ปัญหาและเฉลย
วิชาธรรม ธรรมศึกษาชั้นโท
สอบในสนามหลวง
วันอังคาร ที่ ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑
เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๓.๕๐ น.
คำสั่ง :
จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว แล้วกากบาทลงในช่องของข้อ
ที่ต้องการในกระดาษคำตอบ ให้เวลา ๕๐ นาที (๑๐๐ คะแนน)
๑.
ข้อใดเป็นความหมายของคำว่า สมถะ ?
ก.
อุบายเรืองปัญญา
ข.
อุบายสงบกาย
ค.
อุบายสงบใจ
ง.
อุบายสงบวาจา
๒.
จะรู้แจ้งสรรพสิ่งตามเป็นจริง ต้องเจริญกัมมัฏฐานอะไร ?
ก.
อนุสสติกัมมัฏฐาน
ข.
สมถกัมมัฏฐาน
ค.
วิปัสสนากัมมัฏฐาน
ง.
อสุภกัมมัฏฐาน
๓.
ผู้ลุ่มหลงอยู่กับการเล่นเกมส์ เพราะถูกกิเลสกามข้อใดครอบงำ ?
ก.
โลภะ
ข.
โทสะ
ค.
โมหะ
ง.
อรติ
๔.
กามเป็นเหตุให้สัตว์หลงติดอยู่ในโลก เรียกว่าอะไร ?
ก.
กามาสวะ
ข.
กามคุณ
ค.
กามกิเลส
ง.
กามตัณหา
๕.
การนำดอกไม้ไปไหว้พระพุทธรูป จัดเป็นการบูชาประเภทใด ?
ก.
สักการะบูชา
ข.
พุทธบูชา
ค.
ปฏิบัติบูชา
ง.
อามิสบูชา
๖.
ปูชนียบุคคล ในเรื่องบูชา ๒ หมายถึงบุคคลประเภทใด ?
ก.
คนร่ำรวยทรัพย์
ข.
คนปฏิบัติตามกฎหมาย
ค.
คนวางตนน่ายกย่อง
ง.
คนเรียนจบระดับสูง
๗.
เมื่อมีผู้มาเยือน ควรต้อนรับตามหลักปฏิสันถารอย่างไร ?
ก.
ถามถึงธุระที่มาเยือน
ข.
ถามถึงสิ่งที่ต้องการ
ค.
แนะนำประโยชน์ให้
ง.
ต้อนรับให้สมแก่ฐานะ
๘.
การต้อนรับผู้มาเยือนข้อใด เรียกว่า ธรรมปฏิสันถาร ?
ก.
มอบหนังสือธรรมะให้
ข.
ชวนให้ปฏิบัติธรรม
ค.
มอบพระเครื่องให้
ง.
กล่าวธรรมให้ฟัง
๙.
ความไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ สงเคราะห์เข้าในสุขข้อใด ?
ก.
สุขทางกาย
ข.
สุขทางใจ
ค.
สุขอิงอามิส
ง.
สุขไม่อิงอามิส
๑๐.
เมื่อเกิดกามวิตกขึ้น จะมีพฤติกรรมเช่นใด ?
ก.
อยากได้ของผู้อื่น
ข.
อยากเป็นใหญ่เป็นโต
ค.
อยากมีชื่อเสียง
ง.
อยากให้คนยกย่อง
๑๑.
ผู้มีเนกขัมมวิตก มักมีความคิดเช่นใด ?
ก.
คิดออกบวช
ข.
คิดเข้าวัดฟังธรรม
ค.
คิดบริจาคทาน
ง.
คิดรักษาศีลอุโบสถ
๑๒.
การครุ่นคิดวางแผนใส่ร้ายผู้อื่น จัดเป็นอกุศลวิตกข้อใด ?
ก.
กามวิตก
ข.
พยาบาทวิตก
ค.
วิหิงสาวิตก
ง.
อวิหิงสาวิตก
๑๓.
อาการหงุดหงิดเกิดขึ้นในใจ จัดเป็นไฟชนิดใด ?
ก.
ไฟสุ่มทรวง
ข.
ไฟริษยา
ค.
ไฟโทสะ
ง.
ไฟโมหะ
๑๔.
พฤติกรรมเช่นใด จัดเป็นลักษณะของไฟคือราคะ ?
ก.
ล่วงละเมิดทางเพศ
ข.
ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล
ค.
แสดงอารยะขัดขืน
ง.
แสดงความหึงหวง
๑๕.
พฤติกรรมเช่นใด จัดเป็นลักษณะของไฟคือโมหะ ?
ก.
ไม่มีระเบียบวินัย
ข.
ไม่รู้จักผิดชอบชั่วดี
ค.
ไม่มีสมบัติผู้ดี
ง.
ไม่รับผิดชอบหน้าที่
๑๖.
ประชาธิปไตยไม่พัฒนา เพราะขาดอธิปเตยยะข้อใด ?
ก.
อัตตาธิปเตยยะ
ข.
โลกาธิปเตยยะ
ค.
ธัมมาธิปเตยยะ
ง.
อนาธิปเตยยะ
๑๗.
การปกครองที่ถือเสียงข้างมาก จัดเข้าในข้อใด ?
ก.
อัตตาธิปเตยยะ
ข.
โลกาธิปเตยยะ
ค.
ธัมมาธิปเตยยะ
ง.
อนาธิปเตยยะ
๑๘.
ปัญญาหยั่งรู้ว่า การเกิดเป็นทุกข์ จัดเป็นญานอะไร ?
ก.
สัจจญาณ
ข.
กิจจญาณ
ค.
กตญาณ
ง.
มัคคญาณ
๑๙.
แย่งอำนาจกันครอง จัดเป็นตัณหาชนิดใด ?
ก.
กามตัณหา
ข.
ภวตัณหา
ค.
วิภวตัณหา
ง.
กิเลสตัณหา
๒๐.
ไม่อยากแก่ ไม่อยากตาย จัดเป็นตัณหาประเภทใด ?
ก.
กามตัณหา
ข.
ภวตัณหา
ค.
วิภวตัณหา
ง.
กิเลสตัณหา
๒๑.
เกรดตกอกหกรักคุด แล้วฆ่าตัวตาย จัดเป็นตัณหาประเภทใด ?
ก.
กามตัณหา
ข.
ภวตัณหา
ค.
วิภวตัณหา
ง.
กิเลสตัณหา
๒๒.
พระพุทธเจ้าทรงยกย่องปาฏิหาริยะประเภทใด ?
ก.
อิทธิปาฏิหาริยะ
ข.
อาเทสนาปาฏิหาริยะ
ค.
ยมกปาฏิหาริยะ
ง.
อนุสาสนีปาฏิหาริยะ
๒๓.
ข้อใด เป็นอำนาจอัศจรรย์ของอาเทสนาปาฏิหาริย์ ?
ก.
ล่องหนได้
ข.
ทายใจคนได้
ค.
ดำดินได้
ง.
เหยียบน้ำทะเลจืด
๒๔.
การสงเคราะห์ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ จัดเข้าในข้อใด ?
ก.
โลกัตถจริยา
ข.
ญาตัตถจริยา
ค.
พุทธัตถจริยา
ง.
ธัมมจริยา
๒๕.
ข้อใด เป็นการเวียนว่ายตายเกิด ?
ก.
กิเลสตัณหา
ข.
กิเลส กรรม วิบาก
ค.
ทำความชั่วไว้
ง.
ต้องรับผลกรรม
๒๖.
ข้อใด เป็นความหมายของคำว่า สิกขา ในพระพุทธศาสนา ?
ก.
ศึกษาเล่าเรียน
ข.
ฝึกซ้อมภาคปฏิบัติ
ค.
ฝึกหัดกาย วาจา ใจ
ง.
ฝึกหัดทำสมาธิ
๒๗.
อานิสงส์ของการปฏิบัติไตรสิกขา คือข้อใด ?
ก.
กำจัดทุกข์
ข.
กำจัดโศก
ค.
กำจัดภัย
ง.
กำจัดกิเลส
๒๘.
ภูมิอันหาความเจริญมิได้ เรียกว่าอะไร ?
ก.
อสูรกายภูมิ
ข.
นรกภูมิ
ค.
อบายภูมิ
ง.
ดิรัจฉานภูมิ
๒๙.
คบคนพาล พาลพาไปหาผิด ควรใช้อปัสเสนธรรมข้อใด ?
ก.
พิจารณาแล้วเสพ
ข.
พิจารณาแล้วเว้น
ค.
พิจารณาแล้วอดกลั้น
ง.
พิจารณาแล้วบรรเทา
๓๐.
เมตตา ควรแผ่ให้บุคคลจำพวกใด ?
ก.
ทุกจำพวก
ข.
ผู้ประสบทุกข์
ค.
ผู้ประสบสุข
ง.
ผู้ที่ตายแล้ว
๓๑.
กรุณา ควรแผ่ให้บุคคลจำพวกใด ?
ก.
ทุกจำพวก
ข.
ผู้ประสบทุกข์
ค.
ผู้ประสบสุข
ง.
ผู้ที่ตายแล้ว
๓๒.
โสดาบันบุคคล ได้แก่บุคคลประเภทใด ?
ก.
ผู้สิ้นกิเลส
ข.
ผู้ห่างไกลกิเลส
ค.
ผู้ไม่กลับมาเกิดอีก
ง.
ผู้ถึงกระแสนิพพาน
๓๓.
ผู้ละกามราคะ และปฏิฆะได้เด็ดขาด คือใคร ?
ก.
พระโสดาบัน
ข.
พระสกทาคามี
ค.
พระอนาคามี
ง.
พระอรหันต์
๓๔.
เทศนาที่ขัดเกลาจิตมิให้เป็นคนหยาบกระด้าง ตรงกับข้อใด ?
ก.
ทานกถา
ข.
สีลกถา
ค.
สัคคกถา
ง.
กามทีนวกถา
๓๕.
ผู้ประกอบด้วยวัณณมัจฉริยะ มีพฤติกรรมเช่นใด ?
ก.
หวงแหนตระกูล
ข.
กลัวคนอื่นได้ดีกว่า
ค.
เห็นแก่ตัว
ง.
หาผลประโยชน์ใส่ตัว
๓๖.
อาการปวดศีรษะ จัดเป็นมารประเภทใด ?
ก.
กิเลสมาร
ข.
ขันธมาร
ค.
อภิสังขารมาร
ง.
เทวปุตตมาร
๓๗.
มารที่ครอบงำบุคคลให้ประกอบทุจริตคิดมิชอบ ตรงกับข้อใด ?
ก.
กิเลสมาร
ข.
ขันธมาร
ค.
อภิสังขารมาร
ง.
เทวปุตตมาร
๓๘.
ความดีใจที่ได้รับเหรียญรางวัล จัดเป็นเวทนาใด ?
ก.
สุขเวทนา
ข.
อุเบกขาเวทนา
ค.
โสมนัสเวทนา
ง.
โทมนัสเวทนา
๓๙.
เชื่อข่าวลือ ถือมงคล ตื่นข่าว จัดว่าเป็นคนมีจริตอะไร ?
ก.
โมหจริต
ข.
วิตักกจริต
ค.
สัทธาจริต
ง.
พุทธิจริต
๔๐.
คิดหนัก มักระแวง จิตฟุ้งซ่าน จัดว่าเป็นคนมีจริตอะไร ?
ก.
ราคจริต
ข.
โทสจริต
ค.
โมหจริต
ง.
วิตักกจริต
๔๑.
บุคคลเข้าใจซาบซึ้งพระธรรมเฉพาะตนเอง ตรงกับข้อใด ?
ก.
สนฺทิฏฺฐิโก
ข.
อกาลิโก
ค.
เอหิปสฺสิโก
ง.
ปจฺจตฺตํ
๔๒.
การรักษาศีลให้บริสุทธิ์ ตรงกับวิสุทธิข้อใด ?
ก.
สีลวิสุทธิ
ข.
จิตตวิสุทธิ
ค.
ทิฏฐิวิสุทธิ
ง.
กังขาวิตรณวิสุทธิ
๔๓.
ความหมดจดแห่งจิต ตรงกับวิสุทธิข้อใด ?
ก.
จิตตวิสุทธิ
ข.
ญาณทัสสนวิสุทธิ
ค.
ทิฏฐิวิสุทธิ
ง.
กังขาวิตรณวิสุทธิ
๔๔.
ข้อใด ไม่ใช่ความหมายของอวิชชา ?
ก.
ไม่รู้จักเหตุแห่งทุกข์
ข.
ไม่รู้จักกฎแห่งกรรม
ค.
ไม่รู้หลักวิชาการ
ง.
ไม่รู้จักอดีตอนาคต
๔๕.
คำว่า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ตรงกับพุทธคุณข้อใด ?
ก.
อรหํ
ข.
พุทฺโธ
ค.
โลกวิทู
ง.
ภควา
๔๖.
พระพุทธเจ้าตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง เป็นพุทธคุณข้อใด ?
ก.
สมฺมาสมฺพุทฺโธ
ข.
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน
ค.
สุคโต โลกวิทู
ง.
สตฺถา เทวมนุสฺสานํ
๔๗.
สังฆคุณข้อว่า อญฺชลิกรณีโย มีความหมายว่าอย่างไร ?
ก.
ควรแก่ของคำนับ
ข.
ควรแก่การต้อนรับ
ค.
ควรแก่ของทำบุญ
ง.
ควรแก่การกราบไหว้
๔๘.
ข้อใดเป็นความหมายของคำว่า บารมี ในพระพุทธศาสนา ?
ก.
แผ่ขยายอิทธิพล
ข.
สั่งสมบริวาร
ค.
มีอำนาจวาสนา
ง.
มีคุณธรรมยวดยิ่ง
๔๙.
ผู้บริจาคดวงตาให้บุคคลอื่น จัดเป็นบารมีระดับใด ?
ก.
ทานบารมี
ข.
ทานอุปบารมี
ค.
ทานปรมัตถบารมี
ง.
เมตตาบารมี
๕๐.
ผู้ประสบอุบัติเหตุตายก่อนวัยอันควร เพราะกรรมใดให้ผล ?
ก.
ครุกรรม
ข.
อุปฆาตกกรรม
ค.
อุปปีกกรรม
ง.
อาสันนกรรม
เอกสารอ้างอิง
เรื่องสอบธรรม ของสนามหลวงแผนกธรรม พ.ศ.๒๕๕๑. หน้า ๑๗๘-๑๘๖.
ข้อสอบสนามหลวง
พ.ศ. ๒๕๔๖
พ.ศ. ๒๕๔๗
พ.ศ. ๒๕๔๘
พ.ศ. ๒๕๔๙
พ.ศ. ๒๕๕๐
พ.ศ. ๒๕๕๑
พ.ศ. ๒๕๕๒
พ.ศ. ๒๕๕๓
พ.ศ. ๒๕๕๔
พ.ศ. ๒๕๕๕
พ.ศ. ๒๕๕๖
พ.ศ. ๒๕๕๗
พ.ศ. ๒๕๕๘
พ.ศ. ๒๕๕๙
พ.ศ. ๒๕๖๐
พ.ศ. ๒๕๖๑
พ.ศ. ๒๕๖๒
พ.ศ. ๒๕๖๓
พ.ศ. ๒๕๖๔
พ.ศ. ๒๕๖๕
พ.ศ. ๒๕๖๖
พ.ศ. ๒๕๖๗
พ.ศ. ๒๕๖๘
พ.ศ. ๒๕๖๙
พ.ศ. ๒๕๗๐
พ.ศ. ๒๕๗๑
พ.ศ. ๒๕๗๒
พ.ศ. ๒๕๗๓
พ.ศ. ๒๕๗๔
พ.ศ. ๒๕๗๕
พ.ศ. ๒๕๗๖
พ.ศ. ๒๕๗๗
พ.ศ. ๒๕๗๘
พ.ศ. ๒๕๗๙
พ.ศ. ๒๕๘๐
พ.ศ. ๒๕๘๑
พ.ศ. ๒๕๘๒
พ.ศ. ๒๕๘๓
พ.ศ. ๒๕๘๔
พ.ศ. ๒๕๘๕
พ.ศ. ๒๕๘๖
พ.ศ. ๒๕๘๗
พ.ศ. ๒๕๘๘
พ.ศ. ๒๕๘๙
พ.ศ. ๒๕๙๐
พ.ศ. ๒๕๙๑
พ.ศ. ๒๕๙๒
พ.ศ. ๒๕๙๓
พ.ศ. ๒๕๙๔
พ.ศ. ๒๕๙๕
พ.ศ. ๒๕๙๖
พ.ศ. ๒๕๙๗
พ.ศ. ๒๕๙๘
พ.ศ. ๒๕๙๙
พ.ศ. ๒๖๐๐