ปัญหาและเฉลย
วิชาธรรม ธรรมศึกษาชั้นโท
สอบในสนามหลวง
วันพฤหัสบดี ที่ ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๐
เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๓.๕๐ น.
คำสั่ง :
จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว แล้วกากบาทลงในช่องของข้อ
ที่ต้องการในกระดาษคำตอบ ให้เวลา ๕๐ นาที (๑๐๐ คะแนน)
๑.
สมถกัมมัฏฐาน ตรงกับข้อใด ?
ก.
อุบายสงบกาย
ข.
อุบายสงบวาจา
ค.
อุบายสงบใจ
ง.
อุบายเรืองปัญญา
๒.
กัมมัฏฐานข้อใด อบรมให้เกิดปัญญา ?
ก.
สมถกัมมัฏฐาน
ข.
วิปัสสนากัมมัฏฐาน
ค.
อสุภกัมมัฏฐาน
ง.
อนุสสติกัมมัฏฐาน
๓.
ผู้หมั่นเจริญกัมมัฏฐาน ย่อมได้รับประโยชน์โดยตรงด้านใด ?
ก.
จิตใจสงบ
ข.
มีสุขภาพดี
ค.
ความจำดี
ง.
ขยันทำงาน
๔.
สิ่งอันเป็นเหตุให้ใคร่ เรียกว่าอะไร ?
ก.
วัตถุกาม
ข.
กิเลสกาม
ค.
กามคุณ
ง.
กามฉันทะ
๕.
ข้อใด ไม่จัดเป็นวัตถุกาม ?
ก.
เกมส์
ข.
ล๊อตเตอรี่
ค.
เพลง
ง.
ความรัก
๖.
ข้อใด จัดเป็นปฏิบัติบูชา ?
ก.
ตักบาตรพระ
ข.
ถวายทาน
ค.
ถวายพวงมาลัย
ง.
รักษาศีล
๗.
ข้อใด จัดเป็นธัมมปฏิสันถาร ?
ก.
ต้อนรับตามฐานะ
ข.
นำน้ำดื่มมาให้
ค.
ให้หนังสือธรรมะ
ง.
ถามถึงธุระที่มา
๘.
ข้อใด เป็นเหตุให้เกิดเจตสิกสุข สุขทางใจ ?
ก.
รู้จักพอเพียง
ข.
มีการงานดี
ค.
มีทรัพย์มาก
ง.
มีตำแหน่งสูง
๙.
ผู้ถูกวิหิงสาวิตกครอบงำ มักมีพฤติกรรมเช่นไร ?
ก.
ฝักใฝ่ในกาม
ข.
ปองร้ายผู้อื่น
ค.
โลภอยากได้
ง.
ทรมานสัตว์
๑๐.
เมื่อถูกวิหิงสาวิตกครอบงำ จะบรรเทาได้อย่างไร ?
ก.
เจริญเมตตา
ข.
เจริญกรุณา
ค.
เจริญมุทิตา
ง.
เจริญอุเบกขา
๑๑.
ไฟในข้อใด ทำให้คนหลงผิดเห็นกงจักรเป็นดอกบัว ?
ก.
ไฟคือราคะ
ข.
ไฟคือโทสะ
ค.
ไฟคือโมหะ
ง.
ไฟคือตัณหา
๑๒.
ประชาธิปไตยจะสมบูรณ์ ต้องมีอะไรเป็นพื้นฐาน ?
ก.
อัตตาธิปเตยยะ
ข.
โลกาธิปเตยยะ
ค.
ธัมมาธิปเตยยะ
ง.
ถูกทุกข้อ
๑๓.
การปกครองระบอบประชาธิปไตย สงเคราะห์เข้าในข้อใด ?
ก.
อัตตาธิปเตยยะ
ข.
โลกาธิปเตยยะ
ค.
ธัมมาธิปเตยยะ
ง.
อนาธิปเตยยะ
๑๔.
ข้อใดเป็นความหมายของคำว่า ญาณ ?
ก.
สมาธิชั้นสูง
ข.
ปัญญาหยั่งรู้
ค.
มีอิทธิฤทธิ์
ง.
การเข้าฌาน
๑๕.
ข้อใด ไม่จัดเป็นตัณหา ?
ก.
อยากมีบ้านใหม่
ข.
อยากให้คนนับถือ
ค.
อยากอยู่คนเดียว
ง.
อยากรักษาโรคร้าย
๑๖.
ข้อใด เป็นโทษของตัณหา ?
ก.
ให้เกิดทุกข์
ข.
ให้มัวเมา
ค.
ให้ยึดมั่นถือมั่น
ง.
ถูกทุกข้อ
๑๗.
ผู้ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ ซึ่งมาในรูปแบบต่างๆ เพราะ… ?
ก.
เกิดความโลภ
ข.
ขาดปัญญา
ค.
ข่มใจไว้ไม่ได้
ง.
เชื่อคนง่าย
๑๘.
ปาฏิหาริย์อะไร ทำให้คนละชั่วประพฤติดีได้ ?
ก.
อาเทสนาปาฏิหาริย์
ข.
อิทธิปาฏิหาริย์
ค.
อนุสาสนีปาฏิหาริย์
ง.
ยมกปาฏิหาริย์
๑๙.
พระอภิธรรมปิฎก ว่าด้วยเรื่องอะไร ?
ก.
แสดงระเบียบปฏิบัติ
ข.
แสดงบุคคลาธิษฐาน
ค.
แสดงธรรมาธิษฐาน
ง.
แสดงอิทธิปาฏิหารย์
๒๐.
พระพุทธเจ้าแสดงธรรมประกาศพระศาสนา จัดเป็นจริยาใด ?
ก.
อัตตัตถจริยา
ข.
โลกัตถจริยา
ค.
ญาตัตถจริยา
ง.
พุทธัตถจริยา
๒๑.
ข้อใด ไม่ใช่โลกัตถจริยา ?
ก.
ตรวจดูสัตว์โลก
ข.
โปรดเวไนยสัตว์
ค.
ตอบปัญหาเทวดา
ง.
โปรดพุทธบิดา
๒๒.
ค้ายาบ้าแล้วถูกจับติดคุก สงเคราะห์เข้าในวัฏฏะข้อใด ?
ก.
กิเลสวัฏฏ์
ข.
กัมมวัฏฏ์
ค.
วิปากวัฏฏ์
ง.
สังสารวัฏฏ์
๒๓.
เพราะเหตุใด มนุษย์จึงต้องเวียนว่ายตายเกิด ?
ก.
ทำกรรมชั่ว
ข.
มีโลกนี้โลกหน้า
ค.
รับผลกรรม
ง.
มีกิเลสกรรมวิบาก
๒๔.
คำว่า สิกขา มีความหมายว่าอย่างไร ?
ก.
เรียนหนังสือ
ข.
ฝึกหัดกายวาจาใจ
ค.
รักษาความดี
ง.
เจริญสมาธิภาวนา
๒๕.
สาระสำคัญของการศึกษาไตรสิกขา คืออะไร ?
ก.
เป็นมนุษย์สมบูรณ์
ข.
โลกสงบร่มเย็น
ค.
โลกเจริญก้าวหน้า
ง.
ทำให้โลกพัฒนา
๒๖.
การบำเพ็ญสมถกัมมัฏฐาน ตรงกับสิกขาข้อใด ?
ก.
อธิสีลสิกขา
ข.
อธิจิตตสิกขา
ค.
อธิปัญญาสิกขา
ง.
ถูกทุกข้อ
๒๗.
ในอปัสเสนธรรม ข้อพิจารณาแล้วบรรเทา ตรงกับข้อใด ?
ก.
งดเหล้าเข้าพรรษา
ข.
งดอบายมุข
ค.
งดจองเวรต่อกัน
ง.
งดสูบบุหรี่
๒๘.
ยาบ้าและสิ่งเสพติด พิจารณาแล้ว ควรทำอย่างไร ?
ก.
เสพ
ข.
อดกลั้น
ค.
เว้น
ง.
บรรเทา
๒๙.
ปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุข จัดเป็นอัปปมัญญาข้อใด ?
ก.
เมตตา
ข.
กรุณา
ค.
มุทิตา
ง.
อุเบกขา
๓๐.
มีจิตริษยาเมื่อเห็นคนอื่นได้ดี ชื่อว่าไม่มีอัปปมัญญาข้อใด ?
ก.
เมตตา
ข.
กรุณา
ค.
มุทิตา
ง.
อุเบกขา
๓๑.
อัปปมัญญาข้อใด เป็นคุณให้เกิดความเที่ยงธรรม ?
ก.
เมตตา
ข.
กรุณา
ค.
มุทิตา
ง.
อุเบกขา
๓๒.
ข้อใด กล่าวการเกิดในภพใหม่ของพระโสดาบันไม่ถูกต้อง ?
ก.
ไม่เกิดในอบายภูมิ
ข.
เกิดไม่เกินเจ็ดชาติ
ค.
เกิดใหม่เป็นโสดาบัน
ง.
เกิดใหม่เป็นปุถุชน
๓๓.
ทำราคะ โทสะ โมหะ ให้เบาบาง เป็นคุณสมบัติของใคร ?
ก.
พระโสดาบัน
ข.
พระอนาคามี
ค.
พระสกทาคามี
ง.
พระอรหันต์
๓๔.
โสดาบัน แปลว่าอะไร ?
ก.
ผู้ไกลจากกิเลส
ข.
ผู้ประเสริฐสูงสุด
ค.
ผู้ไม่มาโลกนี้อีก
ง.
ผู้ถึงกระแสนิพพาน
๓๕.
กิเลสในข้อใด พระอนาคามีละได้เด็ดขาด ?
ก.
กามราคะ
ข.
รูปราคะ
ค.
อรูปราคะ
ง.
มานะ
๓๖.
กิเลสที่เป็นดุจกระแสน้ำท่วมใจสัตว์ เรียกว่าอะไร ?
ก.
โยคะ
ข.
โอฆะ
ค.
อาสวะ
ง.
มานะ
๓๗.
อริยสัจในข้อใด จัดว่าเป็น เหตุ ?
ก.
ทุกข์ สมุทัย
ข.
สมุทัย นิโรธ
ค.
สมุทัย มรรค
ง.
มรรค นิโรธ
๓๘.
บุคคลที่พอแนะนำให้ตรัสรู้ตามได้ ตรงกับข้อใด ?
ก.
อุคฆติตัญญู
ข.
วิปจิตัญญู
ค.
เนยยะ
ง.
ปทปรมะ
๓๙.
อนุปุพพีกถาข้อใด ฟอกจิตไม่ให้เป็นคนโหดร้าย ?
ก.
ทานกถา
ข.
สีลกถา
ค.
สัคคกถา
ง.
กามาทีนวกถา
๔๐.
บูชาพระคุณ ค้ำจุนพระศาสนา พาสู่ความสงบ จบแค่นิพพาน
หมายถึงอนุปุพพีกถาข้อใด ?
ก.
ทานกถา
ข.
สีลกถา
ค.
สัคคกถา
ง.
เนกขัมมานิสังสกถา
๔๑.
กลัวคนอื่นจะดีกว่า จัดเป็นมัจฉริยะใด ?
ก.
กุลมัจฉริยะ
ข.
ลาภมัจฉริยะ
ค.
วัณณมัจฉริยะ
ง.
ธัมมมัจฉริยะ
๔๒.
เหตุใด ความตายจึงชื่อว่า มัจจุมาร ?
ก.
เพราะเป็นเหตุตัดกิเลส
ข.
เพราะเป็นเหตุตัดทุกข์
ค.
เพราะเป็นเหตุตัดชีวิต
ง.
เพราะเป็นเหตุตัดความดี
๔๓.
เวทนา มีความหมายตรงกับข้อใด ?
ก.
ความเจ็บปวด
ข.
ความรู้สึก
ค.
ความเห็นใจ
ง.
ความสงสาร
๔๔.
เมตตา เป็นสัปปายะแก่คนมีจริตอะไร ?
ก.
ราคจริต
ข.
โทสจริต
ค.
โมหจริต
ง.
วิตกจริต
๔๕.
คนคิดฟุ้งซ่านจนนอนไม่หลับ ควรแก้ด้วยวิธีใด ?
ก.
เจริญอานาปานสติ
ข.
เจริญมรณสติ
ค.
เจริญเทวตานุสสติ
ง.
เจริญกายคตาสติ
๔๖.
พระธรรมคุณข้อว่า สนฺทิฏฺฐิโก ตรงกับข้อใด ?
ก.
ผู้บรรลุพึงเห็นเอง
ข.
ชนพึงรู้เฉพาะตน
ค.
ควรเรียกให้มาดู
ง.
พึงน้อมเข้ามาในตน
๔๗.
ความรู้คู่คุณธรรม ตรงกับพระพุทธคุณข้อใด ?
ก.
สมฺมาสมฺพุทฺโธ
ข.
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน
ค.
สุคโต โลกวิทู
ง.
สตฺถา เทวมนุสฺสานํ
๔๘.
พระสงฆ์ได้ชื่อว่า อุชุปฏิปนฺโน เพราะปฏิบัติตนเช่นไร ?
ก.
ปฏิบัติดีแล้ว
ข.
ปฏิบัติไม่ลวงโลก
ค.
ปฏิบัติชอบ
ง.
ปฏิบัติสมควร
๔๙.
โครงการทุนเล่าเรียนหลวง ที่พระราชทานแก่คณะสงฆ์ไทย
จัดเป็นบารมีใด ?
ก.
ทานบารมี
ข.
ปัญญาบารมี
ค.
อธิษฐานบารมี
ง.
เมตตาบารมี
๕๐.
ยามบุญมาวาสนาช่วย ที่ป่วยก็หาย ที่หน่ายก็รัก ตรงกับข้อใด ?
ก.
กุศลชนกกรรม
ข.
กุศลอุปัตถัมภกกรรม
ค.
กุศลอาสันนกรรม
ง.
กุศลอาจิณณกรรม
เอกสารอ้างอิง
เรื่องสอบธรรม ของสนามหลวงแผนกธรรม พ.ศ.๒๕๕๐. หน้า ๑๘๐-๑๘๘.
ข้อสอบสนามหลวง
พ.ศ. ๒๕๔๖
พ.ศ. ๒๕๔๗
พ.ศ. ๒๕๔๘
พ.ศ. ๒๕๔๙
พ.ศ. ๒๕๕๐
พ.ศ. ๒๕๕๑
พ.ศ. ๒๕๕๒
พ.ศ. ๒๕๕๓
พ.ศ. ๒๕๕๔
พ.ศ. ๒๕๕๕
พ.ศ. ๒๕๕๖
พ.ศ. ๒๕๕๗
พ.ศ. ๒๕๕๘
พ.ศ. ๒๕๕๙
พ.ศ. ๒๕๖๐
พ.ศ. ๒๕๖๑
พ.ศ. ๒๕๖๒
พ.ศ. ๒๕๖๓
พ.ศ. ๒๕๖๔
พ.ศ. ๒๕๖๕
พ.ศ. ๒๕๖๖
พ.ศ. ๒๕๖๗
พ.ศ. ๒๕๖๘
พ.ศ. ๒๕๖๙
พ.ศ. ๒๕๗๐
พ.ศ. ๒๕๗๑
พ.ศ. ๒๕๗๒
พ.ศ. ๒๕๗๓
พ.ศ. ๒๕๗๔
พ.ศ. ๒๕๗๕
พ.ศ. ๒๕๗๖
พ.ศ. ๒๕๗๗
พ.ศ. ๒๕๗๘
พ.ศ. ๒๕๗๙
พ.ศ. ๒๕๘๐
พ.ศ. ๒๕๘๑
พ.ศ. ๒๕๘๒
พ.ศ. ๒๕๘๓
พ.ศ. ๒๕๘๔
พ.ศ. ๒๕๘๕
พ.ศ. ๒๕๘๖
พ.ศ. ๒๕๘๗
พ.ศ. ๒๕๘๘
พ.ศ. ๒๕๘๙
พ.ศ. ๒๕๙๐
พ.ศ. ๒๕๙๑
พ.ศ. ๒๕๙๒
พ.ศ. ๒๕๙๓
พ.ศ. ๒๕๙๔
พ.ศ. ๒๕๙๕
พ.ศ. ๒๕๙๖
พ.ศ. ๒๕๙๗
พ.ศ. ๒๕๙๘
พ.ศ. ๒๕๙๙
พ.ศ. ๒๖๐๐