ปัญหาและเฉลย
วิชาธรรม ธรรมศึกษาชั้นโท
สอบในสนามหลวง
วันจันทร์ ที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๓.๕๐ น.
คำสั่ง :
จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว แล้วฝนลงในช่องของข้อ
ที่ต้องการในกระดาษคำตอบ ให้เวลา ๕๐ นาที (๑๐๐ คะแนน)
๑.
สมถกัมมัฏฐาน เป็นอุบายสงบใจจากอะไร ?
ก.
นิวรณ์
ข.
อุปกิเลส
ค.
วัตถุกาม
ง.
อกุศลกรรม
๒.
การเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานมีประโยชน์อย่างไร ?
ก.
ทำให้จิตสงบ
ข.
ทำให้รู้แจ้ง
ค.
ทำให้จิตผ่องใส
ง.
ทำให้เบื่อหน่าย
๓.
ข้อใด เป็นโทษของกิเลสกาม ?
ก.
ไม่รู้จักพอ
ข.
ก่อการทะเลาะวิวาท
ค.
ไม่มีเหตุผล
ง.
ไม่มีคนเชื่อใจ
๔.
ข้อใด จัดเป็นวัตถุกาม ?
ก.
รูป เสียง กลิ่ม รส
ข.
ตา หู จมูก ลิ้น
ค.
ผม ขน เล็บ ฟัน
ง.
ดิน น้ำ ลม ไฟ
๕.
ข้อใด จัดเป็นอามิสบูชา ?
ก.
ช่วยเหลือคนเจ็บป่วย
ข.
ให้เงินพ่อแม่
ค.
เคารพเชื่อฟังพ่อแม่
ง.
รักษาศีล
๖.
ปฏิบัติบูชา มีประโยชน์สูงสุดอย่างไร ?
ก.
ทำให้พ้นทุกข์
ข.
ทำให้มีบริวาร
ค.
ทำให้จิตสงบ
ง.
ทำให้คนนับถือ
๗.
ข้อใด จัดเป็นธัมมปฏิสันถาร ?
ก.
ให้หนังสือธรรมะ
ข.
ชวนปฏิบัติธรรม
ค.
ต้อนรับด้วยสิ่งของ
ง.
แนะนำอาชีพ
๘.
อะไรเป็นเหตุให้เกิดความสุขทางใจ ?
ก.
ใช้จ่ายทรัพย์
ข.
ใช้ชีวิตพอเพียง
ค.
มีสุขภาพแข็งแรง
ง.
มีทรัพย์สมบัติ
๙.
จะบรรเทาพยาบาทวิตกด้วยวิธีใด ?
ก.
แผ่เมตตา
ข.
รักษาศีล
ค.
สวดมนต์
ง.
ฟังธรรม
๑๐.
วิหิงสาวิตกมีอะไรเป็นมูลเหตุ ?
ก.
ราคะ
ข.
โลภะ
ค.
โทสะ
ง.
โมหะ
๑๑.
ราคา โทสะ โมหะ จัดเป็นไฟเพราะเหตุใด ?
ก.
เผาโลกให้เร่าร้อน
ข.
เผากิเลสให้เร่าร้อน
ค.
เผาจิตใจให้เร่าร้อน
ง.
เผากายให้เร่าร้อน
๑๒.
กิเลสใด ทำให้คนให้มืดบอด ?
ก.
ราคะ
ข.
ริษยา
ค.
โทสะ
ง.
โมหะ
๑๓.
อัตตาธิปเตยยะ มีความหมายตรงกับข้อใด ?
ก.
ถือตนเป็นใหญ่
ข.
ถือสังคมเป็นใหญ่
ค.
ถือพวกพ้องเป็นใหญ่
ง.
ถือความถูกต้องเป็นใหญ่
๑๔.
คนยึดธรรมเป็นใหญ่ มีลักษณะเช่นไร ?
ก.
เห็นแก่พวกพ้อง
ข.
เห็นแก่ความถูกต้อง
ค.
เห็นแก่ประโยชน์ตน
ง.
เห็นแก่ความถูกใจ
๑๕.
ข้อใด จัดเป็นภวตัณหา ?
ก.
อยากเป็นใหญ่
ข.
อยากได้รับคำชม
ค.
อยากได้ของฝาก
ง.
อยากได้รับยกย่อง
๑๖.
ความอยากใด จัดเป็นวิภวตัณหา ?
ก.
อยากออกจากตำแหน่ง
ข.
อยากมียศถาบรรดาศักดิ์
ค.
อยากเป็นมหาเศรษฐี
ง.
อยากเกิดบนสวรรค์
๑๗.
ข้อใด จัดเป็นอนุสาสนีปาฏิหาริยะ ?
ก.
จูงใจคนได้
ข.
ล่องหนได้
ค.
ดำดินได้
ง.
ทายใจคนได้
๑๘.
ข้อใด จัดเป็นพระวินัยปิฎก ?
ก.
คำอธิบาย
ข.
คำสั่ง
ค.
คำสอน
ง.
คำแนะนำ
๑๙.
ข้อใด จัดเป็นโลกัตถจริยา ?
ก.
โปรดสัตว์โลก
ข.
สงเคราะห์พระญาติ
ค.
ประกาศพระศาสนา
ง.
บัญญัติสิกขาบท
๒๐.
ข้อใด จัดเป็นพุทธัตถจริยา ?
ก.
บัญญัติสิกขาบท
ข.
สงเคราะห์ชาวโลก
ค.
โปรดพุทธบิดา
ง.
โปรดเวไนยสัตว์
๒๑.
ข้อใด จัดเป็นกรรมในวัฏฏะ ?
ก.
เกิดกิเลส
ข.
ทำกรรม
ค.
รับผลกรรม
ง.
เวียนว่ายตายเกิด
๒๒.
อธิสีลสิกขา คืออะไร ?
ก.
การฝึกกาย วาจา
ข.
การรักษาจิต
ค.
การรู้สภาวธรรม
ง.
การอบรมจิต
๒๓.
อปัสเสนธรรมข้อว่า พิจารณาแล้วอดกลั้น ควรใช้เมื่อใด ?
ก.
ถูกทุกขเวทนาครอบงำ
ข.
ถูกกิเลสครอบงำ
ค.
ถูกความเสื่อมครอบงำ
ง.
ถูกพยาบาทครอบงำ
๒๔.
อปัสเสนธรรมข้อว่า พิจารณาแล้วเว้น ตรงกับข้อใด ?
ก.
ทุกขเวทนา
ข.
บัณฑิต
ค.
ยารักษาโรค
ง.
คนพาล
๒๕.
ข้อใด เป็นอารมณ์ของอัปปมัญญา ?
ก.
ต้นไม้
ข.
ภูเขา
ค.
แม่น้ำ
ง.
สรรพสัตว์
๒๖.
ข้อใด ไม่ใช่อานิสงส์ของการเจริญเมตตา ?
ก.
หลับเป็นสุข
ข.
ตื่นเป็นสุข
ค.
ไม่ฝันร้าย
ง.
ไม่มีโรคภัย
๒๗.
สังโยชน์ข้อใดที่พระโสดาบันละไม่ได้ ?
ก.
สักกายทิฏฐิ
ข.
วิจิกิจฉา
ค.
สีลัพพตปรามาส
ง.
กามราคะ
๒๘.
โอฆะเป็นชื่อของอะไร ?
ก.
กิเลส
ข.
ห้วงน้ำ
ค.
อาสวะ
ง.
สังโยชน์
๒๙.
โอฆะข้อใด ทำให้เกิดความเห็นผิด ?
ก.
กาโมฆะ
ข.
ภโวฆะ
ค.
ทิฏโฐฆะ
ง.
อวิชโชฆะ
๓๐.
ข้อใด ไม่ใช่คุณสมบัติของอุบาสกอุบาสิกา ?
ก.
เชื่อกรรม
ข.
เชื่อมงคลตื่นข่าว
ค.
มีศรัทธา
ง.
มีศีลบริสุทธิ์
๓๑.
เนยยะ ได้แก่บุคคลประเภทใด ?
ก.
ผู้รู้ธรรมได้ทันที
ข.
ผู้รู้ธรรมเมื่ออธิบายความ
ค.
ผู้พอแนะนำได้
ง.
ผู้สักแต่ว่าฟัง
๓๒.
บุคคลใด เปรียบเหมือนบัวเสมอน้ำ ?
ก.
อุคฆติตัญญู
ข.
วิปจิตัญญู
ค.
เนยยะ
ง.
ปทปรมะ
๓๓.
ผู้บรรลุมรรคใด ทำราคะ โทสะ โมหะ ให้เบาบางลง ?
ก.
โสดาปัตติมรรค
ข.
สกทาคามิมรรค
ค.
อนาคามิมรรค
ง.
อรหัตตมรรค
๓๔.
พระพุทธเจ้าทรงแสดงอนุปุพพีกถา เพื่อประโยชน์ใด ?
ก.
ฟอกอัธยาศัยให้หมดจด
ข.
กำจัดกิเลส
ค.
ขจัดความตระหนี่
ง.
ละความเห็นแก่ตัว
๓๕.
ข้อใด ไม่ใช่อานิสงส์การบริจาคทาน ?
ก.
มีฐานะร่ำรวย
ข.
เป็นที่รักของมหาชน
ค.
มีชื่อเสียง
ง.
มีคนอยากคบหา
๓๖.
ข้อใด จัดเป็นความหมายของอาวาสมัจฉริยะ ?
ก.
หวงที่อยู่อาศัย
ข.
หวงเงินทอง
ค.
หวงวิชาความรู้
ง.
หวงวงศ์สกุล
๓๗.
เวทนาเกิดขึ้นได้เพราะอาศัยอะไร ?
ก.
สัมผัส
ข.
กิเลส
ค.
กรรม
ง.
ตัณหา
๓๘.
คนราคจริต มีลักษณะอย่างไร ?
ก.
อวดดี
ข.
ชอบโอ้อวด
ค.
ข่มคนอื่น
ง.
โมโหร้าย
๓๙.
คนราคจริต ควรเจริญกัมมัฏฐานอะไร ?
ก.
อสุภะ
ข.
พรหมวิหาร
ค.
อานาปานสติ
ง.
อนุสสติ
๔๐.
เอหิปสฺสิโก มีความหมายอย่างไร ?
ก.
เห็นได้ด้วยตนเอง
ข.
ไม่จำกัดกาล
ค.
ควรเรียกให้มาดู
ง.
ควรน้อมเข้ามา
๔๑.
ญาณเป็นเครื่องข้ามพ้นความสงสัย จัดเป็นวิสุทธิอะไร ?
ก.
จิตตวิสุทธิ
ข.
ญาณทัสสนวิสุทธิ
ค.
ทิฏฐิวิสุทธิ
ง.
กังขาวิตรณวิสุทธิ
๔๒.
เหตุเกิดแห่งทุกข์ ได้แก่อะไร ?
ก.
ตัณหา
ข.
อวิชชา
ค.
อาสวะ
ง.
อุปาทาน
๔๓.
ทางถึงความดับทุกข์ ได้แก่อะไร ?
ก.
ไตรสิกขา
ข.
มรรค
ค.
นิโรธ
ง.
ปฏิจจสมุปบาท
๔๔.
ทรงหยั่งรู้ความเป็นไปของสรรพสิ่ง จัดเป็นพุทธคุณข้อใด ?
ก.
สุคโต
ข.
โลกวิทู
ค.
พุทฺโธ
ง.
ภควา
๔๕.
พุทธคุณข้อใด เป็นเหตุให้พระพุทธศาสนาเจริญแพร่หลาย ?
ก.
สมฺมาสมฺพุทฺโธ
ข.
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน
ค.
อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ
ง.
สตฺถา เทวมนุสฺสานํ
๔๖.
พระสงฆ์ได้ชื่อว่า สามีจิปฏิปนฺโน เพราะปฏิบัติเช่นไร ?
ก.
ปฏิบัติดี
ข.
ปฏิบัติตรง
ค.
ปฏิบัติเป็นธรรม
ง.
ปฏิบัติสมควร
๔๗.
เป็นผู้ควรของทำบุญ ตรงกับสังฆคุณข้อใด ?
ก.
อาหุเนยฺโย
ข.
ปานุเนยฺโย
ค.
ทกฺขิเณยฺโย
ง.
อญฺชลิกรณิโย
๔๘.
บริจาคไตให้โรงพยาบาล จัดเป็นบารมีอะไร ?
ก.
ทานบารมี
ข.
ทานอุปบารมี
ค.
ทานปรมัตถบารมี
ง.
มหาบารมี
๔๙.
การศึกษาธรรมเพื่อให้เกิดความรู้ จัดว่าบำเพ็ยบารมีใด ?
ก.
ปัญญาบารมี
ข.
วิริยบารมี
ค.
ขันติบารมี
ง.
สัจจบารมี
๕๐.
อาสันนกรรมมีแก่ใคร ?
ก.
คนป่วยไข้
ข.
คนใกล้ตาย
ค.
คนถูกจองจำ
ง.
คนตายแล้ว
เอกสารอ้างอิง
เรื่องสอบธรรม ของสนามหลวงแผนกธรรม พ.ศ.๒๕๕๕. หน้า ๒๓๕-๒๔๕.
ข้อสอบสนามหลวง
พ.ศ. ๒๕๔๖
พ.ศ. ๒๕๔๗
พ.ศ. ๒๕๔๘
พ.ศ. ๒๕๔๙
พ.ศ. ๒๕๕๐
พ.ศ. ๒๕๕๑
พ.ศ. ๒๕๕๒
พ.ศ. ๒๕๕๓
พ.ศ. ๒๕๕๔
พ.ศ. ๒๕๕๕
พ.ศ. ๒๕๕๖
พ.ศ. ๒๕๕๗
พ.ศ. ๒๕๕๘
พ.ศ. ๒๕๕๙
พ.ศ. ๒๕๖๐
พ.ศ. ๒๕๖๑
พ.ศ. ๒๕๖๒
พ.ศ. ๒๕๖๓
พ.ศ. ๒๕๖๔
พ.ศ. ๒๕๖๕
พ.ศ. ๒๕๖๖
พ.ศ. ๒๕๖๗
พ.ศ. ๒๕๖๘
พ.ศ. ๒๕๖๙
พ.ศ. ๒๕๗๐
พ.ศ. ๒๕๗๑
พ.ศ. ๒๕๗๒
พ.ศ. ๒๕๗๓
พ.ศ. ๒๕๗๔
พ.ศ. ๒๕๗๕
พ.ศ. ๒๕๗๖
พ.ศ. ๒๕๗๗
พ.ศ. ๒๕๗๘
พ.ศ. ๒๕๗๙
พ.ศ. ๒๕๘๐
พ.ศ. ๒๕๘๑
พ.ศ. ๒๕๘๒
พ.ศ. ๒๕๘๓
พ.ศ. ๒๕๘๔
พ.ศ. ๒๕๘๕
พ.ศ. ๒๕๘๖
พ.ศ. ๒๕๘๗
พ.ศ. ๒๕๘๘
พ.ศ. ๒๕๘๙
พ.ศ. ๒๕๙๐
พ.ศ. ๒๕๙๑
พ.ศ. ๒๕๙๒
พ.ศ. ๒๕๙๓
พ.ศ. ๒๕๙๔
พ.ศ. ๒๕๙๕
พ.ศ. ๒๕๙๖
พ.ศ. ๒๕๙๗
พ.ศ. ๒๕๙๘
พ.ศ. ๒๕๙๙
พ.ศ. ๒๖๐๐