๙๗. อจฺจยํ  เทสยนฺตีนํ  โย  เจ  น  ปฏิคณฺหติ
  โกปนฺตโร  โทสครุ ส  เวรํ  ปฏิมุจฺจติ.
  เมื่อเขาขอโทษ  ถ้าผู้ใดมีความขุ่นเคือง  โกรธจัด  ไม่ยอมรับ
ผู้นั้นชื่อว่าหมกเวรไว้.
  (เทวดา) สํ.  ส.  ๑๕/๓๔.
     
๙๘. อปฺปกา  เต  มนุสฺเสสุ  เย  ชนา  ปารคามิโน
  อถายํ  อิตรา  ปชา ตีรเมวานุธาวติ.
  ในหมู่มนุษย์  คนที่ถึงฝั่ง  (นิพพาน)  มีน้อย,  ส่วนประชา
นอกนี้  วิ่งอยู่ตามชายฝั่ง.
  (พุทฺธ) ขุ.  ธ.  ๒๕/๒๖.
     
๙๙. อสุภาย  จิตฺตํ  ภาเวหิ เอกคฺคํ  สุสมาหิตํ
  สติ  กายคตา  ตฺยตฺถุ  นิพฺพิทาพหุโล  ภว.
  จงอบรมจิตให้แน่วแน่มั่นคง  ด้วยอสุภสัญญา  จงมีสติไปในกาย
จงมีความเบื่อหน่ายมาก  (ในสังขารทั้งปวง).
  (วงฺคีสเถร) สํ.  ส.  ๑๕/๒๗๗.
     
๑๐๐. อหึสกา  เย  มุนโย   นิจฺจํ  กาเยน  สํวุตา 
  เต  ยนฺติ  อจฺจุตํ  านํ  ยตฺถ  คนฺตฺวา  น  โสจเร.
  มุนีเหล่าใด   เป็นผู้ไม่เบียดเบียน  สำรวมทางกายเป็นนิตย์ 
มุนีเหล่านั้น  ย่อมไปสู่สถานไม่จุติ  ที่ไปแล้วไม่ต้องเศร้าโศก.
  (พุทฺธ)  ขุ.  ธ.  ๒๕/๔๕.
     
๑๐๑.  เอวํ  กิจฺฉาภโต  โปโส ปิตุ  อปริจารโก
  ปิตริ  มิจฺฉา  จริตฺวาน  นิรยํ  โส  อุปปชฺชติ.
  ผู้ที่  (มารดา)  บิดาเลี้ยงมาโดยยากอย่างนี้  ไม่บำรุง  (มารดา)
บิดา  ประพฤติผิดใน  (มารดา)  บิดา  ย่อมเข้าถึงนรก.
  (โสณโพธิสตฺต) ขุ.  ชา.  สคฺตติ.  ๒๘/๖๖.
     
๑๐๒. เอวํ  พุทฺธํ  สรนฺตานํ  ธมฺมํ  สงฺฆญฺจ  ภิกฺขโว
  ภยํ  วา  ฉมฺภิตตฺตํ  วา โลมหํโส  น  เหสฺสติ.
  ภิกษุทั้งหลาย  !  เมื่อบุคคลระลึกถึงพระพุทธ  พระธรรม  และ
พระสงฆ์  อยู่อย่างนี้  ความกล้า  ความครั่นคร้าม   ขนพอง
สยองเกล้า จักไม่มี.
  (พุทฺธ) สํ.  ส.  ๑๕/๓๒๓.
     
๑๐๓. เอวํ  มนฺทสฺส  โปสสฺส  พาลสฺส  อวิชานโต 
  สารมฺภา  ชายเต  โกโธ โสปิ  เตเนว  ฑยฺหติ.
  ความโกรธเกิดขึ้นแก่คนโง่เขลาไม่รู้แจ้ง  เพราะความแข่งดี 
เขาย่อมถูกความโกรธนั้นแลเผา.
  (โพธิสตฺต) ขุ.  ชา.  ทสก.  ๒๗/๒๘๐.
๑๐๔.
โอโนทโร  โย  สหเต  ชิฆจฺนํ
ทานฺโต  ตปสฺสี  มิตปานโภชโน
อาหารเหตุ  น  กโรติ  ปาปํ
ตํ  เว  นรํ  สมณมาหุ  โลเก.
  คนใดมีท้องพร่อง  ย่อมทนความหิวได้   ผู้ฝึกตนมีความเพียร
กินดื่มพอประมาณ  ไม่ทำบาปเพราะอาหาร  ท่านเรียกคนนั้นแล
ว่าสมณะในโลก.
    ขุ.  ชา.  ทสก.  ๒๗/๒๗๔.
๑๐๕.  กาเม  คิทฺธา  กามรตา กาเมสุ  อธิมุจฺฉิตา
  นรา  ปาปานิ  กตฺวาน  อุปปชฺชนฺติ  ทุคฺคตึ.
  นรชนผู้กำหนัดในกาม  ยินดีในกาม  หมกมุ่นในกาม  ทำบาป
ทั้งหลาย  ย่อมเข้าถึงทุคติ.
  (ปจฺเจกพุทฺธ) ขุ.  ชา  สฏฺิ.  ๒๘/๓๓.
๑๐๖. คาเม  วา  ยทิวารญฺเ    นินฺเน  วา  ยทิวา  ถเล
ยตฺถ   อรหนฺโต  วิหรนฺติ  ตํ  ภูมิรามเณยฺยกํ.
พระอรหันต์ทั้งหลาย   อยู่ในที่ใด   คือบ้านก็ตาม  ป่าก็ตาม  
ที่ลุ่มก็ตาม  ที่ดอนก็ตาม  ที่นั้นย่อมเป็นภูมิน่ารื่นรมย์.
(พุทฺธ) ขุ.  ธ.  ๒๕/๒๘.
๑๐๗. โจทิตา  เทวทูเตหิ  เย  ปมชฺชนฺติ  มาณวา
  เต   ทีฆรตฺตํ  โสจนฺติ   หีนกายูปคา  นรา.
  คนเหล่าใด  อันเทวทูตตักเตือนแล้ว  ยังประมาทอยู่,  คนเหล่านั้น
เข้าถึงกายอันเลว  ย่อมเศร้าโศกสิ้นกาลนาน.
  (พุทฺธ) ม.  อุป.  ๑๔/๓๔๖.
๑๐๘.
โจโร  ยถา  สนฺธฺมุเข  คหีโต
สกมฺมุนา  หญฺติ  ปาปธมฺโม
เอวํ  ปชา  เปจฺจ  ปรมฺหิ  โลเก
สกมฺมุนา  หญฺติ  ปาปธมฺโม.
  โจรผู้มีความชั่ว  ถูกเขาจับได้ซึ่งหน้า  ย่อมเดือดร้อนเพราะกรรม
ของตนฉันใด  ประชาผู้มีความชั่ว  ละไปแล้ว  ย่อมเดือดร้อน
เพราะกรรมของตนในโลกหน้าฉันนั้น.
  (รฏฺปาลเถร) ขุ.  เถร.  ๒๖/๓๗๙.
๑๐๙. ชาติถทฺโธ  ธนถทฺโธ   โคตฺตถทฺโธ  จ  โย  นโร   
สญฺาตึ  อติมญฺเติ  ตํ  ปราภวโต  มุขํ.
คนใด  หยิ่งเพราะชาติ  หยิ่งเพราะทรัพย์   หยิ่งเพราะสกุล  ย่อม
ดูหมิ่นญาติของตน  ข้อนั้นเป็นเหตุแห่งความเสื่อมของคนนั้น.
(พุทฺธ) ขุ.  สุ.  ๒๕/๓๔๗.
๑๑๐. ตํ  พฺรูมิ  อุปสนฺโตติ  กาเมสุ  อนเปกฺขินํ
  คนฺถา  ตสฺส  น  วิชฺชนฺติ  อตาริ  โส  วิสตฺติกํ.
  เราเรียกผู้ไม่เยื่อใยในกามทั้งหลายนั้นว่าผู้สงบ,  เครื่องร้อยรัด
ของเขาไม่มี   เขาจึงข้ามตัณหาว้าวุ่นไปได้.
  (พุทฺธ)   ขุ.  สุ.  ๒๕/๕๐๑.
ขุ.  มหา.  ๒๙/๒๙๕,๒๙๗.
๑๑๑.
เตชวาปิ  หิ  นโร  วิจกฺขโณ
สกฺกโต  พหุชนสฺส  ปูชิโต
นารีนํ  วสงฺคโต  น  ภาสติ
ราหุนา  อุปหโตว  จนฺทิมา.
  ถึงเป็นคนมีเดช  มีปัญญาเฉียบแหลม   อันคนเป็นอันมาก
สักการบูชา อยู่ในอำนาจของสตรีเสียแล้ว  ย่อมไม่รุ่งเรือง 
เหมือนพระจันทร์ถูกพระราหูบังฉะนั้น.
  (พุทฺธ)  ขุ.  ชา  อสีติ.  ๒๘/๑๒๗.
๑๑๒. ทูเร  สนฺโต  ปกาเสนฺติ  หิมวนฺโตว  ปพฺพโต 
อสนฺเตตฺถ  น  ทิสฺสนฺติ  รตฺติขิตฺตา  ยถา  สรา.
สัตบุรุษย่อมปรากฏได้ในที่ไกล  เหมือนภูเขาหิมพานต์  อสัตบุรุษ
ถึงนั่งอยู่ในที่นี้ก็ไม่ปรากฏ  เหมือนลูกศรที่ยิงไปกลางคืน.
(พุทฺธ) ขุ. ธ.  ๒๕/๕๕.
๑๑๓. ธีโร  โภเค  อธิคมฺเม  สงฺคณฺหาติ  จ  าตเก
เตน  โส  กิตฺตึ  ปปฺโปติ  เปจฺจ  สคฺเค  ปโมทติ.
ผู้มีปรีชาได้โภคะแล้ว   ย่อมสงเคราะห์หมู่ญาติ,  เพราะการ
สงเคราะห์นั้น  เขาย่อมได้เกียรติ  ละไปแล้ว  ย่อมบันเทิง
ในสวรรค์.
(โพธิสตฺต)  ขุ.  ชา.  ฉกฺก.  ๒๗/๒๐๕.
๑๑๔.
น  ปณฺฑิตา  อตฺตสุขสฺส  เหตุ
ปาปานิ  กมฺมานิ  สมาจรนฺติ
ทุกฺเขน  ผุฏา  ขลิตาปิ  สนฺตา
ฉนฺทา  จ  โทสา  น  ชหนฺติ  ธมฺมํ.
บัณฑิต   ย่อมไม่ประพฤติกรรมชั่ว  เพราะเหตุแห่งสุขเพื่อตน,
สัตบุรุษอันทุกข์ถูกต้อง  แม้พลาดพลั้งไป  ก็ไม่ยอมละธรรม
เพราะฉันทาคติและโทสาคติ.
(สรภงฺคโพธิสตฺต) ชาตกฏฺกถา.  ๗/๓๘๘.
๑๑๕. น  เว  อนตฺถกุสเลน  อตฺถจริยา  สุขาวหา  
หาเปติ  อตฺถํ  ทุมฺเมโธ กปิ  อารามิโก  ยถา.
การบำเพ็ญประโยชน์โดยไม่ฉลาดในประโยชน์   ก็นำความสุข
มาให้ไม่ได้เลย,   ผู้มีปัญญาทรามย่อมพร่าประโยชน์   ดุจลิงเฝ้าสวน ฉะนั้น.
รอตรวจสอบที่มา๑๕.
๑๑๖. น  หิ   สพฺเพสุ  าเนสุ   ปุริโส  โหติ  ปณฺฑิโต
  อิตฺถีปิ  ปณฺฑิตา  โหติ   ตตฺถ  ตตฺถ  วิจกฺขณา.
  บุรุษจะเป็นบัณฑิตในที่ทั้งปวงก็หาไม่,  แม้สตรีก็เป็นบัณฑิตมี
ปัญญาเฉียบแหลมในที่นั้น  ๆ  ได้เหมือนกัน.
  (เทวดา)  ขุ.  ชา.  อฏฺก.  ๒๗/๒๔๑.
๑๑๗.
นินฺทาย  นปฺปเวเธยฺย
น  อุณฺณเมยฺย  ปสํสิโต  ภิกฺขุ
โลกํ  สห  มจฺฉริเยน
โกธํ  เปสุณิยญฺจ  ปนุเทยฺย.
  ภิกษุไม่ควรหวั่นไหวเพราะนินทา   ได้รับสรรเสริญ  ก็ไม่ควร
เหิมใจ   พึงบรรเทาความโลภกับความตระหนี่  ความโกรธ
และความส่อเสียดเสีย.
  (พุทฺธ) ขุ.  สุ.  ๒๕/๕๑๖.
ขุ.  มหา.  ๒๙/๔๖๔,๔๖๖.
๑๑๘.  ปณฺฑิโต  จ  วิยตฺโต  จ  วิภาวี  จ  วิจกฺขโณ 
  ขิปฺปํ   โมเจติ  อตฺตานํ   มา  ภายิตฺถาคมิสฺสติ.
  ผู้ฉลาดเฉียบแหลม  แสดงเหตุและไม่ใช่เหตุได้แจ่มแจ้ง  และ
คาดเห็นผลประจักษ์   ย่อมเปลื้องตน (จากทุกข์) ได้ฉับพลัน
อย่ากลัวเลย  เขาจักกลับมาได้.
  (ราช) ขุ.  ชา.  มหา.  ๒๘/๓๔๔.
๑๑๙. ปณฺฑิโตติ  สมญฺาโต   เอกจริยํ  อธิฏฺิโต
  อถาปิ  เมถุเน  ยุตฺโต  มนฺโทว  ปริกิสฺสติ.
  ผู้ตั้งใจประพฤติตนเป็นคนโสด   เขารู้กันว่าเป็นบัณฑิต, 
ส่วนคนโง่ฝักใฝ่ในเมถุน  ย่อมเศร้าหมอง.
  (พุทฺธ) ขุ.  สุ.  ๒๕/๔๙๔.       
ขุ.  มหา.  ๒๙/๑๘๖.
๑๒๐.
ปหาย  ปญฺจาวรณานิ  เจตโส
อุปกฺกิเลเส   พฺยปนุชฺช  สพฺเพ
อนิสฺสิโต  เฉตฺวา  สิเนหโทสํ
เอโก  จเร  ขคฺควิสาณกปฺโป.
  ผู้ฉลาดและเครื่องกั้นจิต  ๕  ประการ  กำจัดอุปกิเลสทั้งหมด
ตัดรักและชังแล้ว  อันตัณหาและทิฏฐิอาศัยไม่ได้  พึงเที่ยวไป
ผู้เดียวเหมือนนอแรด ฉะนั้น.
  (พุทฺธ) ขุ.  สุ.  ๒๕/๓๓๘.       
ขุ.  จู.  ๓๐/๔๑๐.
๑๒๑. ปุตฺตา  มตฺถิ  ธนมตฺถิ    อิติ  พาโล  วิหญฺติ  
  อตฺตา  หิ  อตฺตโน  นตฺถิ  กุโต  ปุตฺตา  กุโต  ธนํ.
  คนเขลาคิดว่า  เรามีบุตร   เรามีทรัพย์  จึงเดือดร้อน,  ที่แท้ตน
ของตนก็ไม่มี  จะมีบุตร  มีทรัพย์  มาแต่ที่ไหนเล่า.
  (พุทฺธ)  ขุ.  ธ.  ๒๕/๒๓.
๑๒๒. พฺรหฺมาติ  มาตาปิตโร   ปุพฺพาจริยาติ  วุจฺจเร
  อาหุเนยฺยา  จ  ปุตฺตานํ    ปชาย  อนุกมฺปกา.
  มารดาบิดา  ท่านว่าเป็นพรหม   เป็นบุรพาจารย์  เป็นที่นับถือ
ของบุตร  และเป็นผู้อนุเคราะห์บุตร.
  (โสณโพธิสตฺต) ขุ.  ชา.  สตฺตติ.  ๒๗/๖๖.
๑๒๓.  มธุวา  มญฺตี  พาโล   ยาว  ปาปํ  น  ปจฺจติ,
  ยทา  จ  ปจฺจตี  ปาปํ   อถ  ทุกขํ  นิคจฺฉติ.
  ตราบเท่าที่บาปยังไม่ให้ผล  คนเขลายังเข้าใจว่ามีรสหวาน, 
แต่บาปให้ผลเมื่อใด  คนเขลาย่อมประสบทุกข์เมื่อนั้น.
  (พุทฺธ) ขุ.  ธ.  ๒๕/๒๔.
๑๒๔. ยํ  อุสฺสุกฺกา  สงฺฆรนฺติ  อลกฺขิกา  พหุ  ธนํ    
สิปฺปวนฺโต  อสิปฺปา  วา  ลกฺขิกา  ตานิ  ภุญฺชเร.
คนไม่มีโชค  มีศิลป์หรือไม่มีศิลป์ก็ตาม   ขวนขวายรวบรวม
ทรัพย์ใดไว้ได้เป็นอันมาก   ส่วนคนมีโชคย่อมบริโภคทรัพย์เหล่านั้น.
(พุทฺธ)  ขุ.  ชา.  ติก.  ๒๗/๑๑๗.
๑๒๕. ยํ  ยํ  ชนปทํ  ยาติ   นิคเม  ราชธานิโย
สพฺพตฺถ  ปูชิโต  โหติ  โย  มิตฺตานํ  น  ทุพฺภติ.
ผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร  ไปสู่แว่นแคว้น  ตำบลหรือเมืองหลวง
ใด ๆ  ก็ตาม  ย่อมมีผู้บูชาในที่ทั้งปวง.
(เตมิยโพธิสตฺต) ขุ.  ชา.  มหา.  ๒๘/๑๕๔.
๑๒๖. ยโต  จ  โหติ  ปาปิจฺโฉ   อหิริโก  อนาทโร
ตโต  ปาปํ  ปสวติ   อปายํ  เตน  คจฺฉติ.
คนปรารถนาลามก  ไม่ละอาย  ไม่เอื้อเฟื้อ  เพราะเหตุใด,  เขา
ย่อมสร้างบาปเพราะเหตุนั้น  เขาไปสู่อบาย  เพราะเหตุนั้น.
(พุทฺธ)  ขุ.  อิติ.  ๒๕/๒๕๖.
๑๒๗.  ยมฺหา  ธมฺมํ  วิชาเนยิย สมฺมาสมฺพุทฺธเทสิตํ 
สกฺกจฺจํ  นํ  นมสฺเสยฺย  อคฺคิหุตฺตํว   พฺราหฺมโณ.
บุคคลรู้แจ้งธรรม   ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว 
จากผู้ใด  พึงนอบน้อมผู้นั้นโดยเคารพ  เหมือนพราหมณ์
นับถือการบูชาไฟ ฉะนั้น.
(พุทฺธ) ขุ.  ธ.  ๒๕/๖๘.
๑๒๘. ยสฺส  ปาปํ  กตํ  กมฺมํ  กุสเลน  ปิถียติ
  โสมํ  โลกํ  ปภาเสติ  อพฺภา  มุตฺโตว  จนฺทิมา.
  ผู้ใดทำกรรมชั่วแล้ว  ละเสียได้ด้วยกรรมดี,   ผู้นั้นย่อมยังโลกนี้
ให้สว่าง  เหมือนพระจันทร์พ้นจากเมฆหมอกฉะนั้น.
  (องฺคุลิมาล)  ม.  ม.  ๑๒/๔๘๗.
๑๒๙. ยสฺส  รุกฺขสฺส  ฉายาย  นิสีเทยฺย  สเยยฺย  วา
  น  ตสฺส  สาขํ  ภญฺเชยฺย  มิตฺตทุพฺโภ   หิ  ปาปโก.
  บุคคลนั้นหรือนอนที่ร่มเงาต้นไม้ใด    ไม่ควรหักกิ่งต้นไม้นั้น,
เพราะผู้ประทุษร้ายมิตร  เป็นคนเลวทราม.
  (โพธิสตฺต) ขุ.  ชา.  มหา.  ๒๘/๒๖.
๑๓๐.  เย  จ  ธมฺมสฺส  กุสลา โปราณสฺส  ทิสํปติ 
จาริตฺเตน  จ  สมฺปนฺนา  น  เต  คจฺฉนฺติ  ทุคฺคตึ.
ชนเหล่าใด   ฉลาดในขนบธรรมเนียมโบราณ  และประกอบด้วย
จารีตประเพณีดี,  ชนเหล่านั้น  ย่อมไม่ไปสู่ทุคติ.
(โสณโพธิสตฺต)  ขุ.  ชา.  สตฺตติ.  ๒๘/๖๓.
๑๓๑.  เย  น  กาหนฺติ  โอวาทํ   นรา  พุทฺเธน  เทสิตํ
พฺยสนํ  เต  คมิสฺสนฺติ  รกฺขสีหิว  วาณิชา.
ผู้ใดจักไม่ทำตามโอวาทที่ผู้รู้แสดงแล้ว,  ผู้นั้นจักถึงความย่อยยับ
เหมือนพ่อค้าถึงความย่อยยับเพราะพวกโจรสลัดฉะนั้น.
(พุทฺธ)  ขุ.  ชา.  ทุก.  ๒๗/๗๑.
๑๓๒. โย  จตฺตานํ  สมุกฺกํเส  ปเร  จ  อวชานติ
  นิหีโน  เสน  มาเนน  ตํ  ชญฺา  วสโล  อิติ.
  ผู้ใดยกย่องตนและดูหมิ่นผู้อื่น,   เป็นคนเลวเพราะการถือตัวเอง
พึงรู้ผู้นั้นว่าเป็นคนเลว.
  (พุทฺธ) ขุ.  สุ.  ๒๕/๓๕๑.
๑๓๓.  โย  จ  สีลญฺจ  ปญฺฺจ สุตญฺจตฺตนิ  ปสฺสติ 
  อุภินฺนมตฺถํ  จรติ  อตฺตโน  จ  ปรสฺส  จ.
  ผู้ใดเห็นศีล   ปัญญา  และสุตะ  ในตน.  ผู้นั้นย่อมประพฤติ
ประโยชน์ตนและผู้อื่นทั้ง  ๒  ฝ่าย.
  (โพธิสตฺต) ขุ.  ชา.  สตฺตก.  ๒๗/๒๒๑.
๑๓๔. โย  จ  เมตฺตํ  ภาวยติ  อปฺปมาณํ   ปฏิสฺสโต
  ตนู  สํโยชนา  โหนฺติ  ปสฺสโต  อุปธิกฺขยํ.
  ผู้ใดมีสติเฉพาะหน้า  เจริญเมตตาไม่มีประมาณ,  สังโยชน์
ของผู้เห็นความสิ้นแห่งอุปธินั้น  ย่อมเบาบาง.
  (พุทฺธ) องฺ.  อฏฺก.  ๒๓/๑๕๒.
๑๓๕.  โย  ทนฺธกาเล  ตรติ   ตรณีเย  จ  ทนฺธเย
  อโยนิโส  สํวิธาเนน พาโล  ทุกฺขํ  นิคจฺฉติ.
  ผู้ใดย่อมรีบในกาลที่ควรช้า   และช้าในกาลที่ควรรีบ,  ผู้นั้น
เป็นคนเขลา  ย่อมถึงทุกข์  เพราะการจัดทำโดยไม่แยบคาย.
  (สมฺภูตเถร) ขุ.  เถร.  ๒๖/๓๑๓.
๑๓๖. โย  ทนฺธกาเล  ทนฺเธติ  ตรณีเย  จ  ตารเย 
โยนิโส  สํวิธาเนน  สุขํ  ปปฺโปติ  ปณฺฑิโต.
ผู้ใดช้าในกาลที่ควรช้า และรีบในกาลที่ควรรีบ,  ผู้นั้นเป็นผู้
ฉลาด  ย่อมถึงสุข  เพราะการจัดทำโดยแยบคาย.
(สมฺภูตเถร) ขุ.  เถร.   ๒๖/๓๑๓.
๑๓๗. โย  น  หนฺติ  น  ฆาเตติ  น  ชินาติ  น  ชาปเย
  เมตฺตโส  สพฺพภูตานํ  เวรนฺตสฺส  น  เกนจิ.
  ผู้ใดไม่ฆ่าเอง   ไม่ให้ผู้อื่นฆ่า   ไม่ชนะเอง  ไม่ให้ผู้อื่นชนะ,
ผู้นั้น  ชื่อว่ามีเมตตาต่อสัตว์ทั้งปวง  และไม่มีเวรกับใคร ๆ.
  (พุทฺธ) องฺ.  อฏฺก.  ๒๓/๑๕๒.
๑๓๘. โย  มาตรํ  ปิตรํ  วา มจฺโจ  ธมฺเมน  โปสติ
  อิเธว  นํ  ปสํสนฺติ  เปจฺจ  สคฺเค  ปโมทติ.
  ผู้ใดเลี้ยงมารดาบิดาโดยธรรม    บัณฑิตย่อมสรรเสริญผู้นั้น
ในโลกนี้,  เขาละไปแล้ว  ย่อมบันเทิงในสวรรค์.
  (สุวณฺณสามโพธิสตฺต)  ขุ.  ชา.  มหา.  ๒๘/๑๙๖.
๑๓๙. 
โย  เว  กตญฺญู   กตเวทิ  ธีโร     
กลฺยาณมิตฺโต  ทฬฺหภตฺติ  จ  โหติ
ทุกฺขิตสฺส   สกฺกจฺจ   กโรติ  กิจฺจํ
ตถาวิธํ  สปฺปุริสํ  วทนฺติ.
ผู้มีปรีชาใด   เป็นคนกตัญญูกตเวที  มีกัลยาณมิตรสนิทสนมกัน
และช่วยทำกิจของมิตรผู้ตกยากโดยเต็มใจ  ท่านเรียกคน
อย่างนั้นว่าสัตบุรุษ.
(สรภงฺคโพธิสตฺต) ขุ.  ชา.  จตฺตาฬีส.  ๒๗/๕๔๑.
๑๔๐. โย  หเว  อิณมาทาย  ภุญฺชมาโน  ปลายติ
  น  หิ  เต  อิณมตฺถีติ  ตํ  ชญฺา  วสโล  อิติ.
  ผู้ใด   กู้หนี้เขามากินมาใช้แล้วหลบหนีไป  ด้วยปฏิเสธว่าหนี้ของ
ท่านไม่มี   พึงรู้ผู้นั้นว่าเป็นคนเลว.
  (พุทฺธ) ขุ.  สุ.  ๒๕/๓๔๐.
๑๔๑.
โย  โหติ  พฺยตฺโต   จ  วิสารโท  จ
พหุสฺสุโต  ธมฺมธโร  จ  โหติ
ธมฺมสฺส  โหติ  อนุธมฺมจารี
ส   ตาทิโส  วุจฺจติ  สงฺฆโสภโณ.
  ผู้ใดเป็นคนฉลาด   แกล้วกล้า  เป็นผู้ฟังมาก  ทรงธรรม  และ
ประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม,  คนเช่นนั้นท่านเรียกว่า  ยังหมู่
ให้งดงาม.
  (พุทฺธ) องฺ.  จตุกฺก.  ๒๑/๑๐.
๑๔๒.
ราคญฺจ  โทสญฺจ  ปหา  โมหํ    
สนฺทาลยิตฺวาน   สํโยชนานิ
อสนฺตสํ  ชีวิตสงฺขยมฺหิ
เอโก  จเร   ขคฺควิสาณกปฺโป.
  บัณฑิตละราคะ  โทสะ   และโมหะ   ทำลายสังโยชน์ได้แล้ว
ย่อมไม่หวาดเสียวในสิ้นชีวิต.   พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด
ฉะนั้น.
  (พุทฺธ) ขุ.  สุ.  ๒๕/๓๓๙.               
ขุ.  จู.  ๓๐/๔๒๖, ๔๒๗.
๑๔๓. สเจ  อินฺทฺริยสมฺปนฺโน  สนฺโต  สนฺติปเท  รโต
  ธาเรติ  อนฺติมํ  เทหํ  เชตฺวา  มารํ  สวาหนํ.
  ถ้าเป็นผู้มีอินทรีย์สมบูรณ์  สงบและยินดีในทางสงบแล้ว  จึงชื่อ
ว่าชนะมารพร้อมทั้งพาหนะ  ทรงไว้ซึ่งกายอันมีในที่สุด.
  (พุทฺธ) ขุ.  อิติ.  ๒๕/๒๗๑.
๑๔๔. สเจ  ภายถ  ทุกฺขสฺส  สเจ  โว  ทุกฺขมปฺปิยํ
  มา  กตฺถ  ปาปกํ  กมฺมํ  อาวี  วา  ยทิ  วา  รโห.
  ถ้าท่านกลัวทุกข์  ถ้าท่านไม่รักทุกข์,   ก็อย่าทำบาปกรรม
ทั้งในที่แจ้งทั้งในที่ลับ.
  (พทฺธ) ขุ.  อุ.  ๒๕/๑๕๐.
๑๔๕. 
สพฺพา  ทิสา  อนุปริคมฺม   เจตสา   
เนวชฺฌคา  ปิยตรมตฺตนา  กฺวจิ
เอวํ  ปิโย  ปุถุ  อตฺตา  ปเรสํ
ตสฺมา  น  หึเส  ปรํ  อตฺตกาโม.
เราคิดค้นหาทุกทิศแล้ว  ก็ไม่พบผู้อื่นซึ่งเป็นที่รักยิ่งกว่าตน
ในที่ไหน ๆ,  ถึงผู้อื่นก็มีตนเป็นที่รักมากอย่างนี้  เพราะฉะนั้น
ผู้รักตน จึงไม่ควรเบียดเบียนผู้อื่น.
(พุทฺธ)  สํ.  ส.  ๑๕/๑๐๙.
๑๔๖. สลาภํ  นาติมญฺเยฺย   นาญฺเสํ  ปิหยญฺจเร
  อญฺเสํ  ปิหยํ  ภิกฺขุ  สมาธึ   นาธิคจฺฉติ.
  ไม่พึงดูหมิ่นลาภของตน   ไม่ควรเที่ยวปรารถนาลาภของผู้อื่น
ภิกษุปรารถนาลาภของผู้อื่น   ย่อมไม่บรรลุสมาธิ.
  (พุทฺธ) ขุ.  ธ.  ๒๕/๖๕.
๑๔๗. สาติเยสุ  อนสฺสาวี  อติมาเน  จ  โน  ยุโต
  สณฺโห  จ  ปฏิภาณวา น  สทฺโธ  น  วิรชฺชติ.
  ผู้ไม่ระเริงไปในอารมณ์ที่ชอบใจ  ไม่ประกอบในความดูหมิ่น
เป็นผู้ละเอียดเฉียบแหลม  ย่อมไม่เชื่อง่าย  ไม่หน่ายแหนง.
  (พุทฺธ) ขุ.  สุ.  ๒๕/๕๐๑.       
ขุ.  มหา.  ๒๙/๒๗๙,๒๘๔.
๑๔๘. สารตฺตา  กามโภเคสุ  คิทฺธา  กาเมสุ  มุจฺฉิตา
อติสารํ  น  พุชฺฌนฺติ  มจฺฉา  ขิปฺปํว  โอฑฺฑิตํ.
ผู้ติดใจในการบริโภคกาม  ยินดีหมกมุ่นในกามทั้งหลาย  ย่อม
ไม่รู้สึกซึ่งความถลำตัว  เหมือนปลาถลันเข้าลอบที่เขาดักไว้
ไม่รู้สึกตัว ฉะนั้น.
(พุทฺธ)  สํ.  ส.  ๑๕/๑๐๘.
๑๔๙.
สุปิเนน  ยถาปิ  สงฺคตํ
ปฏิพุทฺโธ  ปุริโส  น  ปสฺสติ
เอวมฺปิ  ปิยายิตํ  ชนํ
เปตํ  กาลกตํ  น  ปสฺสติ.
คนผู้ตื่นขึ้นแล้ว   ย่อมไม่เห็นอารมณ์อันประจวบด้วยความฝัน
ฉันใด,  คนผู้อยู่ย่อมไม่เห็นชนอันตนรักทำกาละล่วงไปฉันนั้น.
(พุทฺธ) ขุ.  สุ.  ๒๕/๔๙๒.               
ขุ.  มหา.  ๒๙/๑๕๑,๑๕๒.
๑๕๐. เสหิ  ทาเรหิ  อสนฺตุฏฺโ  เวสิยาสุ  ปทุสฺสติ
  ทุสฺสติ  ปรทาเรสุ  ตํ  ปราภวโต  มุขํ.
  ผู้ไม่สันโดษด้วยภริยาของตน  ย่อมซุกซนในหญิงแพศยา  และ
ประทุษร้ายในภริยาของคนอื่น,  นั่นเป็นเหตุแห่งความเสื่อม.
  (พุทฺธ) ขุ.  สุ.  ๒๕/๓๔๘.
     


ปุคคลวรรค คือ หมวดบุคคล
พุทธศาสนสุภาษิต