๑๙๕.
อสนฺเต นูปเสเวยฺย
สนฺเต เสเวยฺย ปณฺฑิโต
อสนฺโต นิรยํ เนนฺติ
,
สนฺโต ปาเปนฺติ สุคตึ
.
บัณฑิตไม่พึงคบอสัตบุรุษ พึงคบสัตบุรุษ เพราะอสัตบุรุษย่อม
นำไปสู่นรก สัตบุรุษย่อมให้ถึงสุคติ.
(โพธิสตฺต)
ขุ. ชา. วีส. ๒๗/๔๓๗.
๑๙๖.
ตครํ ว ปลาเสน
โย นโร อุปนยฺหติ
ปตฺตาปิ สุรภี วายนฺติ
เอวํ ธีรูปเสวนา
.
คนห่อกฤษณาด้วยใบไม้ แม้ใบไม้ก็หอมไปด้วยฉันใด, การ
คบกับนักปราชญ์ก็ฉันนั้น.
(โพธิสตฺต)
ขุ. ชา. วีส. ๒๗/๔๓๗.
๑๙๗.
น ปาปชนสํเสวี
อจฺจนฺตสุขเมธติ
โคธากุลํ กกณฺฏาว
กลึ ปาเปติ อตฺตนํ
.
ผู้คบคนชั่ว ย่อมถึงความสุขโดยส่วนเดียวไม่ได้, เขาย่อมยังตน
ให้ประสบโทษ เหมือนกิ้งก่าเข้าฝูงเหี้ยฉะนั้น.
(โพธิสตฺต)
ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๔๖.
๑๙๘.
ปาปมิตฺเต วิวชฺเชตฺวา
ภเชยฺยุตฺตมปุคฺคเล
โอวาเท จสฺส ติฏฺเยฺย
ปตฺเถนฺโต อจลํ สุขํ
.
ผู้ปรารถนาความสุขที่มั่นคง พึงเว้นมิตรชั่วเสีย คบแต่บุคคล
สูงสุด และพึงตั้งอยู่ในโอวาทของท่าน.
(วิมลเถร)
ขุ. เถร. ๒๖/๓๐๙.
๑๙๙.
ปูติมจฺฉํ กุสคฺเคน
โย นโร อุปนยฺหติ
กุสาปิ ปูติ วายนฺติ
เอวํ พาลูปเสวนา
.
คนห่อปลาเน่าด้วยใบหญ้าคา แม้หญ้าคาก็พลอยเหม็นเน่า
ไปด้วยฉันใด, การคบกับคนพาลก็ฉันนั้น.
(ราชธีตา)
ขุ. ชา มหา. ๒๘/๓๐๓.
๒๐๐.
ยาทิสํ กุรุเต มิตฺตํ
ยาทิสญฺจูปเสวติ
,
โสปิ ตาทิสโก โหติ
สหวาโส หิ ตาทิโส
.
คบคนเช่นใดเป็นมิตร และสมคบคนเช่นใด, เขาก็เป็นคนเช่น
นั้น เพราะการอยู่ร่วมกันย่อมเป็นเช่นนั้น.
(โพธิสตฺต)
ขุ. ชา. วีส. ๒๓/๔๓๗.
๒๐๑.
สทฺเธน จ เปสเลน จ
ปญฺวตา พหุสฺสุเตน จ
สขิตํ หิ กเรยฺย ปณฺฑิโต
.
ภทฺโท สปฺปุริเสหิ สงฺคโม
.
บัณฑิต พึงทำความเป็นเพื่อนกับคนที่ศรัทธา มีศีลเป็นที่รัก
มีปัญญาและเป็นพหุสูต, เพราะการสมาคมกับคนดี เป็นความเจริญ.
(อานนฺทเถร)
ขุ. เถร. ๒๖/๔๐๕.
เสวนาวรรค คือ หมวดคบหา
พุทธศาสนสุภาษิต
๑. หมวดตน
๒. หมวดไม่ประมาท
๓. หมวดกรรม
๔. หมวดกิเลส
๕. หมวดอดทน
๖. หมวดจิต
๗. หมวดทาน
๘. หมวดธรรม
๙. หมวดเบ็ดเตล็ด
๑๐. หมวดปัญญา
๑๑. หมวดประมาท
๑๒. หมวดบาป
๑๓. หมวดบุคคล
๑๔. หมวดบุญ
๑๕. หมวดความตาย
๑๖. หมวดวาจา
๑๗. หมวดความเพียร
๑๘. หมวดศรัทธา
๑๙. หมวดศีล
๒๐. หมวดคบหา
อักษรย่อนามคัมภีร์