทานทุกวัน
ค.
ฟังเทศน์เป็นประจำ
ง.
ทำความดีตลอดเวลา
๑๐.
คำว่า “
ทำให้ชีวิตก้าวหน้า พาไปสู่สวรรค์ ป้องกันภัยพิบัติ
กำจัดสรรพกิเลส
” เป็นอานิสงส์ของข้อใด ?
ก.
กัมมัฏฐาน
ข.
ทาน
ค.
ศีล
ง.
บูชา
๑๑.
ผู้มีปฏิสันถารดี ย่อมมีบุคลิกภาพเช่นไร ?
ก.
ต้อนรับด้วยอาหารน้ำดื่ม
ข.
กล่าวธรรมให้ฟัง
ค.
ใจเย็น หน้ายิ้ม อารมณ์ดี
ง.
หัวเราะอยู่เสมอ
๑๒.
ผู้ทำการต้อนรับในข้อใด ชื่อว่าปฏิบัติธรรมปฏิสันถาร ?
ก.
ต้อนรับด้วยอาหารน้ำดื่มเป็นต้น
ข.
ต้อนรับตามสมควรแก่ฐานะ
ค.
ต้อนรับโดยการแนะนำ
ประโยชน์ให้
ง.
ข้อ ข. และข้อ ค. ถูก
๑๓.
เจตสิกสุข คือสุขทางใจ มีลักษณะเช่นไร ?
ก.
สุขเพราะได้ลาภลอย
ข.
สุขเพราะได้รับมรดก
ค.
สุขเพราะได้เลื่อนยศ
ง.
สุขเพราะไม่ถูกกิเลสครอบงำ
๑๔.
คนถูกกามวิตกครอบงำ มักมีพฤติกรรมเช่นไร ?
ก.
อยากได้ของคนอื่น
ข.
ถ่ายรูปอนาจาร
ค.
วางแผนต้มตุ๋น
ง.
ถูกทุกข้อ
๑๕.
พฤติกรรมฆ่ารายวัน สงเคราะห์เข้าในอกุศลวิตกใด ?
ก.
กามวิตก
ข.
พยาบาทวิตก
ค.
วิหิงสาวิตก
ง.
ข้อ ข.และข้อ ค.ถูก
๑๖.
ความดำริในเรื่อง “
สมานฉันท์
” จัดเป็นกุศลวิตกใด ?
ก.
เนกขัมมวิตก
ข.
อัพยาบาทวิตก
ค.
อวิหิงสาวิตก
ง.
ถูกทุกข้อ
๑๗.
ความดำริให้อภัยมีเมตตาไม่เบียดเบียนกัน เป็นกุศลวิตกใด ?
ก.
เนกขัมมวิตก
ข.
อัพยาบาทวิตก
ค.
อวิหิงสาวิตก
ง.
ข้อ ข. และข้อ ค. ถูก
๑๘.
ผู้มีพฤติกรรมเช่นใด ชื่อว่าถูกไฟคือโมหะแผดเผา ?
ก.
ข่มขืนแล้วฆ่า
ข.
หงุดหงิดฉุนเฉียว
ค.
ยกพวกตีกัน
ง.
ไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ขอหวย
๑๙.
เหตุใด ราคะ โทสะ โมหะ จึงเรียกว่าไฟ ?
ก.
เพราะทำให้เครียด
ข.
เพราะทำให้ใจเร่าร้อน
ค.
เพราะทำให้กายร้อน
ง.
เพราะทำให้เกิดโรค
๒๐.
ประชาธิปไตยจะสมบูรณ์ ต้องมีธรรมอะไรเป็นพื้นฐาน ?
ก.
อัตตาธิปเตยยะ
ข.
โลกาธิปเตยยะ
ค.
ธัมมาธิปเตยยะ
ง.
ข้อ ข. และข้อ ค.รวมกัน
๒๑.
เผด็จการทุกรูปแบบ ตรงกันข้ามกับอธิปเตยยะใด ?
ก.
อัตตาธิปเตยยะ
ข.
โลกาธิปเตยยะ
ค.
ธัมมาธิปเตยยะ
ง.
ถูกทุกข้อ
๒๒.
“
แย่งอาหารกันกิน แย่งถิ่นกันอยู่ แย่งคู่กันพิศวาส
แย่งอำนาจกันครอง
” จัดเป็นตัณหาอะไร ?
ก.
กามตัณหา
ข.
ภวตัณหา
ค.
วิภวตัณหา
ง.
กามตัณหาและภวตัณหา
๒๓.
ความอยากได้อิฏฐารมณ์ เรียกว่าอะไร ?
ก.
กามตัณหา
ข.
ภวตัณหา
ค.
วิภวตัณหา
ง.
กิเลสตัณหา
๒๔.
ปฏิบัติอย่างไร ชื่อว่าปฏิบัติครบทั้ง ๓ ปิฎก ?
ก.
รักษากายไม่ให้วิปริต
ข.
รักษาจิตอย่าให้วิปลาส
ค.
วาจามีศีลสุขล้ำ
ง.
ทั้ง ๓ ข้อรวมกัน
๒๕.
วัฏฏะ วนหรือหมุน หมายเอาอาการเช่นไร ?
ก.
การหมุนไปแห่งธรรม
ข.
การเวียนศพรอบเมรุ
ค.
การแก่ เจ็บ ตาย
ง.
การเวียนว่ายตายเกิด
๒๖.
“
กรรมใดใครก่อ กรรมนั้นย่อมตามสนอง
” ตรงกับวัฏฏะข้อใด ?
ก.
กิเลส
ข.
กรรม
ค.
วิบาก
ง.
สงสาร
๒๗.
ผู้ถือว่า “
แมว ๕ หมา ๖
” เลี้ยงไว้เป็นอัปมงคล ต้องนำไปปล่อยวัด
จัดเป็นคนจริตอะไร ?
ก.
สัทธาจริต
ข.
โมหจริต
ค.
พุทธิจริต
ง.
ราคจริต
๒๘.
ข้อใด เป็นความหมายที่แท้จริงของสิกขา ๓ ?
ก.
การศึกษาเล่าเรียนทั่วไป
ข.
การเรียนพระพุทธพจน์
ค.
การฝึกฝนพัฒนา
ง.
การท่องจำพระไตรปิฎกได้
๒๙.
สาระสำคัญของการศึกษาสิกขา ๓ คืออะไร ?
ก.
ทำให้เป็นมนุษย์สมบูรณ์
ข.
ทำให้โลกสงบร่มเย็น
ค.
ทำให้โลกเจริญก้าวหน้า
ง.
ทำให้โลกทันสมัย
๓๐.
เหตุใด คนสมัยนี้จึงคอร์รัปชั่นมากขึ้นทุกวัน ?
ก.
เพราะกิเลสมาก
ข.
เพราะบาปมาก
ค.
เพราะตัณหามาก
ง.
เพราะโลภมาก
๓๑.
พิจารณาแล้วอดกลั้น ตรงกับข้อใด ?
ก.
งดเหล้าเข้าพรรษา
ข.
เดินตามหลังผู้ใหญ่หมาไม่กัด
ค.
อดเปรี้ยวไว้กินหวาน
ง.
เวรระงับด้วยการไม่จองเวร
๓๒.
ทำอย่างไร จึงจะไม่ริษยาผู้อื่น ?
ก.
หมั่นแผ่เมตตา
ข.
หมั่นแผ่กรุณา
ค.
หมั่นเจริญมุทิตา
ง.
หมั่นเจริญอุเบกขา
๓๓.
อัปปมัญญาข้อใด เป็นคุณให้เกิดความเที่ยงธรรม ?
ก.
เมตตา
ข.
กรุณา
ค.
มุทิตา
ง.
อุเบกขา
๓๔.
เมื่อมีคนอื่นโกรธเรา ควรปฏิบัติอย่างไร ?
ก.
ไม่โกรธตอบ
ข.
แผ่เมตตาให้เสมอ
ค.
หมั่นทำดีไว้
ง.
ถูกทุกข้อ
๓๕.
พุทธบริษัทเช่นไร ควรเรียกว่า “
ใกล้เกลือกินด่าง
” ?
ก.
เชื่อเรื่องทรงเจ้าเข้าผี
ข.
เชื่อเรื่องเสน่ห์ยาแฝด
ค.
เชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์บันดาล
ง.
ถูกทุกข้อ
๓๖.
ผู้ใดอุปมาเหมือนดอกบัวเสมอน้ำ จักบานในวันพรุ่ง ?
ก.
ผู้พอแนะนำได้
ข.
ผู้รู้ธรรมพอยกหัวข้อแสดง
ค.
ผู้จำได้เฉพาะบท
ง.
ผู้รู้ธรรมเมื่ออธิบายความ
๓๗.
ในอนุปุพพีกถา ทรงยกทานกถาขึ้นแสดงก่อน เพื่อพระประสงค์์ใด ?
ก.
เพื่อสละความเห็นแก่ตัว
ข.
เพื่อเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ผู้อื่น
ค.
เพื่อขจัดความตระหนี่
ง.
ถูกทุกข้อ
๓๘.
“
บูชาพระคุณ ค้ำจุนพระศาสนา พาสู่ความสงบ จบแค่นิพพาน
”
เป็นอนุปุพพีกถาข้อใด ?
ก.
ทานกถา
ข.
ศีลกถา
ค.
สัคคกถา
ง.
เนกขัมมานิสังสกถา
๓๙.
“
โตงเตงโตงเต้า กินแต่ของเขา ของเราเก็บไว้
” เป็นพฤติกรรม
ของคนเช่นไร ?
ก.
คนตระหนี่
ข.
คนเห็นแก่ตัว
ค.
คนประหยัด
ง.
คนมักน้อย
๔๐.
ข้อใด เป็นอาวาสมัจฉริยะ ?
ก.
รังเกียจคนต่างชาติ
ข.
ไม่อยากแต่งงานด้วย
ค.
หวงแหนศิลปวิทยา
ง.
ไม่อยากให้คนอื่นดีกว่า
๔๑.
เกิดโรคร้าย จนเป็นเหตุถึงกับฆ่าตัวตาย เพราะถูกมารใดครอบงำ ?
ก.
มารคือปัญจขันธ์
ข.
มารคือกิเลส
ค.
มารคือความตาย
ง.
มารคือเทวบุตร
๔๒.
ฆ่ากันทุกวันเพื่อเอาชนะ เป็นพฤติกรรมของคนจริตอะไร ?
ก.
คนโทสจริต
ข.
คนโมหจริต
ค.
คนวิตักกจริต
ง.
คนสัทธาจริต
๔๓.
เมื่อผู้น้อยไม่ได้สิ่งที่ตนปรารถนา จึงโกรธนินทาผู้ใหญ่
เพราะมีจริตอะไร ?
ก.
ราคจริต
ข.
โทสจริต
ค.
โมหจริต
ง.
ทั้ง ๓ จริตระคนกัน
๔๔.
“
วิชาเป็นอำนาจ มารยาทเป็นเสน่ห์
” สงเคราะห์เข้าในข้อใด ?
ก.
อรหํ
ข.
สมฺมาสมฺพุทฺโธ
ค.
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน
ง.
สุคโต
๔๕.
พระสงฆ์ปฏิบัติอย่างไร จึงเป็นนาบุญยอดเยี่ยมของโลก ?
ก.
เป็นผู้ปฏิบัติดี
ข.
เป็นผู้ควรของคำนับ
ค.
เป็นผู้ควรของต้อนรับ
ง.
เป็นผู้ควรของทำบุญ
๔๖.
ตั้งใจเลิกสิ่งเสพติด งดเหล้าเข้าพรรษา ชื่อว่าบำเพ็ญบารมีใด ?
ก.
ขันติบารมี
ข.
ศีลบารมี
ค.
อธิษฐานบารมี
ง.
อุเบกขาบารมี
๔๗.
เมื่อชีวิตเกิดอุปสรรค ตั้งใจว่า “
ชีวิตยังมีอยู่ ต้องสู้ต่อไป
”
ชื่อว่าบำเพ็ญบารมีใด ?
ก.
ขันติบารมี
ข.
วิริยบารมี
ค.
เมตตาบารมี
ง.
สัจจบารมี
๔๘.
“
ยามบุญมาวาสนาช่วย ที่ป่วยก็หาย ที่หน่ายก็รัก
” ตรงกับข้อใด ?
ก.
กุศลชนกกรรม
ข.
กุศลอุปัตถัมภกกรรม
ค.
กุศลอาสันนกรรม
ง.
กุศลอาจิณณกรรม
๔๙.
“
ยังไม่ถึงที่ตายไม่วายชีวาวาตม์
....” เพราะกรรมใดกำลังให้ผล ?
ก.
ชนกกรรม
ข.
อุปัตถัมภกกรรม
ค.
อาสันนกรรม
ง.
พหุลกรรม
๕๐.
อโหสิกรรม ในคำว่า “
รดน้ำศพอโหสิกรรมแก่ผู้ตาย
”
หมายความว่าอย่างไร ?
ก.
ให้อภัยไม่จองเวร
ข.
ขอให้ไปสู่ที่ชอบ
ค.
อย่ามีทุกข์เลย
ง.
หมดกรรมเสียที
เอกสารอ้างอิง
เรื่องสอบธรรม ของสนามหลวงแผนกธรรม พ.ศ.๒๕๔๘. หน้า
ข้อสอบสนามหลวง
พ.ศ. ๒๕๔๖
พ.ศ. ๒๕๔๗
พ.ศ. ๒๕๔๘
พ.ศ. ๒๕๔๙
พ.ศ. ๒๕๕๐
พ.ศ. ๒๕๕๑
พ.ศ. ๒๕๕๒
พ.ศ. ๒๕๕๓
พ.ศ. ๒๕๕๔
พ.ศ. ๒๕๕๕
พ.ศ. ๒๕๕๖
พ.ศ. ๒๕๕๗
พ.ศ. ๒๕๕๘
พ.ศ. ๒๕๕๙
พ.ศ. ๒๕๖๐
พ.ศ. ๒๕๖๑
พ.ศ. ๒๕๖๒
พ.ศ. ๒๕๖๓
พ.ศ. ๒๕๖๔
พ.ศ. ๒๕๖๕
พ.ศ. ๒๕๖๖
พ.ศ. ๒๕๖๗
พ.ศ. ๒๕๖๘
พ.ศ. ๒๕๖๙
พ.ศ. ๒๕๗๐
พ.ศ. ๒๕๗๑
พ.ศ. ๒๕๗๒
พ.ศ. ๒๕๗๓
พ.ศ. ๒๕๗๔
พ.ศ. ๒๕๗๕
พ.ศ. ๒๕๗๖
พ.ศ. ๒๕๗๗
พ.ศ. ๒๕๗๘
พ.ศ. ๒๕๗๙
พ.ศ. ๒๕๘๐
พ.ศ. ๒๕๘๑
พ.ศ. ๒๕๘๒
พ.ศ. ๒๕๘๓
พ.ศ. ๒๕๘๔
พ.ศ. ๒๕๘๕
พ.ศ. ๒๕๘๖
พ.ศ. ๒๕๘๗
พ.ศ. ๒๕๘๘
พ.ศ. ๒๕๘๙
พ.ศ. ๒๕๙๐
พ.ศ. ๒๕๙๑
พ.ศ. ๒๕๙๒
พ.ศ. ๒๕๙๓
พ.ศ. ๒๕๙๔
พ.ศ. ๒๕๙๕
พ.ศ. ๒๕๙๖
พ.ศ. ๒๕๙๗
พ.ศ. ๒๕๙๘
พ.ศ. ๒๕๙๙
พ.ศ. ๒๖๐๐