๖๒. อกฺโกจฺฉิ  มํ  อวธิ  มํ   อชินิ  มํ  อหาสิ  เม
  เย  จ  ตํ  อุปนยฺหนฺติ   เวรํ  เตสํ  น  สมฺมติ.
  ผู้ใดผูกอาฆาตว่า  เขาได้ด่าเรา  ได้ฆ่าเรา  ได้ชนะเรา 
ได้ลักของของเรา  ดังนี้  เวรของผู้นั้นย่อมไม่ระงับ.
  (พุทฺธ)  ขุ.  ธ.  ๒๕/๑๕.
     
๖๓.  อกฺโกจฺฉิ  มํ  อวธิ  มํ   อชินิ  มํ  อหาสิ  เม
  เย  จ  ตํ  นูปนยฺหนฺติ  เวรํ  เตสูปสมฺมติ.
  ผู้ใดไม่ผูกอาฆาตว่า  เขาได้ด่าเรา  เขาได้ฆ่าเรา  ได้ชนะเรา
ได้ลักของของเรา  ดังนี้  เวรของผู้นั้นย่อมระงับ.
  (พุทฺธ)  ขุ.  ธ.  ๒๕/๑๕.
     
๖๔.
อจฺจิ  ยถา  วาตเวเคน  ขิตฺตํ
อตฺถํ  ปเลติ  น  อุเปติ  สงฺขํ 
เอวํ  มุนี  นามกายา  วิมุตฺโต
อตฺถํ  ปเลติ  น  อุเปติ  สงฺขํ.
  เปลวไฟที่ถูกกำลังลมพัดดับวูบไป  ย่อมกำหนดนับไม่ได้ฉันใด,
ผู้รู้พ้นไปแล้วจากนามกาย ดับวูบไป ย่อมกำหนดนับไม่ได้ฉันนั้น.
  (พุทฺธ)  ขุ.  สุ.  ๒๕/๕๓๙. 
ขุ.  จู.  ๓๐/๑๓๖.
     
๖๕. อินฺทฺริยานิ  มนุสฺสานํ    หิตาย  อหิตาย  จ
  อรกฺขิตานิ   อหิตาย   รกฺขิตานิ  หิตาย  จ.
  อินทรีย์ของมนุษย์มีอยู่เพื่อประโยชน์  และมิใช่ประโยชน์  คือ
ที่ไม่รักษา  ไม่เป็นประโยชน์,  ที่รักษา  จึงเป็นประโยชน์.
  (ปาราสริยเถร) ขุ.  เถร.  ๒๖/๓๗๒.
     
๖๖. ตสฺมา  หิ  ปณฺฑิโต  โปโส  สมฺปสฺสํ  อตฺถมตฺตโน
  โลภสฺส  น  วสํ  คจฺเฉ  หเนยฺย  ทิสกํ  มนํ.
  ผู้เป็นบัณฑิต  เมื่อเล็งเห็นประโยชน์ตน  ไม่พึงลุอำนาจของ
โลภะ  พึงกำจัดน้ำใจที่ละโมภเสีย.
  (พุทฺธ) ขุ.  ชา.  ปกิณฺณก.  ๒๗/๓๙๖.
     
๖๗. นกฺขตฺตํ  ปฏิมาเนนฺตํ     อตฺดถ  พาลํ  อุปจฺจคา 
  อตฺโถ  อตฺถสฺส  นกฺขตฺตํ   กึ  กริสฺสนฺติ  ตารกา.
  ประโยชน์ได้ล่วงเลยคนเขลาผู้มัวถือฤกษ์อยู่,   ประโยชน์เป็นฤกษ์
ของประโยชน์  ดวงดาวจักทำอะไรได้.
  (โพธิสตฺต)  ขุ.  ชา.  เอก.  ๒๗/๑๖.
     
๖๘.  น  สาธุ  พลวา  พาโล   สาหสํ  วินฺทเต  ธนํ
  กนฺทนฺตเมตํ  ทุมฺเมธํ   กฑฺฒนฺติ  นิรยํ  ภุสํ.
  คนเขลา  มีกำลัง  หาทรัพย์อย่างผลุนผลัน  ไม่ดี,  นายนิรยบาล
ย่อมฉุดคนโง่มีปัญญาทรามผู้คร่ำครวญอยู่นั้น  ไปสู่นรกอันร้ายกาจ.
  (มโหสถโพธิสตฺต)  ขุ.  ชา.  วีส.  ๒๗/๔๒๕.
     
๖๙. ปญฺจ  กามคุณา  โลเก มโนฉฏฺา  ปเวทิตา
  เอตฺถ  ฉนฺทํ  วิราชิตฺวา  เอวํ  ทุกฺขา  ปมุจฺจติ.
  กามคุณ  ๕  ในโลก  มีใจเป็นที่  ๖  อันท่านชี้แจงไว้แล้ว,  บุคคล
คลายความพอใจในกามคุณนี้แล้ว   ย่อมพ้นจากทุกข์ได้อย่างนี้.
  (พุทฺธ)  สํ.  ส.  ๑๕/๒๓.
     
๗๐. ปรทุกฺขูปธาเนน  โย  อตฺตโน  สุขมิจฺฉติ   
  เวรสํสคฺคสํสฏฺโ   เวรา  โส  น  ปริมุจฺจติ. 
  ผู้ใด  ต้องการสุขเพื่อตน   ด้วยการก่อทุกข์แก่ผู้อื่น,  ผู้นั้น
ชื่อว่า  พัวพันไปด้วยเวร  ย่อมไม่พ้นจากเวร.
  (พุทฺธ)  ขุ.  ธ.  ๒๕/๕๓.
     
๗๑. ปริตฺตํ  ทารุมารุยฺห    ยถา  สีเท  มหณฺณเว
  เอวํ  กุสีตมาคมฺม   สาธุชีวีปิ  สีหติ.
  คนเกาะไม้ฟืนเล็ก ๆ  พึงจมลงในทะเลฉันใด  คนมั่งมีอาศัยความ
เกียจคร้านก็ล่มจมฉันนั้น.
  (วิมลเถร) ขุ.  เถร.  ๒๖/๓๐๙.
     
๗๒. พลํ  จนฺโท  พลํ  สุริโย  พลํ  สมณพฺราหฺมณา
  พลํ  เวลา  สมุทฺทสฺส พลาติพลมิตฺถิโย.
  พระจันทร์  พระอาทิตย์  สมณพราหมณ์  และฝั่งทะเล  ต่างก็
มีกำลัง,  แต่สตรีมีกำลังยิ่งกว่ากำลัง  (เหล่านั้น).
  (มหาชนก)  ขุ.  ชา.  นวก.  ๒๗/๒๖๑.
     
๗๓. พหูนํ  วต  อตฺถาย อุปฺปชฺชนฺติ  ตถาคตา
  อิตฺถีนํ  ปุริสานญฺจ   เย  เต   สาสนการกา.
  พระตถาคตเจ้าย่อมเกิดขึ้น   เพื่อประโยชน์แก่คนหมู่มาก  คือ
สตรีและบุรุษผู้ทำตามคำสอน.
  (วงฺคีสเถร) ขุ.  เถร.  ๒๖/๔๓๗.
     
๗๔. ยตฺถ  โปสํ  น  ชานนฺติ   ชาติยา  วินเยน  วา
  น   ตตฺถ  มานํ  กยิราถ   วสํ  อญฺาตเก  ชเน.
  ในที่ใด  ยังไม่รู้จักคนโดยกำเนิดหรือโดยขนบประเพณี  เมื่ออยู่
ในที่นั้น  หมู่คนที่ยังไม่รู้จักกัน  ไม่ควรทำความถือตัว.
  (มหาททฺทรโพธิสตฺต)  ขุ.  ชา.  จตุกฺก.  ๒๗/๑๓๑.
     
๗๕. เย  จ  กาหนฺติ  โอวาทํ  นรา  พุทฺเธน  เทสิตํ
  โสตฺถึ  ปรํ  คมิสฺสนฺติ  วลาเหเนว  วาณิชา.
  คนใด  จัดทำตามโอวาทที่ผู้รู้แสดงแล้ว  คนนั้นจักถึงฝั่งที่สวัสดี
เหมือนพ่อค้าถึงฝั่งที่สวัสดีเพราะม้าวลาหก.
  (พุทฺธ) ขุ.  ชา.  ทุก.  ๒๗/๗๑.
     
๗๖. เย  วุฑฺฒมปจายนฺติ  นรา  ธมฺมสฺส  โกวิทา
  ทิฏฺเ   ธมฺเม  จ  ปาสํสา  สมฺปราโย  จ  สุคฺคติ.
  คนรู้จักขนบธรรมเนียม  ย่อมยำเกรงผู้เฒ่าผู้แก่  ในชาตินี้ก็มีผู้
สรรเสริญ  ชาติหน้าก็ไปดี. 
  (พุทฺธ) ขุ. ชา  เอก.  ๒๗/๑๒.
     
๗๗.  รูปา  สทฺทา  คนฺธา  รสา  ผสฺสา  ธมฺมา  จ  เกวลา
  เอตํ  โลกามิสํ โฆรํ    เอตฺถ  โลโก  วิมุจฺฉิโต.
  รูป  เสียง  กลิ่น  รส  ผัสสะ   และธรรมารมณ์นั้น  ล้วนเป็น
โลกามิสอันร้ายกาจ,  สัตวโลกหมกมุ่นอยู่ในอารมณ์เหล่านี้.
  (พุทฺธ) สํ. ส.  ๑๕/๑๖๖.
     
๗๘. วิเทสวาสํ  วสโต  ชาตเวทสเมนปิ
  ขมิตพฺพํ  สปญฺเน  อปิ   ทาสสฺส  ตชฺชิตํ.
  แม้มีปัญญารุ่งโรจน์อย่างไฟ   เมื่อยู่ในต่างประเทศก็ควรอดทน
คำขู่เข็ญแม้ของทาส.
  (มหาททฺทรโพธิสตฺต)  ขุ.  ชา.  จตุกฺก.  ๒๗/๑๓๑.
     
 

ปกิณณกวรรค คือ หมวดเบ็ดเตล็ด
พุทธศาสนสุภาษิต