๑๗๓. อปฺปเกนปิ  เมธาวี ปาภเฏน  วิจกฺขโณ
  สมุฏาเปติ  อตฺตานํ  อณํ  อคฺคึว  สนฺธมํ.
  ผู้มีปัญญาเฉลียวฉลาด   ย่อมตั้งตนได้ด้วยต้นทุนแม้น้อย
เหมือนคนก่อไฟน้อยขึ้นฉะนั้น.
  (พุทฺธ) ขุ.  ชา.  เอก.  ๒๗/๒.
     
๑๗๔. อโมฆํ  ทิวสํ  กยิิรา อปฺเปน  พหุเกน  วา
  ยํ  ยํ  วิวหเต  รตฺติ ตทูนนฺตสฺส  ชีวิตํ.
  ควรทำวันคืนไม่ให้เปล่าจากประโยชน์น้อยหรือมาก  เพราะวันคืน ผ่านบุคคลใดไป  ชีวิตของบุคคลนั้น  ย่อมพร่องจากประโยชน์นั้น.
  (สิริมณฺฑเถร) ขุ.  เถร.  ๒๖/๓๓๕.
     
๑๗๕. อุฏิาตา  กมฺมเธยฺเยสุ   อปฺปมตฺโต  วิธานวา 
  สมํ  กปฺเปติ  ชีวิตํ    สมฺภตํ  อนุรกฺขติ.
  ผู้ขยันในหน้าที่การงาน  ไม่ประมาท  เข้าใจจัดการ  เลี้ยงชีวิต
พอสมควร  จึงรักษาทรัพย์ที่หามาได้.
  (พุทฺธ)  องฺ.  อฏฺก.  ๒๓/๒๙๘.
     
๑๗๖. จกฺขุมา  วิสมานีว  วิชฺชมาเน  ปรกฺกเม
  ปณฺฑิโต  ชีวโลกสฺมึ  ปาปานิ  ปริวชฺชเย.
  เมื่อความบากบั่นมีอยู่   บัณฑิตพึงเว้นบาปในโลกนี้เสีย 
เหมือนคนมีจักษุเว้นทางอันไม่เรียบร้อยฉะนั้น.
  (พุทฺธ) ขุ.  อุ.  ๒๕/๑๔๙.
     
๑๗๗. โย  จ  วสฺสสตํ  ชีเว   กุสีโต   หีนวีริโย
  เอกาหํ  ชีวิตํ  เสยฺโย วิริยํ  อารภโต  ทฬฺหํ.
  ผู้เกียจคร้าน  มีความเพียรเลว  พึงเป็นอยู่ตั้งร้อยปี  ส่วนผู้
ปรารภความเพียรมั่นคง  มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียว ก็ประเสริฐกว่า.
  (พุทฺธ) ขุ.  ธ.  ๒๕/๓๐.
     
๑๗๘.  โย  จ  สีตญฺจ  อุณฺหญฺจ ติณา  ภิยฺโย  น  มญฺติ
  กรํ  ปุริสกิจฺจานิ     โส,  สุขา น  วิหายติ.
  ผู้ไม่สำคัญความหนาวและความร้อนให้ยิ่งไปกว่าหญ้า  ทำกิจ 
ของบุรุษ  ย่อมไม่เสื่อมจากความสุข.
  (พุทฺธ) ที.  ปาฏิ.  ๑๑/๑๙๙.
     
 

วิริยวรรค คือ หมวดความเพียร
พุทธศาสนสุภาษิต