๑๕๑. อิธ  นนฺทติ  เปจฺจ  นฺนทติ   กตปุญฺโ  อุภยตฺถ  นนฺทติ
  ปุญฺํ  เม  กตนฺติ  นนฺทติ ภิยฺโย  นนฺทติ  สุคตึ  คโต.
  ผู้ทำบุญแล้ว  ย่อมยินดีในโลกนี้  ตายแล้ว  ย่อมยินดี  ชื่อว่า
ย่อมยินดีในโลกทั้งสอง.   เขาย่อมยินดีว่าเราทำบุญไว้แล้ว
ไปสู่สุคติ ย่อมยินดียิ่งขึ้น.
  (พุทฺธ) ขุ.  ธ.  ๒/๑๗.
     
๑๕๒. อิธ  โมทติ  เปจฺจ  โมทติ    กตปุญฺโ  อุภยตฺถ  โมทติ
  โส  โมทติ  โส  ปโมทติ  ทิสฺวา  กมฺมวิสุทฺธิมตฺตโน.
  ผู้ทำบุญแล้ว  ย่อมบันเทิงในโลกนี้  ละไปแล้ว  ย่อมบันเทิง
ชื่อว่าย่อมบันเทิงในโลกทั้งสอง,   เขาเห็นความบริสุทธ์แห่ง
กรรมของตนแล้ว  ย่อมบันเทิงปราโมทย์.
  (พุทฺธ) ขุ.  ธ.  ๒๕/๑๗.
     
๑๕๓. ปุญฺญฺเจ  ปุริโส  กยิรา กยิราเถนํ  ปุนปฺปุนํ
  ตมฺหิ  ฉนฺทํ  กยิราถ   สุโข  ปุญฺสฺส  อุจฺจโย.
  ถ้าบุรุษจะพึงทำบุญ  ควรทำบุญนั้นบ่อย ๆ  ควรทำความพอใจ
ในบุญนั้น  การสั่งสมบุญนำความสุขมาให้.
  (พุทฺธ) ขุ.  ธ.  ๒๕/๓๐.
     
๑๕๔. มาวมญฺเถ  ปุญฺสฺส    น  มตฺตํ  อาคมิสฺสติ  
  อุทพินฺทุนิปาเตน   อุทกุมฺโภปิ  ปูรติ
  อาปูรติ  ธีโร  ปุสฺส   โถกํ  โถกํปิ  อาจินํ.
  ไม่ควรดูหมิ่นต่อบุญว่า  มีประมาณน้อย จัดไม่มาถึง, แม้หม้อน้ำ
ย่อมเต็มได้ด้วยหยาดน้ำที่ตก  ฉันใด,  ผู้มีปัญญาสั่งสมบุญ
แม้ทีละน้อย ๆ  ย่อมเต็มได้ด้วยบุญ  ฉันนั้น.
  (พุทฺธ) ขุ.  ธ.  ๒๕/๓๑.
     
๑๕๕. สหาโย  อตฺถชาตสฺส  โหติ  มิตฺตํ  ปุนปิปุนํ
  สยํ  กตานิ  ปุานิ   ตํ มิตฺตํ  สมฺปรายิกํ.
  สหายเป็นมิตรของคนผู้มีความต้องการเกิดขึ้นบ่อย ๆ, 
บุญทั้งหลายที่ตนทำเอง  บุญนั้นจะเป็นมิตรในสัมปรายภพ.
  (พุทฺธ)  สํ.  ส.  ๑๕/๕๑.
     
 

ปุญญวรรค คือ หมวดบุญ
พุทธศาสนสุภาษิต