๒๕. อตฺตโนปิ  ปเรสญฺจ อตฺถาวโห   ว   ขนฺติโก
  สคฺคโมกฺขคมํ  มคฺคํ อารุฬฺโห  โหติ  ขนฺติโก.
  ผู้มีขันติ   ชื่อว่านำประโยชน์มาให้ทั้งแก่ตนทั้งแก่ผู้อื่น,  ผู้มีขันติ
ชื่อว่าเป็นผู้ขึ้นสู่ทางไปสวรรค์และนิพพาน.
    ส.  ม.  ๒๒๒.
     
๒๖. เกวลานํปิ  ปาปานํ ขนฺติ  มูลํ  นิกนฺตติ
  ครหกลหาทีนํ   มูลํ  ขนติ  ขนฺติโก.
  ขันติ   ย่อมตัดรากแห่งบาปทั้งสิ้น,   ผู้มีขันติชื่อว่าย่อมขุดราก
แห่งความติเตียนและการละเล่ากันเป็นต้นได้.
    ส.  ม.  ๒๒๒.
     
๒๗. ขนฺติโก  เมตฺตวา  ลาภี ยสสฺสี   สุขสีลวา
  ปิโย  เทวมนุสฺสานํ    มนาโป  โหติ  ขนฺติโก.
  ผู้มีขันตินับว่ามีเมตตา  มีลาภ  มียศ  และมีสุขเสมอ,  ผู้มีขันติ
เป็นที่รักที่ชอบใจของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.
    ส.  ม.  ๒๒๒.
     
๒๘. สตฺถุโน  วจโนวาทํ  กโรติเยว  ขนฺติโก
  ปรมาย  จ  ปูชาย  ชินํ  ปูเชติ  ขนฺติโก.
  ผู้มีขันติ    ชื่อว่าทำตามคำสอนของพระศาสดา,  และผู้มีขันติ
ชื่อว่าบูชาพระชินเจ้าด้วยบูชาอันยิ่ง.
    ส.  ม.  ๒๒๒
     
๒๙. สีลสมาธิคุณานํ ขนฺติ  ปธานการณํ
  สพฺเพปิ  กุสสา  ธมฺมา ขนฺตฺยาเยว  วฑฺฒนฺติ เต.
  ขันติเป็นประธาน  เป็นเหตุ  แห่งคุณคือศีลและสมาธิ, 
กุศลธรรมทั้งปวงย่อมเจริญ  เพราะขันติเท่านั้น.
    ส.  ม.  ๒๒๒.
     
 

ขันติวรรค คือ หมวดอดทน
พุทธศาสนสุภาษิต